ชาวกีซา
อัศฮาบ กิซา หมายถึง นบีมุฮัมมัด อะลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุซัยน์ ที่อัลกุรอานโองการ إِنَّما يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَ يُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيراً :[1] ความว่า "แท้จริงอัลลอฮ์เพียงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ "กล่าวเกี่ยวกับพวกเขาไว้[2] อะบูสะอีด ค็อดรี รายงานจากท่านศาสดาแห่งอิสลามว่า โองการนี้กล่าวเกี่ยวกับบุคคลห้าท่าน คือ ตัวฉัน อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซันและฮุเซน[3]
ที่มาของศัพท์เชิงวิชาการในมุมมองทางประวัติศาสตร์
[แก้]ฟรานซิส เอ็ดเวิร์ด ปีเตอรส์ อาจารย์วัยเกษียรของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก คณะอิสลามและตะวันออกกลาง กล่าวว่า ก่อนอิสลามและช่วงต้นอิสลาม คำว่า อะฮ์ลุลบัยต์ เป็นฉายานามของกุเรช และเป้าหมายของ บัยต์ คือ วิหารกะอ์บะฮ์ ณ นครมักกะฮ์ คำนี้เริ่มถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้นจนมีกลิ่นไอทางด้านการเมืองเข้ามา และมีการอ้างอิงและรายงานเกี่ยวกับโองการที่ 33 ของซูเราะฮ์อะห์ซาบ ที่มาของคำนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่อุษมานถูกฆ่าและช่วงต้นของยุคราชวงศ์อะมะวี ตรงกับช่วงการปกครองของอาลีหลังจากที่ถูกลิดรอนสิทธิอันชอบธรรมไปเป็นเวลา 25 ปี คำดังกล่าวข้างต้นจึงหมายถึง อะฮ์ลุลบัยต์ ที่มีเฉพาะ ท่านศาสดาแห่งอิสลาม อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซันและฮุเซน ตามคำกล่าวของปีเตอรส์ ว่าคำนี้มีปรากฏในฮะดีษต่างๆมากมายเกี่ยวกับโองการข้างต้นที่รายงานจากมุฮัมหมัด เช่นฮะดีษ บุคคลห้าท่านที่อยู่ภายใต้เสื้อคลุม (อาลิอะบา).[4]
Laura Veccia Vaglieri เขียนไว้ในสารานุกรมอิสลามว่า โองการก่อนหน้านี้กล่าวถึงบัญชาต่าง ๆ สำหรับบรรดาภรรยาของท่านศาสดา จึงใช้คำสรรพนามที่เป็นพหูพจน์ของเพศหญิง แต่สำหรับโองการนี้คำสรรพนามเป็นพหูพจน์ของเพศชาย จึงไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับบรรดาภรรยาของท่านศาสดา หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้หมายถึงพวกท่านเพียงอย่างเดียว ดังนั้นโองการนี้หมายถึงใคร? คำว่า "อะฮ์ลุลบัยต์ หมายถึง "ครอบครัวท่านศาสดา" เท่านั้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติครอบครัวของศาสดาจะมีความโดดเด่นเหนือกว่าบรรดาเครือญาติทั้งหมดของมุฮัมหมัด ไม่ว่าจะเป็นเผ่าของท่านทั้งชาวอันศอรหรือทั้งหมดที่มีอยู่ในสังคม ทว่ามีเรื่องเล่าที่มีอยู่ในฮะดีษต่าง ๆ มากมาย ตามรายงานต่าง ๆ นี้ มุฮัมหมัดได้ใช้เสื้อคลุมของท่านคลุมหลานทั้งสอง ฮะซัน ฮุเซน