ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิปัฟเวลที่ 1 แห่งรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิปัฟเวลที่ 1
พระบรมสาทิสลักษณ์ โดย
วลาดีมีร์ โบโลวีกอฟสกี ในปี 1800
จักรพรรดิแห่งรัสเซียทั้งปวง
ครองราชย์17 พฤศจิกายน 1796[a] – 23 มีนาคม 1801[b]
ราชาภิเษก16 เมษายน 1797[c]
ก่อนหน้าจักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 2
ถัดไปจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1
ดยุกแห่งฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ
ครองราชย์9 พฤศจิกายน 1763 – 23 มีนาคม 1801[d]
พระราชสมภพ1 ตุลาคม [ตามปฎิทินเก่า: 20 กันยายน] ค.ศ. 1754
เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย
สวรรคต23 มีนาคม ค.ศ. 1801(1801-03-23) (46 ปี)
ปราสาทเซนต์ไมเคิล, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, จักรวรรดิรัสเซีย
ฝังพระศพมหาวิหารปีเตอร์และพอล
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
รายละเอียด
พระนามเต็ม
  • ปาแวล เปโตรวิช โรมานอฟ
  • รัสเซีย: Пáвел Петрóвич Ромáнов
ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อทตาร์ฟ-โรมานอฟ (อย่างเป็นทางการ)
ซัลทีกอฟ (ข่าวลือ)
พระราชบิดาจักรพรรดิปิออตร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย (อย่างเป็นทางการ)
เซียร์เกย์ ซัลทีกอฟ (ข่าวลือ)
พระราชมารดาจักรพรรดินาถเยกาเจรีนาที่ 2 แห่งรัสเซีย
ศาสนารัสเซียออร์ทอดอกซ์
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิปัฟเวลที่ 1 เปโตรวิช (รัสเซีย: Па́вел I Петро́вич; Pavel Petrovich;; 1 ตุลาคม [ตามปฎิทินเก่า: 20 กันยายน] ค.ศ. 1754 – 23 มีนาคม [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม] ค.ศ. 1801) เป็นจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ระหว่างปี 1796 – 1801 สวรรคตโดยการถูกปลงพระชนม์ขณะครองราชย์ พระราชโอรสของพระองค์ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 จึงขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์

ทรงพระเยาว์

[แก้]

พระองค์พระราชสมภพ ณ พระตำหนักของพระอัยยิกา จักรพรรดินีนาถเยลีซาเวตา ในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิปิออตร์ที่ 3 กับจักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 2 ในความทรงจำช่วงวัยเยาว์ของพระองค์ พระราชมารดาของพระองค์ทรงบ่งชี้เป็นนัยมากมายว่าพระราชบิดาของพระองค์ไม่ใช่ จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 3 แต่เป็นชู้รักของพระมารดานั้นคือ เซียร์เกย์ ซัลทีกอฟ ขุนนางในราชสำนัก ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนเยกาเจรีนาอ้างว่าจักรพรรดิปีเตอร์ทรงเป็นหมันโดยไม่มีหลักฐานใดอ้างอิงถึง อีกทั้งยังอ้างว่าพระองค์ไม่สามารถมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเยกาเจรีนาตั้งแต่หมั้นกันจนกระทั่งปีเตอร์เข้ารับการผ่าตัด จึงทำให้พระองค์จะไม่สามารถให้กำเนิดรัชทายาทได้ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ฝ่ายผู้ที่ต่อต้านพอลได้ใช้โจมตีพระองค์ ซึ่งสามารถทำให้พระองค์พ้นจากความเป็นรัชทายาทได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากข้อสงสัยในสายเลือดกษัตริย์และสิทธิอันชอบธรรมในการขึ้นเสวยราชย์ของพระองค์ เยกาเจรีนาจึงตอบโต้โดยใช้ข้ออ้างที่คลุมเคลือว่าสรีระของพอลละม้ายคล้ายคลึงกับปีเตอร์ แม้กระนั้นก็ตามยังมีข้อสงสัยถึงข้ออ้างเกี่ยวกับบุตรนอกสมรสตามมา

นาตาลียา อะเลคเซยีฟนา (วิลเฮ็ลมีเนอแห่งเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท)

