ข้ามไปเนื้อหา

ตระกูลคูโจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตระกูลคูโจ
九条家
ตราประจำตระกูลคูโจ
เชื้อสายตระกูลฟูจิวาระ
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(หลายวาระ)
ผู้นำคนแรกคูโจ คาเนซาเนะ
ผู้นำคนปัจจุบันคูโจ มิจินาริ
ก่อตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 12
ตระกูลย่อยตระกูลนิโจ
ตระกูลอิจิโจ
สกุลสึรูโดโนะ

ตระกูลคูโจ (ญี่ปุ่น: 九条家โรมาจิKujō-ke) เป็นตระกูลสาขาของตระกูลฟูจิวาระ โดยได้แยกออกมาจาก ฟุจิวะระ โนะ ทะดะมิชิ ตระกูลคูโจมีอำนาจเช่นเดียวกับตระกูลฟูจิวาระ ในด้านราชสำนักมีบุตรสาวของตระกูลนี้มากมายแต่งงานกับจักรพรรดิ หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม

ในฐานะตระกูลขุนนาง ตระกูลคูโจได้แบ่งตำแหน่งเซ็ชโชและคัมปากุ และตำแหน่งต่าง ๆ กับ ตระกูลโคโนอิ ตระกูลทากัตสึกาซะ ตระกูลนิโจ และตระกูลอิจิโจ ซึ่งเป็นเครือญาติเดียวกันจากศตวรรษที่ 12 จนถึงปี ค.ศ. 1867

ประวัติ

[แก้]
คูโจ คาเนซาเนะ

ตระกูลคูโจก่อตั้งโดย ฟูจิวาระ โนะ คาเนซาเนะ(ค.ศ. 1149 - 1207) โดยข้อแนะนำของ มินาโมโตะ โยริโตโมะ คำว่าคูโจนั้นแปลตรงตัวได้ว่า ถนน 9 สาย ซึ่งเป็นเขตในโตเกียวที่เป็นที่ตั้งวังของฟูจิวาระ โนะ คาเนซาเนะ โชกุนแห่งคามากูระคนที่สี่และห้า คูโจ โยริซูเนะ และ คูโจ โยริซูกุ ก็มาจากตระกูลนี้ หลังจากการปฏิรูปเมจิ สมาชิกตระกูลคูโจทุกคนได้รับยศแต่งตั้งเป็นเจ้าชาย และได้ส่งคูโจ ซาดาโกะ เข้าถวายตัวแด่สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็ว่ากันว่าตระกูลนี้ถูกก่อตั้งโดย ฟูจิวาระ โนะ โมโรซูเกะ (ค.ศ.908 - 960)

ศึกแห่งตระกูล

[แก้]

ในรัชสมัยของจักรพรรดิโกชิรากาวะ เป็นช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองและแต่ละตระกูลก็แตกออกเป็นหลาย ๆ ฝ่าย คือฝ่ายจักรพรรดิและอดีตจักรพรรดิ ตระกูลฟูจิวาระก็แบ่งเป็นสองฝ่ายนี้เช่นกัน รวมไปถึงตระกูลไทระ และตระกูลมินาโมโตะ สงครามครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบถึงความมั่งคงของตระกูลฟูจิวาระอย่างมาก จนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรดิโกซันโจ อำนาจของพวกเขาแทบล่มสลาย เพราะจักรพรรดิโกซันโจไม่ได้เป็นคนของตระกูลฟูจิวาระ จักรพรรดิโกซันโจร่วมมือกับขุนนางที่สนับสนุนและเหล่านักรบกวาดล้างตระกูลฟูจิวาระทั้งหมด อำนาจที่สั่งสมมาเป็นเวลานานได้หมดลง และได้เข้าสู่ยุคของนักรบ หรือซามูไรเข้ามาแทนที่ชนชั้นขุนนาง อย่างไรก็ตามในภายหลังพวกเขาก็กลับมามีสถานะที่สูงส่งได้เหมือนเดิม ภายใต้การนำของ 5 ตระกูลใหญ่ของเครือฟูจิวาระ คือ คูโจ นิโจ อิจิโจ ทากัตสึกาซะ และ โคโนอิ จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ตระกูลคูโจเกลียดตระกูลมินาโมโตะ และตระกูลไทระ อย่างมาก


ด้านศิลปะ และศาสนา

[แก้]

ในอดีตตระกูลคูโจได้เป็นผู้สร้าง ศาลเจ้าคิตาโนะ ในปีค.ศ. 1219 โดยคูโจ มิจิอิเอะ ได้มีส่วนร่วมในการตกแต่งศาลเจ้าในด้านศิลปะด้วย ในภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คูโจ คูมิโกะ ก็ได้มีการบำรุงศาสนาในหลาย ๆ ประเทศทั้งในญี่ปุ่น และหลาย ๆ ประเทศในเอเชียรวมไปถึง อเมริกา โดยการเผยแผ่ศาสนาโดยได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลจากแต่ละประเทศโดยในปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายนิชิเรนกว่า 1 แสนคน และในอินโดนีเซีย ศรีลังกา สเปน และหลาย ๆ ประเทศก็มียอดผู้นับถือสูงขึ้นมาก

ก่อนการปฏิรูปเมจิ ยุคล่มสลายของโชกุน และซามูไร

[แก้]

ในยุคนี้ตระกูลคูโจแทบไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ อันเนื่องจากตระกูลคูโจนั้นเป็นตระกูลขุนนางที่ผูกขาดตำแหน่งเซ็สโซและคัมปากุ จึงไม่มีส่วนได้เสียในการล่มสลายของรัฐบาลทหารเท่าใดนัก แต่เมื่อการต่อต้านบากูฟุรุนแรงขึ้น เหล่า 5 ตระกูลใหญ่แห่งเซ็สกังก็ได้เริ่มตระหนักว่าการล่มสลายของตนเองได้ใกล้เข้ามาอันเนื่องจาก หากฝ่ายจักรพรรดิได้รับชัยชนะอำนาจของพวกเขาต้องจบลงเป็นแน่แท้

สมัยเมจิ - สมัยโชวะ

[แก้]
สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเม บุตรสาวแห่งตระกูลคูโจ

ภายหลังการปฏิรูปเมจิ สมาชิกตระกูลคูโจได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าชาย ซึ่งเทียบได้กับ แกรนด์ดยุก ของยุโรปนั่นเอง ตระกุลคูโจได้เริ่มกลับมามีอำนาจอีกครั้งโดยการยกบุตรสาวของเจ้าชายคูโจ มิจิตากะ ให้สมรสกับเจ้าชายโทชิฮิโตะ(สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช) และเจ้าชายคูโจ โทชิฮิโตะ จึงได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระเชษฐาตั้งแต่นั้น ในเวลาต่อมาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นเหตุให้คนของสกุลคูโจหมดอำนาจลงเนื่องจาก เจ้าชายคูโจ โทชิฮิโตะได้ประกาศคัดค้านการเข้าร่วมสงคราม ฝ่านสนับสนุนสงครามจึงปลงพระชนม์พระองค์เสีย ส่งผลให้สมเด็จพระจักรพรรดินีเทเมกริ้วและต่อต้านการเข้าร่วมสงครามอย่างเปิดเผยจนเกิดการทะเลาะกับจักรพรรดิโชวะ จนทำให้ทั้งสองพระองค์แทบไม่มองพระพักตร์กัน นับแต่นั้นคนของสกุลคูโจก็ไม่ได้ขึ้นมามีอำนาจอีกเลยหลังจากการ สรรคตของจักรพรรดินีเทเม

อ้างอิง

[แก้]