ข้ามไปเนื้อหา

ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า
ส่วนหนึ่งของกองทัพเรือไทย
สัตหีบ ชลบุรี
ภาพถ่ายทางอากาศของค่ายแสมสาร หรือค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้าในปี พ.ศ. 2512
แผนที่
พิกัด12°38′41″N 100°57′31″E / 12.644657°N 100.958623°E / 12.644657; 100.958623
ประเภทค่ายทหาร
ข้อมูล
เจ้าของ สหรัฐ (พ.ศ. 2510–2519)
 ไทย (พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน)
ผู้ดำเนินการNaval flag of ไทย กองทัพเรือไทย
ควบคุมโดย กองพลนาวิกโยธิน
ประวัติศาสตร์
สร้างเมษายน 2510 (2510-04)
สร้างโดยสหรัฐ กองพันทหารช่างที่ 538 (ก่อสร้าง)
การใช้งานสหรัฐ 13 พฤษภาคม 2513 (กองทัพสหรัฐ)
1 เมษายน 2532 (กองพลนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย)
การต่อสู้/สงครามสงครามเวียดนาม

ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า (อังกฤษ: Phramahachedsadharajchao Camp)[1] หรือ ค่ายแสมสาร (อังกฤษ: Camp Samae San)[2] เป็นค่ายทหารที่ตั้งหลักของกองพลนาวิกโยธิน และหน่วยในสังกัดอื่น ๆ ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือไทย ตั้งอยู่ในตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ในอดีตเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารบกสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม โดยถูกเรียกขานว่า ค่ายแสมสาร[3]

ประวัติ

[แก้]

ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เดิมชื่อว่า ค่ายแสมสาร ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม[1] เป็นส่วนหนึ่งของ ท่าเรือสัตหีบและศูนย์ส่งกำลังบำรุง (Sattahip port and Logistical Complex) ของกองทัพสหรัฐ ตั้งอยู่ระหว่างสนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ[4]

อาคารกองบัญชาการในค่ายแสมสาร ขณะกำลังก่อสร้างโดยกองพันทหารช่างที่ 538 ของกองทัพบกสหรัฐ

ค่ายแสมสารเริ่มต้นก่อสร้างในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 โดยมีกองร้อยดีของกองพันทหารช่างที่ 538 (ก่อสร้าง) (538th Engineer Battalion (Construction)) โดยรูปแบบฐานจะเป็นฐานทัพที่สามารถรองรับกำลังพลได้ 1,800 นาย พร้อมด้วยคลังเก็บของ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกด้านวิศวกรรม ซึ่งหลังจากการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เสร็จสิ้น หน่วยที่เหลือของกองพันทหารช่างที่ 538 ได้ย้ายที่ตั้งมายังค่ายแสมสารเพื่อช่วยกองร้อยดีก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2511 โดยระหว่างการก่อสร้าง ได้ใช้ดินในการบดอัดก่อสร้างฐานรากของค่ายแสมสารรวมถึงถนนลาดยางความยาว 8 ไมล์จำนวน 2.5 ล้านลูกบาก์หลา และใช้แผ่นพื้นขนาด 11.9 ล้านตารางฟุตสำหรับการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ[5]

สำหรับส่วนปฏิบัตงานและใช้งานประกอบไปด้วยพื้นที่สำนักงานจำนวน 57,000 ตารางฟุต โกดังและพื้นที่เก็บของขนาด 1 ล้านตารางฟุต และพื้นที่สำหรับซ่อมบำรุงยานยนต์ขนาด 500,000 ตารางฟุต พื้นที่ทั้งหมดถูกป้องกันด้วยรั้วความยาว 7 ไมล์ รวมถึงการวางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยในพื้นที่ด้วยการสร้างระบบกระจายน้ำประปาและน้ำทิ้ง พร้อมด้วยสถานียกระดับน้ำ (lift station) จำนวน 6 แห่ง และระบบจ่ายไฟฟ้าหลักขนาด 12,000 โวลต์[5]

โรงภาพยนตร์ขนาด 500 ที่นั่งที่กำลังก่อสร้างอยู่ที่ค่ายแสมสาร
โบสถ์คริสต์ภายในค่ายแสมสารขณะกองทัพสหรัฐใช้งานฐาน

ภายในประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกหลักต่าง ๆ สำหรับทหารสหรัฐ คือ ที่พักพลทหารจำนวน 55 หลังพร้อมกับอาคารที่เกี่ยวข้อง โรงอาหารความจุ 750 คนจำนวน 2 หลัง สำนักงานไปรษณีย์ ห้องสมุด โรงภาพยนตร์ โบสถ์คริสต์ สำนักงานด้านการเงิน โรงยิม สนามกีฬาประเภทต่าง ๆ อาทิ ฟุตบอล ลู่วิ่ง ซอฟต์บอล บาสเก็ตบอล และลานโบวลิ่ง เป็นต้น[4][5]

พิธีเปิดค่ายแสมสารมีขึ้นในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 หลักจากใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี งบประมาณในการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 7.6 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ[5]

มีหน่วยที่เข้าประจำการในเวลานั้น ประกอบไปด้วย[2]

  • Area Materiel Supply Facility
  • บริษัทเฟดเดอรัลอิเล็คทริค (Federal Electric Corporation: FEC)[6]
  • HHC Terminal
  • HHC Terminal Command Deep Water Port
  • HHC MACTHAI
  • MACTHAI SPT GP
  • บริษัท เพจ คอมมูนิเคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (Page Communications Engineers, Inc.)[7]
  • ห้องปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลกลางสหรัฐ ประจำประเทศไทย (U.S. Army Central Identification Laboratory: USA CIL THAI)[8][9] – เริ่มปฏิบัติการวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2516
  • U.S. Army Support
  • ยูซ่าไทย (USARSUPTHAI) – ยุติปฏิบัติการในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[10]
  • รองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง แผนงาน และปฏิบัติการ[11] ยูซ่าไทย (USARSUPTHAI DCSSPO)
  • ศูนย์สื่อสาร กองบัญชาการการสื่อสารทางยุทธศาสตร์กองทัพบกสหรัฐ (USASTRATCOM Comm Center)
  • สำนักทดสอบกิจกรรม การวัด และการวินิจฉัยอุปกรณ์กองทัพบกสหรัฐ (U.S. Army Test, Measurement, and Diagnostic Equipment Activity: USATA)
  • กองบัญชาการส่งกำลังบำรุงที่ 9 (9th Logistical Command) – ย้ายจากนครราชสีมามาเมื่อมีนาคม พ.ศ. 2512 และถูกยุบเลิกเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2513[12]
  • 9th Terminal Command
  • 13th AF Liasion NCO
  • 16th Infantry
  • หมู่ทหารสื่อสารที่ 29 (29th Signal Group)[13]
  • กองร้อยทหารช่างที่ 142 (142nd Enginner Company)
  • กองร้อยทหารช่างที่ 145 (145th Engineer Company)
  • กองร้อยทหารสื่อสารที่ 207 (207th Signal Company)[14]
  • กองร้อยสารวัตรทหารที่ 219 (219th Military Police Company: MPCo)
  • กองร้อยทหารขนส่งที่ 229 (229th Transportation Company)[15]
  • กองร้อยทหารขนส่งที่ 233 (233rd Transportation Company)[15]
  • กองร้อยทหารขนส่งที่ 260 (260th Transportation Company) – ถูกยุบเลิกเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2518[16]
  • กองร้อยสารวัตรทหารที่ 281 (281st Military Police Company: MPCo)
  • กองร้อยทหารขนส่งที่ 313 (13th Transportation Company) – ถูกยุบเลิกเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2515[16]
  • กองพันทหารสื่อสารที่ 379 (379th Signal Battalion)[14]
  • 449th Term Battalion
  • กองพันขนส่งที่ 519 (519th Transportation Battalion)[16]
  • กองพันก่อสร้างที่ 537 (537th Engineer Battalion)
  • กองพันก่อสร้างที่ 538 (538th Engineer Battalion)[5][17][18]
    • หมวด ดี กองพันก่อสร้างที่ 358 (538th Engineer Battalion Paltoon D)
  • กองพันซ่อมบำรุงที่ 562 (562nd LT Maintenance) – ประจำการ 12 มกราคม พ.ศ. 2510 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2514[12]
  • กองพันทหารขนส่งที่ 640 (640th Transportation Battalion)
  • ส่วนแยกทหารขนส่งที่ 604 (เรือลากจูง) (604th Transportation Detachment (Tugboat))
  • กองร้อยทหารช่างที่ 697 (ท่อส่ง) (697th Engineer Company (Pipeline))[18]

จากรายงานใน ASEAN-Indochina Relations Since 1975: The Politics of Accommodation ซึ่งรวบรวมและเผยแพร่โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุไว้ว่ากำลังทหารสหรัฐในค่ายแสมสารมีจำนวนถึง 1,200 นาย[19] ก่อนที่รัฐบาลไทยจะร้องขอให้กองกำลังทั้งหมดของสหรัฐถอนกำลังออกจาประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2519[10] คงเหลือแต่กำลังส่วนสำคัญเท่านั้นที่ยังคงอยู่ และมีการถอนกำลังชุดสุดท้ายในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2519[20]

ต่อมาค่ายแสมสารได้ถูกใช้งานโดยรัฐบาลไทย เพื่อใช้เป็นที่ตั้งทางทหารของกรมนาวิกโยธิน โดยในปี พ.ศ. 2520 ได้ย้ายกรมทหารราบที่ 1 กรมผสมนาวิกโยธินจากที่ตั้งเดิมค่ายกรมหลวงชุมพรมาอยู่ที่ค่ายแสมสารซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของทหารช่างสหรัฐ[3] และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 ได้ย้ายกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 กรมนาวิกโยธิน (พัน.ร.1 กรม ร.1 นย.)[21] จากที่ตั้งเดิมอ่าวเตยงามมาตั้งที่ค่ายแสมสาร[22]

ค่ายแสมสารได้เป็นที่ตั้งของกองพลนาวิกโยธินที่ได้ปรับขยายขนาดกรมนาวิกโยธิน โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 เป็นหน่วยขึ้นตรงต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน มีหน้าที่ในการปฏิบัติการทำลายข้าศึกและควบคุมพื้นที่ด้วยการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การปฏิบัติการรบทางบก และการรบพิเศษ[23]

จากนั้น ค่ายแสมสาร ได้รับโปรดเกล้าจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชสมัญญาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Phramahachedsadharajchao Camp เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2542[1]

ปัจจุบัน ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้ายังถูกเรียกขานโดยกองทัพสหรัฐในชื่อว่า ค่ายแสมสาร ซึ่งเป็นชื่อเดิมของค่ายในการฝึกร่วมต่าง ๆ ระหว่างไทยและสหรัฐ[24]

หน่วยภายใน

[แก้]

ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า ประกอบด้วยที่ตั้งทางทหารของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินต่าง ๆ ดังนี้

สิ่งอำนวยความสะดวก

[แก้]

สนามยิงปืน

[แก้]
นาวิกโยธินไทยและสหรัฐ ฝึกยิงปืนร่วมกันที่สนามยิงปืน ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า

สนามยิงปืน ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า ตั้งอยูในพื้นที่ของค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เป็นสถานที่สำหรับฝึกฝนการใช้อาวุธปืนของนาวิกโยธิน โดยเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมใช้งานได้ในการแข่งขันต่าง ๆ ที่ทางหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินได้จัดแข่งขันขึ้น[25] โดยการฝึกซ้อมด้วยกระสุนจริงขนาดใหญ่ของค่ายจะดำเนินการฝึกที่สนามฝึกหมายเลข 16 ในอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี[26]

สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ

[แก้]

สถานีเรดาร์ฝนหลวงสัตหีบ เป็นสถานีเรดาร์แบบประจำที่ ชนิด S Band ย่านความถี่ 2.8 GHz ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า[27] สังกัดกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ใช้สำหรับการตรวจสอบและติดตามกลุ่มเมฆบนท้องฟ้าเพื่อใช้วางแผนในการปฏิบัติการฝนหลวงและพยากรณ์การเกิดฝนฟ้าคะนอง และการใช้งานทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ[28]

หาดค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า

[แก้]

หาดค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เป็นชายหาดในพื้นที่ของค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาพักผ่อนทั้งรูปแบบไปกลับ และสามารถค้างคืนได้ โดยแจ้งที่กองรักษาการณ์ว่าจะเข้ามาเที่ยวชายหาดของค่าย พื้นที่ภายในประกอบไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกของทางค่ายที่เตรียมไว้ ทั้งร้านอาหาร ห้องน้ำ และพื้นที่พักแรม ซึ่งชายหาดจะสามารถพักผ่อนได้ตามพื้นที่ที่กำหนด หากค้างคืนสามารถกางเต็นท์ได้ และมีห้องพักให้บริการแต่ควรจองล่วงหน้า[29]

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานชื่อค่ายทหาร (ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้า)". dl.parliament.go.th. 2542-04-01.
  2. 2.0 2.1 "Camp Samae San (Sattahip) - APO 96232". us-seasia.tripod.com.
  3. 3.0 3.1 กิจการวารสารนาวิกโยธิน. E-book วารสารนาวิกโยธิน ฉบับเดือน กันยายน ๒๕๖๕. p. 23.
  4. 4.0 4.1 Lessons Learned, Headquarters, US Army Support, Thailand (PDF). DTIC Defense Technical Information Center.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Engineers in Thailand - 538th Engineer Battalion (Construction) construction of Camp Samae San, Sattahip cantonment area 1968-1970". groups.io (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "Chapter III: The War in Vietnam - DAHSUM FY 1972". history.army.mil.
  7. Command History. 1972-1973. Volume 2. Sanitized - DTIC (PDF). Defense Technical Information Center. pp. E-45.
  8. "Chapter X: Support Services - DAHSUM FY 1974". history.army.mil.
  9. "Chapter 9: Support Services - DAHSUM FY 1975". history.army.mil.
  10. 10.0 10.1 "United States Army Support Thailand". usarsupthaiassociation.com (ภาษาอังกฤษ).
  11. "Army Training and Evaluation Program No. 8-705-MTP: Mission Training Manual for the Combat Support Hospital | The Afterlives of Government Documents". documentafterlives.newmedialab.cuny.edu.
  12. 12.0 12.1 "9th Logistical Command (B)". usarsupthaiassociation.com (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Getting the Message Through-Chapter 10". www.history.army.mil.
  14. 14.0 14.1 "Citation Nr: 1527884 Decision Date: 06/30/15 Archive Date: 07/09/15". www.va.gov.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. 15.0 15.1 "Operation Igloo White". groups.io (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  16. 16.0 16.1 16.2 "519th Transportation Battalion". transportation.army.mil.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "Lessons Learned, Headquarters, 538th Engineer Battalion". apps.dtic.mil. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. 18.0 18.1 "RoyNey.htm". adamsan.tripod.com.
  19. Nair, Kannan K. (1984). ASEAN-Indochina Relations Since 1975: The Politics of Accommodation. มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย.
  20. "เมื่อ กต.เจรจาสหรัฐ ถอนสถานีสอดแนม 'รามสูร' 2519". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "ยุทธการกรุงชิง". www.marines.navy.mi.th.
  22. "Royal Thai Navy - Detail History". marines.navy.mi.th.
  23. "Royal Thai Navy - Detail History". www.marines.navy.mi.th.
  24. "Thai, U.S. Marines Learn Mechanical Advantage Control Holds". dod.defense.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  25. "Royal Thai Navy - Detail Main". marines.navy.mi.th.
  26. "นาวิกฯ ค่ายพระมหาเจษฎาราชเจ้าซ้อมใหญ่ทหารก่อนลงใต้". mgronline.com. 2009-08-29.
  27. "ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เยี่ยมคำนับอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
  28. "5 เรื่องชวนรู้เกี่ยวกับ #เรดาร์ฝนหลวง". www.royalrain.go.th. สืบค้นเมื่อ 2024-08-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "หาดค่ายเจษฯ สัตหีบ กางเต็นท์ เล่นน้ำ นอนรับลม ชมทะเลฟ้าใส เที่ยวใกล้กรุงเทพ". https://travel.trueid.net. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)