ประคอง นิมมานเหมินท์
หน้าตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ (27 พฤษภาคม 2482 - ) นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยและวรรณคดีไทยเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นด้วยการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง "ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ" และจากนั้นยังมีผลงานศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมชนชาติไทจำนวนมาก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นราชบัณฑิต ประจำสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา
ประวัติการศึกษา
[แก้]- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
- พ.ศ. 2505 - อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จากภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2509 - อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จากภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2517 - M.S. (Education) Mankato State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2530 - อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จากภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
[แก้]- พ.ศ. 2509 - 2518 อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (ขณะนั้นคือ วิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน)
- พ.ศ. 2518 - 2542 อาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับกระทั่งเกษียณอายุราชการ
- พ.ศ. 2548 ดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์พิเศษ"
- 1 กุมภาพันธ์ 2531 - 31 พฤษภาคม 2538ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 1 ตุลาคม 2541 - 31 มีนาคม 2542 หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกียรติประวัติ
[แก้]- ราชบัณฑิต สาขาวรรณกรรมพื้นเมือง ประเภทวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา นับตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
- กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย ราชบัณฑิตยสถาน
- กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคอีสาน ราชบัณฑิตยสถาน
- กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ ราชบัณฑิตยสถาน
- กรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการอำนวยการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการสารานุกรมไทย ภาคกลาง โดยความร่วมมือระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2536-2543)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขามนุษยศาสตร์[3]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
เกียรติคุณที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลงานวิจัยดีเด่น เงินทุนรัชดาภิเษกสมโภช พ.ศ. 2532 จากงานวิจัยเรื่อง มหากาพย์ท้าวบาเจือง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์
- ครูภาษาไทยดีเด่น ระดับอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535
- รางวัลพระเกี้ยวทองคำประจำปีพ.ศ. 2542-2543 จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะมีผลงานศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านวรรณคดีไทยโดยเฉพาะวรรณคดีท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
- เกียรติบัตรจากกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะเป็นผู้มีคุณูปการต่อการอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2546
ความชำนาญพิเศษ
[แก้]ภาษาไทย, ภาษาบาลีและสันสกฤต, ภาษาถิ่น, วรรณคดีไทย (วรรณกรรมโบราณ) , คติชนวิทยา, วรรณกรรมท้องถิ่น, นิทานพื้นบ้าน, วรรณกรรมชนชาติไท, ชาติพันธุ์วิทยา
ผลงานทางวิชาการ
[แก้]วิทยานิพนธ์
[แก้]- ลักษณะวรรณกรรมภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, พ.ศ. 2508)
- มหากาพย์เรื่องท้าวบางเจือง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, พ.ศ. 2530)
ตำราและหนังสือ
[แก้]- คติชนศึกษา (ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524)
- คำขับค่าวจ้าวเจืองหาญ มหากาพย์พื้นถิ่นไทลื้อ (จัดพิมพ์โดย สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
- นิทานพื้นบ้านศึกษา (โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543)
- ภาษาถิ่น (เขียนร่วมกับ รศ.ซ่อนกลิ่น พิเศษสกลกิจ; มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2524)
- มหาชาติลานนา : การศึกษาในฐานะวรรณกรรมท้องถิ่น (สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2520)
- มองภาษา (สำนักพิมพ์แม่คำผาง, 2547)
- ย่าขวัญข้าว : วรรณกรรมเพื่อการสืบสานประเพณีพื้นถิ่น (จัดพิมพ์โดย สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549)
- ลานนาไทยคดี (บรรณาธิการ; ศูนย์หนังสือเชียงใหม่, 2519)
- สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง (บรรณาธิการ, ทั้งชุด 15 เล่ม รวมกว่า 7,000 หน้า; มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทยจัดพิมพ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ, 5 ธันวาคม 2542)
- อาป่มไทใต้คง นิทานกับสังคม (เขียนร่วมกับ ตาว เชิงหวา; สำนักพิมพ์แม่คำผาง, 2542)
บทความในหนังสือ
[แก้]- กาพยสารวิลาสินี และกาพยคันถะ : ตำราฉันทลักษณ์ไทยที่เขียนเป็นภาษาบาลี ใน กตัญชลี ที่ระลึกในงานเกษียญอายุราชการ รองศาสตราจรย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533)
- ฉันท์วรรณพฤติและมาตราพฤติ : วรรณคดีคำสอนในรูปตำราฉันท์ ใน 200 ปี กวีแก้ว กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533)
- นิทานพื้นบ้าน ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 26 (โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, 2545)
- นิทานพื้นบ้าน ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่มที่ 4 (โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, 2549)
- ประเพณี 12 เดือนและพิธีทำขวัญข้าวทำขวัญควายของชนชาติไท ใน วัฒนธรรมข้าวของชนชาติไท : ภาพสะท้อนจากนิทาน ตำนาน เพลง (สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544)
- พญาเจือง : วีรบุรุษในตำนานของชนชาติไท ใน คติชนกับคนไทย-ไทรวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม (โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541)
- พระพุทธเจ้าในตำนานและนิทานพื้นบ้านไทย-ไท ใน ปริทรรศน์วรรณกรรมพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ รองศาสตราจารย์ ดร.ประคอง นิมมานเหมินท์ (ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542)
- พระยาอนุมานราชธนกับคติชนวิทยา ใน คือนักปราชญ์ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ราชบัณฑิต (สำนักพิมพ์แม่คำผาง, 2531)
