ข้ามไปเนื้อหา

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วอลเลตบิตคอยน์แบบกระดาษซึ่งมีที่อยู่บิตคอยน์เลขหนึ่งเพื่อรับเงิน และมีกุญแจส่วนตัวที่จับคู่กันสำหรับใช้จ่าย

คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลต (อังกฤษ: cryptocurrency wallet) เป็นที่ที่เก็บกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัว ซึ่งสามารถใช้รับหรือจ่ายคริปโทเคอร์เรนซีได้ วอลเลตใบหนึ่งสามารถมีกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัวหลายคู่ นี่ไม่เหมือนวอลเลตจริง ๆ ตรงที่ว่า คริปโทเคอร์เรนซีจริง ๆ ไม่ได้อยู่ในวอลเลต เพราะวอลเลตมีแต่กุญแจเป็นคู่ ๆ ดังนั้น จึงอาจจะเรียกได้ชัดเจนกว่าว่า สายคล้องกุญแจ[1] ในกรณีของบิตคอยน์และคริปโทเคอร์เรนซีสกุลอื่น ๆ ที่มาจากมัน คริปโทเคอร์เรนซีเองจะเก็บไว้อย่างกระจายศูนย์ คือบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทที่เป็นสาธารณะ[2] คริปโทเคอร์เรนซีทุก ๆ หน่วยจะระบุกุญแจสาธารณะของบุคคลที่เป็นเจ้าของ ดังนั้น เพื่อจะบันทึกธุรกรรมใหม่ในบัญชีซึ่งเท่ากับเป็นการใช้คริปโทเคอร์เรนซีที่ว่านั้น ผู้ที่ออกคำสั่งทำธุรกรรมจะต้องมีกุญแจส่วนตัวที่คู่กับกุญแจสาธารณะนั้น[3]

โดยเดือนมกราคม 2018 มีคริปโทเคอร์เรนซีกว่า 1,300 สกุล สกุลแรกซึ่งรู้จักกันดีที่สุดก็คือบิตคอยน์[4]

การเข้าถึงวอลเลต

[แก้]

เมื่อเลือกวอลเลต เจ้าของต้องพิจารณาว่าใครควรจะสามารถเข้าถึงกุญแจส่วนตัว เพราะก็จะสามารถใช้จ่ายคริปโทเคอร์เรนซีที่สัมพันธ์กันได้ คล้ายกับธนาคาร ผู้ใช้ต้องเชื่อใจบุคคล/ซอฟต์แวร์/อุปกรณ์ที่ให้บริการเพื่อรักษาคริปโทเคอร์เรนซีให้ปลอดภัย ซึ่งสามารถไว้ใจอย่างผิดพลาดได้ เช่น ในกรณีของตลาดแลกเปลี่ยน Mt. Gox ในญี่ปุ่น เพราะตลาดได้เสียบิตคอยน์ของตัวเองและของลูกค้ากว่า 650,000 เหรียญ (มูลค่า 480 ล้านเหรียสหรัฐหรือประมาณ 14,942 ล้านบาท) ซึ่งทำให้บริษัทล้มละลายไปในที่สุด[5][6][7]

การดาวน์โหลดคริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตจากผู้ให้บริการวอลเลตสู่คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของจะเป็นผู้เดียวที่มีก๊อปปี้ของกุญแจส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่นสำหรับตลาด Coinbase สามารถมีทั้งวอลเลตบนโทรศัพท์และวอลเลตเว็บซึ่งเก็บกุญแจไว้เหมือน ๆ กัน อนึ่ง ซอฟต์แวร์อาจจะมีจุดอ่อนที่รู้หรือยังไม่รู้ เพื่อรับคริปโทเคอร์เรนซี การเข้าถึงวอลเลตเพื่อรับเงินไม่จำเป็น เพราะคนโอนเงินให้เพียงแต่ต้องรู้เลขที่อยู่ปลายทาง และใครก็ได้สามารถส่งเงินไปยังที่อยู่หนึ่ง ๆ แต่บุคคลที่มีกุญแจส่วนตัวซึ่งจับคู่กับที่อยู่นั้นเท่านั้น สามารถใช้เงินนั้นได้[8]

การเก็บสำรอง

[แก้]

การเก็บสำรองวอลเลตอาจเป็นไปได้ในหลายรูปแบบรวมทั้ง

  • ไฟล์คอมพิวเตอร์ที่เข้ารหัสลับ เช่น wallet.dat หรือ wallet.bin ซึ่งมีกุญแจส่วนตัวทั้งหมด
  • ประโยคช่วยจำ (mnemonic) ที่สามารถสร้างกุญแจราก และสามารถสร้างกุญแจส่วนตัวจากกุญแจรากนั้นได้ คำเหล่านี้ควรจะจำได้หรือเขียนแล้วเก็บไว้ในสถานที่จริง ๆ ที่อื่น
  • เก็บเป็นกุญแจส่วนตัวเช่น KxSRZnttMtVhe17SX5FhPqWpKAEgMT9T3R6Eferj3sx5frM6obqA (ดูรูป)