ฟาติมะฮ์บุตรีของท่าน และอาลี ผู้เป็นราชบุตรเขยในหลายโอกาส (เช่นเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์) ห้าท่านนี้คือบุคคลผู้ที่ได้รับฉายานามว่า "อัศฮาบกีซา" อย่างไรก็ตามมีความเพียรพยายามที่ให้บรรดาภรรยาของท่านศาสดาเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย แต่จำนวนบุคคลที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษนั้นมีเพียงห้าท่านนี้เท่านั้น[5]
เป้าหมายของอัศฮาบกีซาในทัศนะของอิสลาม
[แก้]เกี่ยวกับเรื่องบุคคลที่รวมอยู่ใน "อะฮ์ลุลบัยต์" ที่โองการตัฏฮีรกล่าวถึงนั้นมีความเห็นแตกต่างกันในหมู่นักรายงาน บ้างก็หมายรวมถึงบรรดาภรรยาของท่านศาดามุฮัมหมัด[6] บ้างก็หมายรวมถึงบรรดาญาติสนิทของท่าน กล่าวคือ ครอบครัวของท่านอับบาส ครอบครัวของท่านอะกีล ครอบครัวของท่านญะอ์ฟัร ครอบครัวของท่านอาลี[7] แต่ส่วนใหญ่ของพวกเขาเชื่อว่า "อะฮ์ลุลบัยต์" ในโองการนี้ หมายถึง "อัศฮาบกีซา" เท่านั้น
จำนวนของฮะดีษต่าง ๆ ที่มีเข้ามาจากกลุ่มนี้มีมากว่า 70 คน และมีกว่า 40 ฮะดีษที่รายงานโดยอะฮ์ลิซุนนะฮ์ ซึ่งรายงานมาจาก อุมมุสะละมะฮ์ อาอิอะฮ์ อะบูสะอีด คุดรี อิบนุอับบาส อับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร อาลี บิน อะบีฏอลิบ ฮะซัน บิน อาลี และคนอื่น ๆ และอีกกว่า 30 ฮะดีษที่รายงานจากนักรายงานของชีอะฮ์ ซึ่งรายงานจาก อาลี บิน อะบีฏอลิบ สัจญาด บาเกร ซอดิก ริฎอ (บรรดาอิมามของชีอะฮ์) อุมมุสะละมะฮ์ อะบูซัรฆอฟฟารี และอีกหลายท่าน[8] ตามทัศนะของฏอบาฏอบาอีและฏอบัรซีแล้ว เป้าหมายของ พระประสงค์ (อิรอดะฮ์) ในโองการนี้ เป็นพระประสงค์ด้านนัย (อิรอดะฮ์ตักวีนี) เนื่องจากว่าพระประสงค์ที่เป็นบทบัญญัติ (อิรอดะฮ์ตัชรี) นั้น จะหมายรวมถึงมนุษย์ทุกคนไม่ได้จำเพาะสำหรับใครเป็นพิเศษ[9]
สิ่งที่เป็นเหตุให้นักอรรถาธิบายบางท่านได้อรรถาธิบาย "อะฮ์ลุลบัยต์" ว่าหมายถึงบรรดาภรรยาของท่านศาสดา ก็เนื่องจากต้นโองการที่กล่าวถึงบรรดาภรรยาของท่านศาสดา และคำนี้ก็ปรากฏอยู่ระหว่างโองการที่ยังคงพูดถึงบรรดาภรรยาของท่านศาสดา แต่ท่านฏอบาฏอบาอี กล่าวว่า รายงานต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนี้นั้นบ่งชี้ว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาแยกต่างหาก และท่านศาสดาได้รับสั่งให้บันทึกไว้ระหว่างโองการต่าง ๆ นี้ด้วยตัวท่านเองหรืออาจจะมีการนำมาใส่ไว้ระหว่างโองการต่าง ๆ นี้ในช่วงการรวบรวมกุรอานภายหลังจากการเสียชีวิตของท่านศาสดา [10] การเปลี่ยนคำสรรพนามคู่สนทนาจากเพศหญิงเป็นเพศชายก็เป็นอีกเหตุผลที่ยืนยันถึงความหมายนี้
