ข้ามไปเนื้อหา

ซุลซุวัยเกาะตัยน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซุลซุวัยเกาะตัยน์ (อาหรับ: ذو السويقتين, แปลตรงตัว'ชายผู้มีขาเรียวเล็กสองข้าง';[1] อามารา: ዱል-ሱወይቃታይን) เป็นบุคคลที่ได้รับการกล่าวถึงในฮะดีษของนบีมุฮัมมัด[1] โดยเป็นกลุ่มชายชาวอบิสซีเนีย (ชาวเอธิโอเปัย) ที่ได้รับกำหนดให้ทำลายกะอ์บะฮ์ในช่วงวาระสุดท้าย โดยจะทำลายอิฐที่ละก้อน ในช่วงนั้นความศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้าจะหายไป ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ถึงการทำลายล้างนี้[1] อับดุลลอฮ์ อิบน์ อัมร์ อิบน์ อัลอาศและอิบน์ กะษีรตีความว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นหลังการมาครั้งที่สองของอีซา (พระเยซู)[2]

อ้างอิงนี้ได้รับการบันทึกในชุดสะสมฮะดีษของซุนนีทั้ง 6 เล่ม (อัลกุตุบ อัสซิตตะฮ์)[3] ธรรมเนียมนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับปีช้างที่อับเราะฮะฮ์ นายพลอักซุม เข้าโจมตีมักกะฮ์[4]

หลังสงครามครูเสดครั้งที่ห้า (1217–1221) ธรรมเนียมได้รับการถ่ายทอดไปยังยุโรปเมื่อบิชอปโอลิเวอร์แห่งพาเดอร์บอร์นระบุถึงกษัตริย์นูเบียใน Historia Damiatina เป็นลางบอกเหตุถึงการสิ้นสุดของศาสนาอิสลาม[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Al Bukhari, Abu Abdullah (2022). Encyclopedia of Sahih Al-Bukhari. Arabic Virtual Translation Centre. สืบค้นเมื่อ 30 October 2022.
  2. Madelung, Wilferd (2016) [1992]. Religious and Ethnic Movements in Medieval Islam (ภาษาอังกฤษ). New York: Routledge. pp. 177–178. ISBN 9780860783107. OCLC 1229166290.
  3. Erlich, Haggai (30 April 2009). Islam, Christianity, Judaism, and Ethiopia: The Messages of Religions (PDF) (Speech). The Fifth Annual Levtzion Lecture. Hebrew University (ตีพิมพ์ 2013).
  4. Walter W. Müller (1987) "Outline of the History of Ancient Southern Arabia," เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in Werner Daum (ed.), Yemen: 3000 Years of Art and Civilisation in Arabia Felix. Pinguin-Verlag. ISBN 9068322133
  5. Danilenko, Nadja (2019-07-03). "Der apokalyptische Abessinier und die Kreuzzüge: Wandel eines frühislamischen Motivs in der Literatur und Kartografie des Mittelalters, by Mordechay Lewy (Review)". Imago Mundi (ภาษาอังกฤษ). 71 (2): 210. doi:10.1080/03085694.2019.1607069. ISSN 0308-5694. S2CID 195580621.

อ่านเพิ่ม

[แก้]