ชาวยิวในประเทศไทย
יהדות תאילנד | |
---|---|
ชาบัดในกรุงเทพมหานคร | |
ประชากรทั้งหมด | |
มากกว่า 1,000 คน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
กรุงเทพมหานคร · เชียงใหม่ · ภูเก็ต | |
ภาษา | |
ฮีบรู · รัสเซีย · เปอร์เซีย · ไทย | |
ศาสนา | |
ยูดาห์ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ยิว · ชาวยิวอัชเกนัซ · ชาวรัสเซียในไทย · ชาวอิหร่านในไทย |
ประวัติศาสตร์ชาวยิวในประเทศไทยมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยการมาถึงของครอบครัวชาวยิวแบกแดดจำนวนหนึ่ง ชาวยิวในประเทศไทยปัจจุบันส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวยิวอัชเกนัซ ซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยจากรัสเซีย และสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีชาวยิวเปอร์เซียอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อหนีการไล่ล่าและสังหารในอิหร่าน ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980
ชาวยิวที่ตั้งรกรากถาวรในประเทศไทยส่วนใหญ่ มากกว่า 1,000 คน อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณถนนข้าวสาร ประชาคมชาวยิวที่มีขนาดเล็กกว่าและมีธรรมศาลายิว อยู่ในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ และเกาะสมุย ในช่วงวันหยุดของชาวยิว จำนวนชาวยิวในบริเวณดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นมากเป็นหลายพันคน เนื่องจากมีชาวยิวเดินทางเข้ามาในช่วงวันหยุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิสราเอลและสหรัฐ ตามการขอจัดตั้งธรรมศาลายิวสองแห่งขึ้นในกรุงเทพมหานคร คือ เบธ อีลิเชวา และอีเวน เชน
รับบีโยเซฟ ชาอิม คันทอร์ ได้ดำรงตำแหน่งรับบีถาวรคนแรกในกรุงเทพมหานคร ใน พ.ศ. 2536 เขาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในปีเดียวกับที่สมาคมชาวยิวแห่งประเทศไทยได้รับการก่อตั้งขึ้น และเป็นสมาชิกชาบัด
ชาบัดในกรุงเทพมหานคร
[แก้]ชาบัดในกรุงเทพมหานครเป็นชาบัดเฮ้าส์ขนาดใหญ่[1] ซึ่งบริการให้แก่นักท่องเที่ยวหนุ่มสาวชาวอิสราเอลเป็นส่วนใหญ่[2] สถานที่ดังกล่าวเป็นศูนย์บรรเทาภัยพิบัติที่สำคัญหลังจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อ พ.ศ. 2547[3] นอกจากนี้ ยังได้เสิร์ฟมื้ออาหารชาบัตให้แก่นักท่องเที่ยวชาวยิวหลายร้อยคนต่อสัปดาห์ และอีกหลายร้อยคนในช่วงเทศกาลปัสกา[4]
การศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน มีการจัดการศึกษาสำหรับชาวยิวครบวงจรในกรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งเยชิวานิกายออร์โธด็อกซ์ที่เพิ่งเปิดใหม่ด้วย หลังจากที่ได้มีการขอรัฐบาลมาเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดรัฐบาลก็อนุญาตให้มีการก่อตั้งสุสานชาวยิวได้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Inside Bangkok’s Chabad House As Hanukkah begins we tour the city’s Jewish-only sanctuary, where the wine flows and phone calls home are free, Richard S. Ehrlich, http://www.cnngo.com/bangkok/none/inside-bangkoks-chabad-house-191691#ixzz19bf2njtQ, CNN, December 11, 2009.
- ↑ World Wide Web; How did a small Hasidic court become a phenomenon that is fomenting something of a revolution in the Jewish world? The 4,000 Chabad emissaries who convened in New York offer a simple answer: energy, motivation, love and tolerance, Yair Ettinger, Haaretz, December 3, 2010, http://www.haaretz.com/weekend/magazine/world-wide-web-1.328607
- ↑ January 6, 2005, Report From Phuket Faith and Tsunami: A Rescue Mission, Jewish Journal http://www.jewishjournal.com/articles/item/report_from_phuket_faith_and_tsunami_a_rescue_mission_20050107/ เก็บถาวร 2016-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Rebbe’s army soldiers on, Sue Fishkoff , November 30, 2008, JTA, http://jta.org/news/article/2008/11/30/1001259/what-keeps-the-rebbes-army-going เก็บถาวร 2012-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "The Jews of Khao San Road". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-19. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.