ฟัครุรรอซี เป็นนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ของชาวซุนนี ได้เขียนไว้ในตัฟซีรของเขาว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเครือญาติที่สนิทที่สุดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์นั้นคือ ฟาติมะฮ์ อาลี ฮะซันและฮุเซน ดังนั้น อาลิอะบา จึงหมายถึงพวกท่านอย่างแน่นอน และเจ้าของหนังสือกัชชาฟยังได้รายงานไว้อีกว่า เมื่อโองการนี้ถูกประทานลงมา ก็มีคนถามว่า โอ้ท่านศาสนทูต เครื่อญาติสนิทของท่านที่เป็นข้อบังคับให้พวกเรามอบความรักให้นั้นหมายถึงใคร? ท่านศาสดาดำรัสว่า หมายถึง อาลี ฟาติมะฮ์ และบุตรทั้งสองของเขา ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่า สี่ท่านนี้คือญาติสนิทของท่านศาสดา เมื่อเป็นที่ยืนยันแล้ว ดังนั้นจึงเป็นข้อบังคับที่ต้องให้เกียรติพวกท่าน (อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซัน ฮุเซน) เป็นพิเศษ และการที่ให้กล่าวซะละวาต (อัลลอฮุมมะซ็อลลิอาลามุฮัมหมัด วะอาลิมมุฮัมหมัด ไว้ช่วงท้ายการกล่าวตะชะฮ์ฮุด นั้นไม่ได้หมายถึงสิทธิของผู้ใดที่นอกเหนือไปจากพวกท่านนี้ ดังนั้นทั้งหมดนี้บ่งบอกถึงว่า การมอบความรักให้กับพวกท่านนั้นเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) นั่นเอง[11]
ญารุลลอฮ์ ซะมัคชะรี เป็นนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ของซุนนี กล่าวถึงความประเสริฐชอง อัศฮาบกีซา ไว้ใน ตัฟซีรกัชชาฟ (บุคคลที่อยู่ร่วมกับท่านศาสดาในวันมุบาฮะละฮ์)[12][13]
ทัศนะของชีอะฮ์
[แก้]อัศฮาบกีซา หรือ อาลิกีซา เป็นตำแหน่งที่ชาวชีอะฮ์ใช้เรียกท่านศาสดามุฮัมหมัด อะลี ฟาติมะฮ์ ฮะซัน และฮุเซน โดยกล่าวขานพวกท่านว่า ห้าท่านใต้เสื้อคลุม โดยยึดเอาตามรายงานหนึ่งที่ถูกรู้จักกันว่า ฮะดีษกีซา ซึ่งมีรายงานไว้อย่างมากมายในแหล่งอ้างอิงฮะดีษของทั้งสองนิกาย
ฮะดีษกีซา
[แก้]ฮะดีษกีซา เป็นฮะดีษที่มุตะวาติรทั้งในชีอะฮ์และซุนนี เพียงแต่แตกต่างกันว่าการรายงานใดที่น่าเชื่อถือ
ปัจจุบันฮะดีษกีซา ที่รู้จักกันในหมู่ชีอะฮ์ ก็คือฮะดีษที่มีอยู่ท้ายหนังสือ มะฟาติฮุลญินาน ที่รายงานจากท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันซอรี ซึ่งรายงานจากท่านหญิงฟาติมะฮ์ อัซซะฮ์รอ
ในหมู่นักวิชาการระดับสูงของชีอะฮ์ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือการรายงานฮะดีษนี้ บ้างก็ไม่ยอมรับในความน่าเชื่อถือของการรายงาน ท่านอัลลามะฮ์ ซัยยิดมุรตะฎอ อัสกะรี อายาตุลลอฮ์ มุฮัมหมัด เร ชะฮ์รี อัลลามะฮ์ริยาฮี และอีกหลายท่านที่ยืนยันถึงความถูกต้องของตัวบทฮะดีษกีซา แต่ก็เห็นต่างในความน่าเชื่อถือของฮะดีษกีซาที่ถูกกล่าวไว้ในท้ายหนังสือมะฟาติฮุลญินาน[14]
อ้างอิง
[แก้]- อิบนุฮัมบัล มุสนัด พิมพ์อียิปต์ ปี1313 ฮากิม มุฮัมหมัด อัลมุสตัดร็อก อะลัศซอฮีฮัยน์ พิมพ์เบรูต ปี 1398
