ประเทศไทยใน พ.ศ. 2404
หน้าตา
| |||||
ดูเพิ่ม: |
---|
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) ในประเทศไทย เป็นปีที่ 80 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แห่งราชวงศ์จักรี และเป็นปีที่ 11 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนับเป็นปี จ.ศ. 1222 (1 มกราคม - 11 มีนาคม) และ 1223 (12 มีนาคม - 31 ธันวาคม) ในแบบปัจจุบัน
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระเจ้าแผ่นดินที่สอง: พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมุหนายก: เจ้าพระยานิกรบดินทร์
- สมุหพระกลาโหม: เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
เหตุการณ์
[แก้]- 20 มีนาคม - พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะพระชันษา 9 พรรษาได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ [1]
- 25 พฤษภาคม – พระราชพิธีถวายมหาสมณุตมาภิเษก พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี ซึ่งภายหลังแก้เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
- 27 มิถุนายน ราชทูตสยามเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสเพื่อเข้าเฝ้าพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
- 1 กันยายน - สยามยกทัพไปเขมร เพื่อระงับเหตุศึกพี่น้องเขมรรบกันเอง มีเจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ สิงหเสนีย์) เป็นแม่ทัพ
- 11 กันยายน - มีการประกาศให้คำนำหน้าชื่อ นาย อำแดง ในสยาม
ผู้เกิด
[แก้]กุมภาพันธ์
[แก้]- 6 กุมภาพันธ์ – พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทฺธสโร) อดีตเจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี (มรณภาพ พ.ศ. 2494)
มีนาคม
[แก้]- 14 มีนาคม – พระศรีพนมมาศ (ทองอิน แซ่ตัน) อดีตนายอำเภอเมืองพิชัย (อนิจกรรม พ.ศ. 2464)
พฤษภาคม
[แก้]- 10 พฤษภาคม – สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2470)
- 19 พฤษภาคม – พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ องคมนตรี (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2479)
กรกฎาคม
[แก้]- 29 กรกฎาคม – เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เจ้าเมืองพระตะบอง คนที่ 8 (อสัญกรรม พ.ศ. 2465)
สิงหาคม
[แก้]- 17 สิงหาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านารีรัตนา พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2468)
- 27 สิงหาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป อดีตอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2479)
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน – พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมุรธาธร (อนิจกรรม พ.ศ. 2460)
- 5 พฤศจิกายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบรรจบเบญจมา พระบรมวงศ์ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2435)
- 20 พฤศจิกายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ อดีตรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2474)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- พระบ่าย ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดช่องลม รูปที่ 3 (มรณภาพ พ.ศ. 2485)
ผู้เสียชีวิต
[แก้]มิถุนายน
[แก้]- 17 มิถุนายน – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2348)
กรกฎาคม
[แก้]- 10 กรกฎาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2346)
- 18 กรกฎาคม – พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2333)
สิงหาคม
[แก้]- 11 สิงหาคม – พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ พระอนุวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2377)
กันยายน
[แก้]- 9 กันยายน – สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 (พระราชสมภพ พ.ศ. 2377)
ตุลาคม
[แก้]- 29 ตุลาคม – พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ พระบรมวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2363)
พฤศจิกายน
[แก้]- 5 พฤศจิกายน – เจ้าจอมมารดาแพ พระสนมในรัชกาลที่ 5 (ไม่ทราบปีเกิด)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (เสือ สนธิรัตน์) เสนาบดีกรมวัง (ไม่ทราบปีเกิด)
- เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก (เจ้าหญิงนุ้ย) บาทบริจาริกาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (ไม่ทราบปีประสูติ)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, สำนักพิมพ์มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7