ทุ่นระเบิด
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ทุ่นระเบิด (อังกฤษ: Land mine) มีหลักการทำงาน คือทำอุปกรณ์ตัวหนึ่งเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการระเบิด ไม่ว่าจะเป็น เสียง แสง อุณหภูมิ แรงสั่นสะเทือน แรงกด ลวดสะดุด ที่นิยมกันมาก คือ เป็นตัวรับแรงกด (Pressure) ซึ่งจะเข้าไปกระทบกับ ตัวจุดระเบิด ทำให้เกิดระเบิดขึ้น ดินระเบิดที่นิยมใช้กันมากคือ TNT (Trinitrotoluene) ใช้ในการโจมตีผู้บุกรุก
ส่วนวิธีการระเบิด แล้วแต่วิธีออกแบบ เช่น ระเบิดทันทีที่โดนสัมผัส หรือ เมื่อได้รับแรงกระตุ้นแล้ว จะดีดตัวขึ้นมาเหนือพื้นดิน แล้วจึงระเบิด
ประวัติ
[แก้]การใช้ทุ่นระเบิดเกิดจากวิวัฒนาการของการใช้กับดัก เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้าศึก เช่น การใช้หลุมพราง บ่วงแร้ว ต่อมา เมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้น ได้มีการพัฒนาระบบกับดักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทุ่นระเบิดก็เป็นผลของการพัฒนาอันหนึ่ง ซึ่งได้แตกออกตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น เพื่อใช้ทำความเสียหายต่อบุคคล ยานพาหนะทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
ทุ่นระเบิดสมัยใหม่เริ่มได้มีการเริ่มใช้เมื่อประมาณปี ค.ศ.1277 โดยราชวงศ์ซ้องของจีน เพื่อต่อต้านการรุกราณของมองโกล ที่เริ่มรุกรานและยึดหัวเมืองทางตอนเหนือ และได้มีการพัฒนารูปแบบการใช้งานและ อานุภาพในการทำลายให้มากขึ้น
ในสงครามแต่ละที่ทุ่นระเบิดแต่ละประเภทหรือ แต่ละแบบถูกนำมาใช้ตามความเหมาะสม เช่นในสงครามเกาหลี ทุ่นระเบิดแบบสาย ถูกนำมาติดตั้งตามแนวป้องกัน เป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนหลายชั้น แต่ใน สงครามเวียดนาม ทุ่นระเบิดแบบเคโม (Claymore) ซึ่งมีขนาดเล็กทำจากพลาสติก ภายในบรรจุระเบิดและแผ่นโลหะ สามารถกำหนดทิศทางได้ ระยะหวังผลอยู่ที่ 76 เมตร สามารถใช้ฝังลงไปดิน หรือ แขวนไว้กับต้นไม้ก็ได้
ประเภทของทุ่นระเบิด
[แก้]- ทุ่นระเบิดต่อต้านบุคคล (Anti-personnel mine) เป็นทุ่นระเบิดที่ออกแบบมาเพื่อทำให้บุคคล เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือ หมดสภาพในการรบ โดยทั่วไประเบิดทุ่นระเบิดจะมีแหล่งผลิตที่แน่นอน แต่ก็มีทุ่นระเบิดบางประเภท ที่เป็นลักษณะภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ ดัดแปลงจากสิ่งรอบตัว มาประกอบเป็นระเบิด หรือ ให้ครบวงจรการระเบิด เรียกว่า ระเบิดแสวงเครื่อง
- ทุ่นระเบิดต่อต้านยานพาหนะ (Anti-vehicle mines) การทำงาน คล้ายกันกับระเบิดต่อต้านบุคคล แต่มีความรุนแรงในการระเบิด และ ต้องใช้แรงสัมผัสมากกว่าในการจุดระเบิด ออกแบบมาเพื่อทำลายยานพาหนะ หรือ เพื่อให้หมดสภาพการใช้งาน
การติดตั้งและการวางทุ่นระเบิด
[แก้]การติดตั้งทุ่นระเบิด ก็คือการนำระเบิดไปติดตั้งยังเป้าหมาย ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ทันที ที่มีการกระตุ้นให้เกิดการระเบิดตามเงื่อนไขที่ต้องการ มีวิธีการหลายวิธีได้แก่
- โดยบุคคล หรือ หน่วยที่มีความรับผิดชอบ จากกองทัพโดยตรง
- โดยยานพาหนะ ที่ออกแบบมาเพื่อวางทุนระเบิด (Mine Layer)
- โดยการอุปกรณ์นำส่งระยะไกล (Remote Unit)
การใช้ทุ่นระเบิดในสงคราม
[แก้]- ใช้เพื่อเป็นแนวป้องกัน เพื่อไม่ให้ข้าศึกเข้ามาในพื้นที่ ที่กำหนด โดยพื้นที่ที่ฝังทุ่นระเบิดเอาไว้จะถูกชึ้ให้เห็นชัดเจน ว่ามีบริเวณใด ตัวอย่างเช่น แนวชายแดน หรือ ส่วนหน้าของแนวรบที่เน้นการป้องกัน
- เพื่อทำลายกำลังรบของข้าศึก ส่วนมากจะติดตั้งไม่ให้ข้าศึกรู้ว่า การการติดตั้งในจุดนั้น เช่น ตามเส้นทางที่ข้าศึกใช้, พื้นที่ลาดตระเวนของข้าศึก
- ถ่วงเวลาในการเคลื่อนกำลังพลของข้าศึก เช่น ข้าศึกต้องเคลื่อนกำลังพลช้าลง ถ้ารู้ว่า บริเวณนั้น อาจมีทุ่นระเบิดฝังอยู่ หรือ การใช้ทุ่นระเบิดทำให้กำลังพลของข้าศึกได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องเสียเวลาปฐมพยาบาลและ เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
- เพื่อทำลายขวัญกำลังใจของข้าศึก
- เพื่อเหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ เช่น
- การใช้ทุ่นระเบิด แนวหลังของข้าศึกเพื่อถ่วงเวลา/ตัด การส่งกำลังบำรุง
- การบีบให้ข้าศึกต้องเลี่ยงจากพื้นที่ที่มีทุ่นระเบิดฝังอยู่ ไปยังพื้นที่หวังผลในการโจมตี(Killing Field)ของฝ่ายเรา
การค้นหาและกู้คืน
[แก้]- การค้นหา
- ระบบต่อต้านการกู้ระเบิด (Anti-handling devices)