- พระศรีอาริยเมตตรัย ในวรรณกรรมไทย ใน น้อมสิรสา 80 ปี 2 ศาสตราจารย์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536)
- พุทธศาสนากับมหากาพย์เรื่องท้าวบางเจืองและตำนานพระยาเจือง ใน ตำนานเกี่ยวกับท้าวฮุ่งท้าวเจือง มิติทางประติศาสตร์และวัฒนธรรม (สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2538)
- มหากาพย์เรื่องท้าวบาเจือง : มหากาพย์สองฝั่งโขง ใน มหากาพย์ของอุษาคเนย์ ท้าวฮุ่งขุนเจือง วีรับุรุษสองฝั่งโขง (สำนักพิมพ์มติชน, 2538)
- ลลิตวิสตระ : วรรณคดีที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสนา ใน คู่มาลาสรรเสกคุณ (ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536)
- วรรณกรรมพุทธศาสนายุคกึ่งพุทธกาลของล้านนา ใน วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา (สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540)
- สถานภาพการศึกษาคติชนของชนชาติไท : การศึกษาเบื้องต้น ใน รายงานสัมมนาวิชาการเรื่องสถานภาพและแนวทางการศึกษาวัฒนธรรมชนชาติไท (สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2539)
- สภานภาพงานวิจัยทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในเอกสารการสอนชุดวิชา11113 ประสบการณ์วัฒนธรรมศึกษา (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2533)
- สายธารวรรณกรรมล้านนา ใน วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ (สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538)
- Heroism and Epic Verse Form : A Study from Lilit Yuan Phai and the Epic of Thao Cheung (ลงพิมพ์ใน Thai Literary Traditions. Institute of Thai Studies. Chulalongkorn University Press, 1995)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทความในวารสารวิชาการ
[แก้]- วรรณกรรมท้องถิ่นไทยลานนาโคลงพระลอสอนโลก (ลงพิมพ์ในวารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2520)
- คำเรียกขวัญเมืองเหนือ (ลงพิมพ์ในวารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2520)
- การศึกษาตัวบทและปริบทของคติชน (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ธันวาคม 2532)
- ภาษิต (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ธันวาคม 2533)
- ลีลากาเขียนของนาคะประทีป (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 10 ธันวาคม 2536)
- วรรณกรรมไทดำ (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 13 ธันวาคม 2539)
- คำบาลีสันสกฤตและคำเขมรในมหากาพย์เรื่องท้าวเจือง (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 14 ธันวาคม 2540)
- ย่าขวัญข้าว : ความสัมพันธ์ทางด้านวรรณกรรมและภาพสะท้อนการประนีประนอมของพระพุทธศาสนากับความเชื่อดั้งเดิมในล้านนา (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 15 ธันวาคม 2541)
- ภาพพระมหากษัตริย์ไทยจากวรรณคดียอพระเกียรติ (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ฉบับเฉลิมวรรณราชย์ ปีที่ 16 ธันวาคม 2542)
- คนไทกับธรรมชาติ : ภาพสะท้อนจากพิธีกรรมและบทคำวัญข้าวขวัญควาย (ลงพิมพ์ในวารสาราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 25 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2543)
- ความเป็นมาของผู้ปกครองในตำนานไทย-ไท ถึง ไตรภูมิพระร่วง (ลงพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปีที่ 17 ธันวาคม 2543)
- สายน้ำกับความเชื่อและวรรณกรรมไทย-ไท (ลงพิมพ์ในวารสารไทยศึกษา ฉบับวิถีไทย 72 ปี อาจารย์จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ปี่ที่ 1 ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2548)
- นิทานพระรามในฐานะวรรณกรรมพุทธศาสนา (ลงพิมพ์ในวารสาราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2548)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บทความนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ
[แก้]- เพลงชุดเกี่ยวกับล้านนา (นำเสนอในการประชุมวิชาการเพลงพ้นบ้านภาคกลาง จัดโดย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ. พ.ศ. 2523)
- หมอไต่อ้อนออก : บทสวดในงานศพของไทเมืองเติ๊ก (นำเสนอในการประชุมสัมมนาเรื่องสิบสองจุไท จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สิงหาคม พ.ศ. 2538)
- ย่าขวัญข้าว : อิทธิพลพระพุทธศาสนาและความสัมพันธ์ทางวรรณกรรมของล้านนา เชียงตุง และสิบสองปันนา (Paper presented in The Sixth International Conference on Thai Studies. Chiang Mai University, Thailand. October 1996)
- ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีล้านช้างและวรรณคดีล้านนา (นำเสนอในการประชุมวิชาการ "เปิดโลกวรรณกรรมเพื่อนบ้าน 1; วรรณกรรมลาว : คามสัมพันธ์กับวรรณกรรมไทย จัดโดย ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลอง 80 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 22-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540)
- Methodology and Approches of Oral History : A Rview of Experience in Thaland (Paper presented in the Symposium on Oral History in ASEAN Countries : Methodology and Experience. Kuala Lumpur, Malaysia. 1992)
- Convergence of Buddhism into the Indegeneous Traditions of Lanna : A Case Study of Two Lanna Rites, Merit Making for the Departed Souls and Lifetime Prolongment (Paper Presented in the International COnference on Buddhist Socities in Stability and Crisis. Kandy, Sri Lanka. 1994)
- Myth and Ritual : A Study of Songkran Festival (Paper presented in ISFNR Interim Conference on Islands and Narratives Organised by the International Society of Folk Narrative Research. Visby,Sweden. 13-17 August 2003 / ลงพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2547)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
องค์กรและสมาคมที่เป็นสมาชิก
[แก้]- สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สมาคมศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สยามสมาคม ในพระราชูปถัมภ์
สถานที่ทำงานปัจจุบัน
[แก้]- อาจารย์พิเศษ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ราชบัณฑิตยสภา สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๒, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๔, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- ศาสตราจารย์พิเศษ
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ราชบัณฑิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ง.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สกุลนิมมานเหมินท์