ในช่วงครั้งยังเป็นทารกปัฟเวลได้รับความเอาใจใส่โดยพระราชมารดาโดยพระอัยยิกาเยลีซาเวตา คอยให้ความช่วยเหลือ ซึ่งถูกโรคร้ายลงโทษในภายหลัง ในขณะที่ยังเป็นเด็กพระองค์ถูกเล่าขานว่าทรงมีไหวพริบที่ดีและบุคลิกภาพที่เยี่ยมยอด ต่อมาพระนาสิก (จมูก) ของพระองค์หัก ทำให้ใบหน้าของพระองค์อัปลักษณ์ ที่ต่อมาพระองค์อ้างว่าเป็นผลมาจากโรคไข้รากสาดใหญ่ที่พระองค์ประชวรอย่างทรมานใน ค.ศ. 1771 ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้พระราชมารดาทรงเกลียดพระองค์ อีกทั้งยังมีผู้ที่หมายปองจะกำจัดพระองค์ และในช่วงวัยเยาว์นี้เองที่พระองค์ต้องทนอยู่กับความกลัวที่ว่าการลอบปลงพระชนม์จะมาถึงพระองค์ ถึงแม่เยกาเจรีนาจะเห็นว่าพระองค์อ่อนแอไม่เหมาะจะขึ้นครองราชย์ แต่ด้วยความที่เยกาเจรีนาเป็นผู้ซึ่งมีจิตใจรักเด็กอยู่แล้ว จึงปฏิบัติต่อพอลอย่างเมตตา พระองค์ถูกมองว่าเหลวไหลในงานราชการต่าง ๆ และตั้งข้อกังขาถึงอนาคตพระจักรพรรดิแห่งรัสเซีย ต่อมาเมื่อพระชนมายุมากขึ้นพระราชมารดาก็ได้นำภาระและความลำบากมาสู่พระองค์เมื่อพระราชมารดาจัดการอภิเษกสมรสครั้งแรกของพระองค์กับ เจ้าหญิงวิลเฮ็ลมีเนอ ธิดาใน ลูทวิชที่ 4 ลันท์กราฟแห่งเฮ็สเซิน-ดาร์มชตัท ซึ่งต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น นาตาลียา อเล็กเซยีฟนา ซาเรฟนาแห่งรัสเซีย ซึ่งต่อมาทรงสิ้นพระชนม์ก่อนจะพระราชสวามีจะได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และพระองค์อภิเษกสมรสอีกครั้งกับ เจ้าหญิงโซฟี โดโรเทอาแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค ผู้ซึ่งเป็นจักรพรรดินีในภายหลัง

ครองราชย์สมบัติ

[แก้]

พระองค์ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระราชมาดา จากการที่พระราชมารดาเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมอง ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 และสวรรคตบนแท่นบรรทมอย่างสงบหลังจากฟื้นสติขึ้นมาได้ไม่นาน การกระทำแรกของพระองค์ในการเป็นพระจักรพรรดิคือการสั่งให้ไต่สวนเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อทราบแน่ชัดแล้วว่าพระราชมารดาสวรรคตจริงจึงได้ออกคำสั่งให้ทำลายพินัยกรรมของพระมารดาทิ้ง ซึ่งเป็นที่กล่าวลือกันว่าพินัยกรรมฉบับนี้เขียนขึ้นจากความปรารถนาที่เยกาเจรีนาต้องการจะกีดกันพระองค์จากราชบัลลังก์รัสเซียและยกให้อะเลคซันดร์ พระนัดดาพระองค์โตแทน ซึ่งจากความกลัวนี้เองที่น่าจะทำให้พระองค์ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์รัสเซีย ค.ศ. 1797 หรือเป็นที่รู้จักในนาม "กฎหมายพอลไลน์" เพื่อเป็นการจำกัดหลักในการสรรหารัชทายาทขึ้นสืบราชบัลลังก์ในราชวงศ์โรมานอฟ ซึ่งก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยรัชทายาทของพระองค์เลย

ช่วงปีแรกในรัชกาลของพระองค์ พระองค์ได้ปรับเปลี่ยนโยบายของพระราชมารดามากมายอย่างตรงกันข้ามและสุดโต่ง ถึงแม้พระองค์จะตั้งข้อหาอาญาต่อพวกลัทธิรุนแรง (Jacobinism) และเนรเทศผู้คนเพียงเพราะสวมใสเสื้อผ้าตามแบบชาวปารีสหรือผู้คนที่อ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศส และประกาศอภัยโทษแก่ อะเลคซันดร์ ราดิชเชฟ ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะนักวิจารณ์ที่ชอบวิจารณ์การทำงานของเยกาเจรีนา จนถูกจับและเนรเทศไปยังไซบีเรีย ทางด้านการทหาร ขณะกองกำลังทหารกลำงเข้าจู่โจมเปอร์เซีย ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ชิ้นสุดท้ายของพระราชมารดาเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-เปอร์เซีย ก็ถูกเรียกกลับมายังเมืองหลวงภายในหนึ่งเดือนของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ พระศพของพระราชบิดาปีเตอร์ก็ถูกขุดขึ้นมาเพื่อทำพิธีฝังพระศพใหม่อย่างเอิกเกริก ณ สุสานหลวงใน โบสถ์ปีเตอร์แอนด์พอล เพื่อเป็นการกลบข่าวลือเรื่องฐานะบุตรนอกสมรสของพระองค์ นอกจากนี้พอลต้องรับผิดชอบการเดินตรวจแถวสวนสนามซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจที่ตกทอดมาจากจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช จารึกบนอนุสาวรีย์ปฐมจักรพรรดิแห่งรัสเซียถูกสถาปนาขึ้นในช่วงรัชกาลของพอลล์ใกล้ ๆ กลับพระตำหนักเซนต์ไมเคิลโดยเป็นภาษารัสเซีย แปลในภาษาอังกฤษว่า "To the Great-Grandfather from the Great-Grandson" ("แด่พระบรมปัยยิกาเจ้าจากพระบรมปนัดดา") ซึ่งมีความหมายเป็นนัย ๆ แต่ที่ปรากฏเด่นชัดคือคำเยาะเย้ยในภาษาละตินที่ว่า "PETRO PRIMO CATHERINA SECUNDA" ซึ่งเป็นคำจารึกอุทิศที่รู้จักไปทั่วสลักใต้อนุสาวรีย์ชายขี่ม้าสีเงิน ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ที่โด่งดังที่สุดของปีเตอร์มหาราชในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก

อนุสาวรีย์ของพอลหน้าพระราชวังปาฟลอฟส์ก

พระราชโอรสและพระราชธิดา

[แก้]

จักรพรรดิปัฟเวลที่ 1 และจักรพรรดินีมารีเยีย เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย มีพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสิ้น 10 พระองค์ ดังนี้

  • จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 (ภาษารัสเซีย : Александр I Павлович ; 23 ธันวาคม ค.ศ. 1777 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1825)
    • เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระชนกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1801

พระราชกิจด้านต่างประเทศ

[แก้]

ความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศของพระองค์ฉุดรั้งให้จักรวรรดิรัสเซียต้องเข้าสู่สงครามอีกครั้ง ในสงครามสัมพันธมิตรครั้งที่สองเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1798 พระองค์ได้ส่งนายพลซูวารอฟไปปะทะกับนโปเลียนที่สวิตเซอร์แลนด์ และส่งนายพลยูชาคอฟไปช่วยปฏิบัติการของเนลสันในแถบเมดิเตอร์เรเนียน หลังจากต้องอดทนผจญกับความยากลำบากในการรบจนได้รับชัยชนะจากกองกำลังที่ส่งไปทั้งสอง พระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยกะทันหันโดยออกคำสั่งให้เหล่าทัพต่าง ๆ มุ่งทัพเข้าโจมตีสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1801 ซึ่งก่อนหน้านี้พระองค์ทรงทะเลาะกับฝรั่งเศสต่อมาก็กับอังกฤษหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดมอลตาได้ อีกทั้งยังทรงละเลยกับแผนที่จะเข้าร่วมทำสงครามด้วยกันกับนาวิกโยธินฝรั่งเศส และความโง่เขลาของพระองค์อีกครั้งหนึ่งคือการส่งกองทหารม้าคอสเซคไปโจมตีกองทัพอังกฤษที่อินเดีย

ถูกลอบปลงพระชนม์

[แก้]

ลางสังหรณ์ถึงการถูกลอบปลงพระชนม์ของพระองค์มีมานานแล้ว พระองค์ทรงกำจัดขุนนางที่มีท่าที่เป็นปฏิปักษ์กับพระองค์ และอุปการะชุบเลี้ยงอีกทั้งยังมอบเบี้ยรางวัลแกขุนนางที่พระองค์ทรงไว้วางพระทัย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงค้นพบถึงการกระทำเพทุบายและฉ้อราษฎบังหลวงร้ายแรงในท้องพระคลังรัสเซียด้วย อีกทั้งพระองค์ได้ทรงล้มเลิกกฎหมายของพระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ว่าด้วยการสำเร็จโทษทางร่างกายโดยอิสระและทรงปรับเปลี่ยนใหม่อย่างสิ้นเชิงซึ่งเอื้อความชอบธรรมให้แกชนชั้นล่างมากขึ้น และทรงปรับเปลี่ยนวิธีการทำกสิกรรมของชาวรัสเซียให้ดีขึ้น ซึ่งถูกมองว่าเป็นนโยบายที่กลั่นแกล้งชนชั้นขุนนางและเป็นการชักชวนให้ผู้ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ล้มเลิกแผนการโค่นล้มพระองค์

กลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดการลอบปลงพระชนม์ได้จัดตั้งขึ้นหนึ่งเดือนก่อนการลงมือ โดยประกอบด้วย เคาท์ปิออตร์ อเล็กเซเยวิช ปาห์เลน, นิคิตา เปโตรวิช ปานิน, และพลเรือเอกโจเซ เด ริบาส โดยเป็นพลเรือลูกครึ่งสเปน-เนเปิลส์ ซึ่งการเสียชีวิตของเขาทำให้การลอบปลงชนม์ล่าช้าออกไป โดยในคืนวันที่ 23 มีนาคม (นับตามแบบเก่า: 11 มีนาคม) ค.ศ. 1801 พระจักรพรรดิพอลล์ถูกปลงพระชนม์บนแท่นพระบรรทมในห้องบรรทมใหม่เอี่ยม ณ พระตำหนักในพระราชวังเซนต์ไมเคิล โดยความร่วมมือจากการที่นายพเบนนิกเซนออกคำสั่งยกเลิกประจำการบริเวณพระตำหนักของเหล่าเจ้าหน้าที่รักษาพระองค์ ผู้ซึ่งเป็นชาวฮันโนเฟอร์ในราชสำนักรัสเซีย อีกทั้งจากความร่วมมือของนายพลยาชวิลชาวจอร์เจีย โดยพวกเขาจู่โจมเข้าไปในห้องพระบรรทม ซึ่งก่อนหน้าที่ยังทรงพระกระยาหารค่ำด้วยกันกับเหล่านายพล เหล่าผู้ก่อกบฏพบตัวพระองค์ซ่อนอยู่ในผ้าบริเวณมุมห้อง จากนั้นลากตัวพระองค์ออกมาและบังคับให้ไปยังโต๊ะทรงงาน จากนั้นบังคับให้ทรงลงพระนามในเอกสารสละราชสมบัติ แต่พระองค์ทรงขัดขืนแต่ต่อสู้ ผู้ร่วมก่อกบฏคนหนึ่งจึงแทงพระองค์ด้วยดาบ พระองค์ทรงถึงหายใจไม่ออกและทรงกล่าวเหยียดหยามต่อความตาย ราชบัลลังก์ตกมาเป็นของพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แกรนด์ดยุกอะเลคซันดร์ โดยนายพลนิโคลัส ซูบอฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อกบฏได้กล่าวแนะนำให้พระองค์ขึ้นสืบราชบัลลังก์ โดยกล่าวกับอะเลคซันดร์ว่า

ถึงเวลาที่พระองค์จะต้องทรงเติบใหญ่และเสวยราชย์เป็นจักรพรรดิแล้ว

— นายพลนิโคลัส ซูบอฟ
พระราชวังเซนต์ไมเคิลสถานที่ถูกลอบปลงพระชนม์ของจักรพรรดิพอลล์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. [ตามปฎิทินเก่า: 6 พฤศจิกายน]
  2. [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม]
  3. [ตามปฎิทินเก่า: 5 เมษายน]
  4. [ตามปฎิทินเก่า: 11 มีนาคม]

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า จักรพรรดิปัฟเวลที่ 1 แห่งรัสเซีย ถัดไป
จักรพรรดินีนาถเยกาเจรีนาที่ 2
จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซีย
(17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1796 – 23 มีนาคม ค.ศ. 1801)
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1