ชาเนย
ชาเนย หรือ เพอชา (ทิเบต: བོད་ཇ་, ไวลี: bod ja, พินอินทิเบต: pö qa, "ชาทิเบต") หรือ ซูโหยวฉา (จีน: 酥油茶; พินอิน: sūyóu chá) เป็นเครื่องดื่มของคนในพื้นที่เทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล ภูฏาน อินเดีย (โดยเฉพาะในลาดัก รัฐสิกขิม รัฐอรุณาจัลประเทศ) ปากีสถาน (โดยเฉพาะในกิลกิต-บัลติสถาน) ทิเบต และ พื้นที่ภาคตะวันตกของจีน แต่เดิมจะทำจากน้ำชาที่ผสมกับเนยที่ทำจากนมของจามรีและเกลือ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีแบบที่ใช้เนยที่ทำจากนมวัวซึ่งทำให้ชาชนิดนี้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น
ประวัติ
[แก้]ประวัติศาสตร์ของชาในทิเบตย้อนไปถึงช่วงศตวรรษที่ 7 ในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง แต่ว่าชาเนยก็ไม่ได้เป็นที่นิยมในทิเบตจนถึงประมาณช่วงศตวรรษที่ 13
ตามตำนานกล่าวว่า มีเจ้าหญิงชาวจีนมาสมรสกับกษัตริย์ของทิเบตซึ่งภายหลังก็ช่วยกันสร้างเส้นทางค้าขายระหว่างจีนและทิเบต ในเส้นทางการค้านี้ชาวจีนก็ได้นำชาเข้ามาในทิเบต ภายหลังเนยจึงนำมาเติมใส่ในน้ำชาแล้วจึงกลายเป็นเครื่องดื่มประจำของชาวทิเบตไป[1]
ในศตวรรษที่ 8 ชาใช้ดื่มกันเป็นปกติในทิเบต ในช่วงศตวรรษที่ 13 ชาก็ได้ถูกนำมาใช้พิธีทางศาสนา[2]
ในปัจจุบัน ชาเนยก็ยังเป็นที่แพร่หลายในทิเบต ด้วยที่ผู้คนดื่มชาชนิดนี้วันละ 60 ถ้วยเล็ก
การเตรียม
[แก้]ชาเนยคุณภาพจะทำโดยการต้มชาผูเอ่อร์ในน้ำเป็นเวลาครึ่งวัน เพื่อให้ได้สีน้ำตาลเข้ม จากนั้นจึงกรองใบชาออกและใส่ในกระบอกพร้อมกับเนยจามรีและเกลือซึ่งจะทำการผสม จนได้ชาที่มีความข้นในระดับเดีบวกับซุปหรือน้ำมัน จากนั้นก็นำไปเทใส่ในเหยือกหรือกา
อีกวิธีจะทำโดยการต้มน้ำและใส่ใบชาในปริมาณหนึ่งกำมือลงไป ซึ่งจะปล่อยให้แช่ไว้จนกว่าสีของน้ำชาเกือบจะเป็นสีดำ จากนั้นก็ใส่เกลือ หรืออาจจะใส่ผงฟูลงไปเพื่อปรับรสชาติของชา แล้วก็กรองชาด้วยกระชอนที่ทำจากต้นกกหรือขนม้าใส่ในกระบอกไม้ แล้วจึงกวนกับเนยจนได้น้ำชาที่มีความข้นที่เหมาะสมและย้ายลงไปเทลงหม้อทองแดงและปล่อยทิ้งไว้บนเตาไฟเพื่อทำให้ชาอุ่นอยู่ตลอด หากไม่มีกระบอกสำหรับทำเนย ก็จะใช้วิธีคนในหม้อแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Butter Tea: The National Drink of Tibet". Tea Culture (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-10-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.
- ↑ "Tibetan Tea History". tibettour.zudong.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.