ปลาตะเกียง
ปลาตะเกียง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55–0Ma ตั้งแต่ อีโอซีน ถึงปัจจุบัน[1] | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Myctophiformes |
วงศ์: | Myctophidae T. N. Gill, 1893 |
Genera | |
Benthosema |
ปลาตะเกียง (อังกฤษ: myctophids,กรีก: μυκτήρmyktḗr) เป็นปลาทะเลลึกเล็กมีจำนวน 246 ชนิดใน 33 สกุลและพบได้ในมหาสมุทรทั่วโลก พวกมันถูกตั้งชื่อตามความสามารถในการเรืองแสงของมัน จากการสุ่มตัวอย่างตรวจสอบปลาให้ทะเลลึกนั้นพบว่ามันมีจำนวนมากถึง 65% ของสายพันธุ์ปลาทะเลลึกทั้งหมด[2] หรือก็คือมันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่กระจายพันธุ์อยู่อย่างแพร่หลายและมีประชากรมากที่สุดและยังมีบทบาททางนิเวศวิทยาที่สำคัญอย่างมากในฐานะของเหยื่อของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ เช่น หมึกกล้วยและเพนกวินราชา ถึงแม้ว่ามันจะมีสายพันธุ์และจำนวนที่เยอะแต่กลับมีการทำประมงปลาชนิดนี้แค่ที่อ่าวโอมานและแอฟริกาใต้เท่านั้น
ลักษณะ
[แก้]ปลาตะเกียงจะมีรูปร่างที่เรียวเล็กมีเกล็ดเล็ก ๆ สีขาวปกคลุมหัวค่อนข้างกลมและมีดวงตาทรงกลมขนาดใหญ่มีขากรรไกรขนาดเล็กที่ประกบติดกันได้ดีมีฟันชุดเล็กที่ขากรรไกรบนและล่าง มีครีบขนาดเล็กแต่บางชนิดก็มีครีบหลังที่ยาว พวกมันมีถุงลมที่เต็มไปด้วยไขมันเพื่อใช้ในสถานที่ ๆ มีแรงกดดันสูง
มันมีอวัยวะผลิตแสง (photophores) ซึ่งจะจัดเรียกต่างกันไปตามชนิดและเพศของพวกมันซึ่งเพศผู้จะอยู่เหนือหางเพศเมียจะอยู่ใต้หางส่วนแบบตามชนิดก็จะมีแบบที่ใต้ท้อง, ด้านบนลำตัวหรือบนหัวบริเวณใกล้เคียงกับดวงตา ซึ่งอวัยวะผลิตแสงเหล่านี้จะผลิตแสงที่มีสีฟ้า, สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน[2]
ปลาตะเกียงส่วนมากมักเป็นปลาขนาดเล็กประมาณ 2 ถึง 30 เซนติเมตร (0.79 ถึง 11.81 นิ้ว) ซึ่งส่วนใหญ่พวกมันจะมีขนาดไม่เกินมี 15 ซม. (5.9 นิ้ว) ปลาตะเกียงที่อยู่น้ำตื้นจะมีสีผิวเป็นสีฟ้า, สีเขียวหรือสีน้ำเงิน แต่ที่อยู่ในทะเลลึกจะมีสีน้ำตาลจนถึงสีดำและปลาตะเกียงนั้นเป็นปลาที่มีประชากรเยอะมากในสายพันธุ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง[3]
นิเวศวิทยา
[แก้]โดยปกติแล้วช่วงตอนกลางวันพวกมันจะอยู่บริเวณน้ำลึกประมาณ 300 และ 1,500 เมตร (980 และ 4,920 ฟุต) แต่พอตกเย็นพวกมันจะขึ้นมาอยู่ที่บริเวณน้ำลึกระหว่าง 10 ถึง 100 เมตร (33 และ 328 ฟุต) เพื่อหลบหนีการไล่ล่าจากนักล่าอีกทั้งเพื่อมาหาอาหาร เช่น แพลงค์ตอน พอเริ่มเช้าพวกมันก็จะกลับลงไปที่ทะเลลึกเหมือนเดิม[2]
ความหลากหลายของรูปแบบการย้ายถิ่นเกิดขึ้นแค่กับบางชนิดเท่านั้นปลาตะเกียงที่อาศัยอยู่ลึกมาก ๆ อาจไม่มีการโยกย้ายใด ๆ ในขณะที่บางชนิดอาจทำเช่นนั้นเป็นระยะ ๆ รูปแบบการย้ายนั้นอาจจะขึ้นกับช่วงอายุ, เพศและฤดู
การเรียงตัวของอวัยวะเรืองแสง (photophores) นั้นจะแตกต่างกันตามชนิดซึ่งนั้นทำให้สื่อสารและหาคู่ผสมพันธุ์ได้ อีกทั้งพวกมันยังสามารถใช้แสงในการลวงตานักล่าได้ด้วยการควบคุมความสว่างของแสงนั้นให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นเอง
ปลาตะเกียงนั้นเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมากและยังเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อาหารซึ่งมันจะเป็นเหยือของวาฬ, โลมา, ฉลาม, นกทะเลและอื่น ๆ อีกมากโดยปกติแล้วพวกมันกินแพลงค์ตอนเป็นอาหารแต่จากการศึกษาสำไส้ของพวกมันได้พบว่าพวกมันกินพลาสติกหรือขยะที่มนุษย์ทิ้งลงมาในทะเลอีกด้วย[4]
การสำรวจ
[แก้]ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารได้มีการสำรวจทะเลลึกผ่านคลื่นโซนาร์จึงได้พบกลุ่มของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ระดับความลึก 300-500 เมตรซึ่งนั้นก็คือฝูงของปลาตะเกียงซึ่งมาพวกมันกำลังจะมากินแพลงค์ตอนในเวลาเย็น[5]
จากการสำรวจชนิดและสายพันธุ์ปลาทะเลลึกพบว่าพวกมันนั้นเป็น 65% ของชนิดสายพันธุ์ปลาทะเลลึกทั้งหมดที่ค้นพบ[2]จึงทำให้กล่าวได้ว่ามันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีการกระจายพันธุ์ได้แพร่หลายในสถานที่ต่าง ๆ มากที่สุดซึ่งน้ำหนักโดยรวมของการประมงที่สามารถจับปลาชนิดนี้ได้นั้นมีน้ำหนักมากถึง 550-660 ล้านเมตริกตัน[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-25.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Hulley, P. Alexander (1998). Paxton, J.R.; Eschmeyer, W.N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 127–128. ISBN 0-12-547665-5.
- ↑ Newitz, Annalee. "Lies You've Been Told About the Pacific Garbage Patch". io9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-09. สืบค้นเมื่อ 25 August 2014.
- ↑ Rochman, Chelsea; และคณะ (2014). "Polybrominated diphenyl ethers (PBDEs) in fish tissue may be an indicator of plastic contamination in marine habitats". Science of the Total Environment. doi:10.1016/j.scitotenv.2014.01.058.
- ↑ Ryan P "Deep-sea creatures: The mesopelagic zone" Te Ara - the Encyclopedia of New Zealand. Updated 21 September 2007.
- ↑ R. Cornejo; R. Koppelmann & T. Sutton. "Deep-sea fish diversity and ecology in the benthic boundary layer". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)