ช่วงอายุชิบาเนียน
ช่วงอายุชิบาเนียน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
0.774 – 0.129 ล้านปีก่อน | |||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||
| |||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||
อนุมัติชื่อ | มกราคม 2563 | ||||||||
ชื่อพ้อง | ช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง ช่วงอายุไอโอเนียน | ||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||
การนิยาม | |||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ช่วงอายุ | ||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินช่วงอายุ | ||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||
คำนิยามขอบล่าง | ที่ความลึก 1.1 เมตรใต้จุดกึ่งกลางของการสลับขั้วแม่เหล็กโลกบรุนส์–มาสึยามะ | ||||||||
ขอบล่าง GSSP | จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น 35°17′39″N 140°08′47″E / 35.2943°N 140.1465°E | ||||||||
การอนุมัติ GSSP | มกราคม 2563[3] | ||||||||
คำนิยามขอบบน | ไม่ได้นิยามอย่างเป็นทางการ | ||||||||
แคนดิเดตคำนิยามขอบบน | กึ่งระยะไอโซโทปทะเล 5e | ||||||||
แหล่งแคนดิเดตคำนิยามขอบบน GSSP | ไม่มี |
ช่วงอายุชิบาเนียน (อังกฤษ: Chibanian) หรือที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ ช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง (อังกฤษ: Middle Pleistocene) เป็นช่วงอายุหนึ่งในมาตรธรณีกาลสากลหรือหินช่วงอายุหนึ่งในการลำดับชั้นหินตามอายุกาล โดยเป็นส่วนหนึ่งของสมัยไพลสโตซีนในยุคควอเทอร์นารีที่กำลังดำเนินอยู่[4] โดยชื่อชิบาเนียนได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบันได้มีการประมาณการขยายช่วงเวลาเป็นระหว่าง 0.770 ล้านปีก่อน (770,000 ปีก่อน) ถึง 0.126 ล้านปีก่อน (126,000 ปีก่อน) หรือ 770–126 พันปีก่อน (ka) โดยช่วงอายุนี้ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนผ่านทางบรรพมานุษยวิทยาจากยุคหินเก่าล่างไปสู่ยุคหินเก่ากลางเมื่อกว่า 3 แสนปีที่ผ่านมา
ช่วงอายุชิบาเนียนเป็นช่วงที่อายุที่สืบต่อมาจากช่วงอายุคาลาเบรียน และถูกสืบต่อด้วยช่วงอายุทารันเทียนที่มีการเสนอไว้[1] จุดเริ่มต้นของช่วงอายุชิบาเนียน คือ การสลับขั้วบรุนส์–มาสึยามะ เมื่อสนามแม่เหล็กโลกเกิดการสลับขั้วครั้งล่าสุด[5] และสิ้นสุดลงด้วยการเริ่มต้นของช่วงคั่นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งอีเมียน (ระยะไอโซโทปทะเล 5)[6]
คำว่า ช่วงอายุไพลสโตซีนกลาง นั้นถูกใช้เป็นชื่อเฉพาะกาล หรือ "กึ่งทางการ" โดยสหพันธ์ธรณีวิทยาสากล (IUGS) โดยในขณะที่ช่วงอายุล่างสุดลสามช่วงของสมัยไพลสโตซีน นั่นคือ ช่วงอายุเจลาเซียน ช่วงอายุคาลาเบรียน และ ช่วงอายุชิบาเนียน ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ช่วงอายุไพลสโตซีนตอนปลายยังไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการ พร้อมกับการเสนอการแบ่งย่อยแอนโทรโปซีนของสมัยโฮโลซีน[7]
กระบวนการนิยม
[แก้]สหภาพธรณีวิทยาสากล (IUGS) เสนอให้แทนชื่อช่วงอายุไพลสโตซีนกลางด้วยช่วงอายุไอโอเนียน (Ionian Age) โอยอ้างอิงตามชั้นหินที่พบในประเทศอิตาลี อย่างไรก็ตาม เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ชื่อช่วงอายุไอโอเนียนถูกแทนที่ด้วยชื่อช่วงอายุชิบาเนียน (อ้างอิงกับชั้นหินที่แหล่งขุดค้นในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น) ตามการเสนอ GSSP ของอนุกรรมการควอเทอร์นารี สำหรับช่วงอายุที่ควรนำมาใช้แทนที่กึ่งสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง[8] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ชื่อ "ชิบาเนียน" ได้รับการรับรองโดย IUGS[4]
บรรพมานุษยวิทยา
[แก้]ช่วงอายุชิบาเนียน ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงในด้านบรรพมานุษยวิทยาจากยุคหินเก่าล่างเข้าสู่ยุคหินเก่ากลาง กล่าวคือ การถือกำเนิดขึ้นของโฮโม เซเปียนส์ เซเปียนส์ในระหว่าง 3 ถึง 4 แสนปีก่อน[9] ดีเอ็นเอของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักมีอายุอยู่ในช่วงไพลสโตซีนกลาง เมื่อประมาณ 430,000 ปีก่อน ซึ่งเก่าแก่ที่สุดที่มีการค้นพบ ข้อมูลเมื่อ 2559[update][10]
ลำดับเวลา
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Cohen, K. M.; Finney, S. C.; Gibbard, P. L.; Fan, J.-X. (January 2020). "International Chronostratigraphic Chart" (PDF). International Commission on Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 23 February 2020.
- ↑ Mike Walker; และคณะ (December 2018). "Formal ratification of the subdivision of the Holocene Series/Epoch (Quaternary System/Period)" (PDF). Episodes. Subcommission on Quaternary Stratigraphy (SQS). 41 (4): 213–223. doi:10.18814/epiiugs/2018/018016. สืบค้นเมื่อ 11 November 2019.
- ↑ "Global Boundary Stratotype Section and Point". International Commission of Stratigraphy. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Hornyak, Tim (30 January 2020). "Japan Puts Its Mark on Geologic Time with the Chibanian Age". Eos – Earth & Space Science News. American Geophysical Union. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
- ↑ Gradstein, Felix M.; Ogg, James G.; Smith, Alan G., บ.ก. (2004). A Geological Time Scale 2004 (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 28. ISBN 9780521786737.
- ↑ D. Dahl-Jensen & others (2013). "Eemian interglacial reconstructed from a Greenland folded ice core" (PDF). Nature. 493 (7433): 489–494. Bibcode:2013Natur.493..489N. doi:10.1038/nature11789. PMID 23344358. S2CID 4420908.
- ↑ P. L. Gibbard (17 April 2015). "The Quaternary System/Period and its major sub-divisions". ScienceDirect. Elsevier BV. pp. 686–688. สืบค้นเมื่อ 13 November 2019.
- ↑ "Japan-based name 'Chibanian' set to represent geologic age of last magnetic shift". The Japan Times. 14 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-03. สืบค้นเมื่อ 13 November 2019.
- ↑ D. Richter & others (8 June 2017). "The Age of Hominin Fossils from Jebel Irhoud, Morocco, and the origins of the Middle Stone Age". Nature. 546 (7657): 293–296. doi:10.1038/nature22335. PMID 28593967. S2CID 205255853..
- ↑ Crew, Bec (15 March 2016). "The Oldest Human Genome Ever Has Been Sequenced, And It Could Rewrite Our History". ScienceAlert. สืบค้นเมื่อ 5 June 2019.