- ฏอบาฏอบาอี มุฮัมหมัดฮุเซน อัลมีซาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน พิมพ์เบรูต ปี ค.ศ. 1973
- ฏอบัรซี ฟัฎล์ บิน ฮะซัน มัจมะอุลบะยาน พิมพ์เบรูต สำนักพิมพ์ มักตะบะตุลฮะยาต ฏอบะรี มุฮัมหมัด บิน ญะรีร ตัฟซีร พิมพ์เบรูต ปี 1400
- กุลัยนี มุฮัมหมัด บิน ยะอ์กูบ อุซูลกาฟี ด้วยความเพียรของท่าน ฮัมด์ บาเกร เบะฮ์บูดี และ อะลี อักบัร ฆอฟฟารี พิมพ์เตหะราน ปี 1383
- มุสลิม อะบุลฮุเซน ซอเฮี้ยะห์ พิมพ์เบรูต ปี 1392
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ (قرآن ۳۳/۳۳)
- ↑ H. Algar, “Al-E Aba,” Encyclopædia Iranica, I/7, p. 742; an updated version is available online at http://www.iranicaonline.org/articles/al-e-aba-the-family-of-the-cloak-i (accessed on 14 May 2014).
- ↑ "لغت نامه دهخدا". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-06.
- ↑ A Reader on classical Islam By Francis E. Peters, Prinston University, 1994, Page 131-1
- ↑ "Fāṭima." Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Edited by: P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs. Brill Online, 2014. Reference.
- ↑ (طبرسی، ۵/۱۳۷)
- ↑ (مسلم، ۱۵/۱۸۰)
- ↑ (احمدبن حنبل، ۶/۲۹۸، ۳۰۴؛ طبرسی، ۵/۱۳۷؛ طباطبائی، ۱۶/۳۱۰)
- ↑ (طبرسی، ۵/۱۳۹؛ طباطبایی، ۱۶/۳۱۲–۳۱۳)
- ↑ (طباطبائی، ۱۶/۳۱۱–۳۱۲)
- ↑ متن اصلی: آل محمد - صلی الله علیه وسلم - هم الذین یؤول أمرهم إلیه، فکل من کان أمرهم إلیه أشد وأکمل کانوا هم الآل، ولا شک أن فاطمة وعلیا والحسن والحسین کان التعلق بینهم وبین رسول الله - صلی الله علیه وسلم - أشد التعلقات، وهذا کالمعلوم بالنقل المتواتر، فوجب أن یکونوا هم الآل،... وروی صاحب «الکشاف» أنه لما نزلت هذه الآیة، قیل: یا رسول الله، من قرابتک هؤلاء الذین وجبت علینا مودتهم؟ فقال: علی وفاطمة وابناهما. فثبت أن هؤلاء الأربعة أقارب النبی - صلی الله علیه وسلم - وإذا ثبت هذا وجب أن یکونوا مخصوصین بمزید التعظیم... أن الدعاء للآل منصب عظیم، ولذلک جعل هذا الدعاء خاتمة التشهد فی الصلاة، وهو قوله: اللهم صل علی محمد وعلی آل محمد وارحم محمدا وآل محمد، وهذا التعظیم لم یوجد فی حق غیر الآل، فکل ذلک یدل علی أن حب آل محمد واجب. (تفسیر الکبیر، فخررازی، ج27، ص166: دار احیاء التراث العربی، بیروت)
- ↑ جار الله،زمخشری،الکشاف عن حقایق غوامض التنزیل و عیون الاقاویل فی وجوه التاویل،1/193،قطع رحلی،دار المعرفه، بیروت
- ↑ «اهل بیت در تفسیر کشاف». پایگاه امام علی علیه اسلام.
{{cite web}}
: Citation ว่างเปล่า (help) - ↑
{{cite web}}
: Citation ว่างเปล่า (help)