พระภรต
พระภรต Bharata | |
---|---|
จักรพรรดิ | |
ภรตเล่นกับลูกสิงโต ภาพวาดโดยราชา รวิ วรรมา | |
ก่อนหน้า | ท้าวทุษยันต์ |
ถัดไป | ภูมันยุ |
ประสูติ | อาศรมของพระฤๅษีกัณวะ |
คู่อภิเษก | สุนันทา, 2 องค์อื่น |
ราชวงศ์ | จันทรวงศ์ |
พระราชบิดา | ท้าวทุษยันต์ แห่ง หัสตินาปุระ |
พระราชมารดา | ศกุนตลา |
พระภรต (สันสกฤต: भरत, อักษรโรมัน: bharata, แปลตรงตัว 'The Cherished')[1][2] เป็นบรรพบุรุษของทั้งฝ่ายเการพและปาณฑพ เรื่องราวของพระองค์ถูกเล่าอยู่ใน อาทิบรรพ ซึ่งเป็นบรรพแรกในคัมภีร์มหาภารตะ โดยเล่าถึงการกำเนิดของพระองค์ และเรื่องของ ท้าวทุษยันต์ และนางศกุนตลา.[3][4]
ในมหากาพย์มหาภารตะ บรรพบุรุษของราชวงศ์กุรุนั้นเริ่มต้นจากพระองค์เป็นปฐม ในการครองราชย์ของพระองค์ และอาณาจักรของพระองค์ ทุกคนจึงเรียกว่า ภารตะ[5][6]
ประวัติของพระองค์ในโลกวรรณกรรม
[แก้]จากบันทึกใน มหาภารตะ (จับความจากตอน อาทิบรรพ) เล่าว่า พระองค์เป็นพระโอรสของ ท้าวทุษยันต์ กับนางศกุนตลา พระองค์เป็นรัชทายาทแห่ง จันทรวงศ์ แห่งวรรณะกษัตริย์[7] พระองค์มีพระนามเดิมว่า สรรวทมน์ สรรวทน์เติบโตขึ้นเป็นเด็กที่แข็งแรง อยู่ท่ามกลางเหล่าสัตว์ร้าย มักเล่นสนุกโดยการเปิดปากเสือหรือสิงโต แล้วนับจำนวนฟัน ต่อมาฤๅษีทุรวาสได้สาปให้ท้าวทุษยันต์ลืมนางศกุนตลา จนกว่าจะได้ทอดพระเนตรแหวนที่พระองค์ประทานให้นางศกุนตลา เมื่อท้าวทุษยันต์ทรงจำนางศกุนตลาได้แล้ว พระองค์ทรงยกราชบัลลังก์ให้แก่สรรวทมน์ และทรงตั้งชื่อให้ใหม่ว่าภรต
พระภรตได้ครองบัลลังก์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ก็ทรงแผ่พระราชอำนาจไปทั่วชมพูทวีปในสมัยนั้น ชมพูทวีปจึงมีนามว่าภารตวรรษ แปลว่าดินแดนของภรต ในวิษณุปุราณะได้ระบุขอบเขตของดินแดนภารตวรรษว่า"วรรษที่ตั้งอยู่เหนือมหาสมุทรและทางใต้ของภูเขาหิมาลัยเรียกว่าภารตวรรษ" พระภรตเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณธรรม พระฤๅษีกัณวะเป็นราชปุโรหิตของพระองค์ พระองค์ได้ทรงประกอบพิธีอัศวเมธที่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา 100 ครั้ง ริมแม่น้ำสรัสวตี 300 ครั้ง ริมแม่น้ำคงคา 400 ครั้ง ทรงประกอบพิธีอัศวเมธอีกพันครั้ง อีกทั้งยังทรงประกอบพิธีราชสูยะ100ครั้ง และทรงทำพิธีอื่นๆอีกเช่นอัคนิโสม วิศวาชิต เป็นต้น พระภรตมีบุตรชื่อเภามันยุ[8] โดยกำเนิดของเภามันยุมี2ตำนานคือ
1)เป็นบุตรของพระภรตกับพระนางสุนันทา ธิดาของท้าวสรรวเสนา พระราชาแคว้นกาสี
2)ประสูติจากพิธีกรรมของพระภรต
อ้างอิง
[แก้]- Ganguly, KM (2006) [1883], The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (Drona Parva Section LXVIII ed.), Sacred Texts
- Mackenzie, Donald A (2004) [1913], Indian Myth and Legend, CHAPTER IX: Prelude to the Great Bharata War, Sacred Texts
- ↑ Mahabharata, Adi Parva, Sambhava Parva
- ↑ Mahabharata, Adi Parva, Sambhava Parva (in Sanskrit)
- ↑ Apte, Vaman Shivaram (1959). "भरतः". Revised and enlarged edition of Prin. V. S. Apte's The practical Sanskrit-English dictionary. Poona: Prasad Prakashan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-13. สืบค้นเมื่อ 2020-09-20.
- ↑ Buitenen, J. A. B. van (1973). "Introduction". Mahabharata Book I: The book of beginnings. University of Chicago Press. ISBN 9780226846637.
- ↑ Julius Lipner (2010) "Hindus: Their Religious Beliefs and Practices.", p.23
- ↑ National Council of Educational Research and Training, History Text Book, Part 1, India
- ↑ The Mahābhārata. Buitenen, J. A. B. van (Johannes Adrianus Bernardus), 1928-1979,, Fitzgerald, James L. Chicago: University of Chicago Press. 1973. pp. 214. ISBN 0226846636. OCLC 831317.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ Mahabharata, Adi Parva, Sambhava Parva - Bharat Vamsha in Detail เก็บถาวร 16 มกราคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน