ข้ามไปเนื้อหา

คอคอดปานามา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอคอดปานามา

คอคอดปานามา (สเปน: Istmo de Panamá) หรือในอดีตเรียก คอคอดดาเรียน (สเปน: Istmo de Darién) เป็นแผ่นดินกิ่วคอดซึ่งอยู่กลางทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก และเชื่อมทวีปอเมริกาเหนือเข้ากับทวีปอเมริกาใต้ ทั้งเป็นดินแดนประเทศปานามาและเป็นแหล่งคลองปานามา นอกจากนี้ ยังมีคุณค่าทางยุทธศาสตร์นานัปการเช่นเดียวกับคอคอดแห่งอื่น ๆ

คอคอดปานาเกิดขึ้นราวสามล้านปีก่อนในยุคไพลโอซีน ซึ่งทำให้มหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกแยกจากกัน และก่อให้เกิดกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรดังกล่าว

ประวัติ

[แก้]
Núñez de Balboa's travel route to the South Sea, 1513
An 1850 oil painting by Charles Christian Nahl, titled, The Isthmus of Panama on the height of the Chagres River

ขณะแล่นเรือไปตามฝั่งทะเลแคริบเบียน บัสโก นูเญซ เด บัลโบอา (Vasco Núñez de Balboa) ขุนนางชาวสเปนคนหนึ่ง ได้ฟังชนพื้นเมืองร่ำลือถึง "ทะเลใต้" ครั้นวันที่ 25 กันยายน 1513 เขาก็ได้พบทะเลแปซิฟิก และในปี 1519 นครปานามาก็ก่อตั้งขึ้นริมชุมชนพื้นเมืองกลุ่มน้อยรายหาดแปซิฟิก ต่อมา เมื่อมีการค้นพบประเทศเปรูแล้ว นครปานามาก็เจริญเป็นเมืองท่าสำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครองในที่สุด ลุปี 1671 เฮนรี มอร์แกน (Henry Morgan) โจรสลัดชาวเวลส์ ล่องเรือมาจากฝั่งแคริบเบียนข้ามคอคอดปานามา แล้วเข้าทำลายนครจนถึงแก่ความพินาศ สมัยต่อมา จึงมีการย้ายนครไปที่คาบสมุทรน้อยแห่งหนึ่งทางตะวันตก และในปี 1997 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติประกาศยกซากนครปานามา ซึ่งบัดนี้เรียก "ปานามาเบียโค" (Panamá Viejo) ขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลก

ชีวภาค

[แก้]

ชีวภาคของปานามาแล้วไปด้วยสัตวชาติ (fauna) และพฤกษชาติ (flora) จากทั้งอเมริกาเหนือและใต้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในลักษณะทับซ้อนกัน (overlapping) เช่น มีนกมากกว่าห้าร้อยสายพันธุ์อาศัยอยู่ในท้องที่คอคอด

นอกจากนี้ เพราะมีเทือกเขายาวเหยียดตลอดคอคอด ภูมิอากาศฝั่งแอตแลนติก (ฝั่งทะเลแคริบเบียน) จึงชื้นเป็นปรกติ ขณะที่ฝั่งทะเลแปซิฟิกกลับแห้งและชื้นสลับกันไป ภูมิอากาศร้อนชื้นเช่นว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำพาให้สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ที่มีสีสันแจ่มจ้าและร่างกายใหญ่โต ทั้งแมลง งูเงี้ยวเขี้ยวขอ นก ปลา และสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ แห่เข้ามาอาศัยเป็นอันมากด้วย

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]