เมื่อกุญแจส่วนตัวและการเก็บสำรองหายไป คริปโทเคอร์เรนซีที่สัมพันธ์กันนั้นก็จะหายไปจากระบบเงินอย่างถาวร ถ้าใช้วอลเลตเว็บ (webwallet) กุญแจส่วนตัวก็จะจัดการโดยผู้ให้บริการ สำหรับเจ้าของคริปโทเคอร์เรนซี การเลือกคนที่เชื่อใจให้จัดการกุญแจส่วนตัวควรทำอย่างระมัดระวัง ก๊อปปี้ของวอลเลตซึ่งเข้ารหัสลับ ควรเก็บไว้ในสถานที่ที่ไว้ใจได้ โดยควรเลือกเก็บออฟไลน์[8] มีคนที่บันทึกประโยคช่วยจำหรือแม้แต่กุญแจส่วนตัวบนโลหะ เพราะแข็งแรงและทนทาน[9]

ลักษณะต่าง ๆ

[แก้]

สนับสนุนเงินหลายสกุล

[แก้]

วอลเลตบางอย่างสามารถใช้กับคริปโทเคอร์เรนซีหลายสกุล

ซอฟต์แวร์

[แก้]

วอลเลตที่เป็นซอฟต์แวร์มาในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง

  • โปรแกรมที่ติดตั้งเฉพาะที่บนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือแท็บเล็ต (ดูรูป)
  • เมื่อใช้วอลเลตเว็บ กุญแจส่วนตัวจะจัดการโดยบุคคลที่สามที่เชื่อใจ ผู้บริการวอลเลตเว็บบางบริษัทใช้การพิสูจน์ตัวจริงด้วยหลายปัจจัย (เช่น Google Authenticator) เพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น[10]
  • ตลาดแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีจะเชื่อมวอลเลตของผู้ใช้ กับวอลเลตกลางที่ตลาดเป็นผู้บริหาร ยกตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ตลาด Kraken ถ่ายโอนบิตคอยน์ระหว่างกันและกันเอง การแลกเปลี่ยนนี้จะบันทึกไว้ในบัญชีแยกประเภทส่วนตัวของตน ๆ (off-chain transaction) ต่อเมื่อผู้ใช้ต้องการโอนคริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาในตลาด หรือต้องการนำเงินออกจากตลาด ธุรกรรมจึงจะบันทึกในบล็อกเชนสาธารณะของบิตคอยน์ (on-chain transaction)

เพื่อเริ่มหรือพิสูจน์ยืนยันธุรกรรม คริปโทเคอร์เรนซีวอลเลตจึงจะเชื่อมกับลูกข่ายหรือสถานีในเครือข่ายเพื่อดำเนินการตามคำสั่ง มีลูกข่ายหลายประเภทรวมทั้งลูกข่ายสมบูรณ์, ลูกข่ายหัวเรื่องเท่านั้น, thin client, และ mining client (ลูกข่ายขุดหาเหรียญ) บางอย่างสามารถดำเนินการธุรกรรม และบางอย่างก็มีระบบวอลเลตของตนเอง ๆ[11] ลูกข่ายสมบูรณ์จะยืนยันพิสูจน์ธุรกรรมจากก๊อปปี้บล็อกเชนที่มีส่วนตัว[11] ส่วนลูกข่ายที่ไม่มีก๊อปปี้จะต้องสอบถามจากลูกข่ายสมบูรณ์[12]

ฮาร์ดแวร์

[แก้]
ภาพแสดงจอธุรกรรมของบิตคอยน์ซึ่งรวมค่าธรรมเนียมจากตลาดแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี โดยส่งบิตคอยน์ที่ได้เข้าวอลเลตแบบฮาร์ดแวร์
ภาพแสดงวอลเลตฮาร์ดแวร์ยี่ห้อ Trezor ที่มีจอและปุ่มเพื่อให้ยืนยันธุรกรรม

เมื่อผู้ใช้วอลเลตฮาร์ดแวร์ออกคำสั่งผ่านซอฟต์แวร์ให้จ่ายเงิน ซอฟต์แวร์จะสร้างข้อมูลธุรกรรมแล้วขอให้วอลเลตฮาร์ดแวร์ลงนาม ซึ่งผู้ใช้อาจมีโอกาสยืนยันธุรกรรม แล้วซอฟต์แวร์ก็จะส่งธุรกรรมที่ลงนามแล้วให้เครือข่ายของคริปโทเคอร์เรนซีนั้น ๆ ต่อไป ด้วยวิธีนี้ กุญแจส่วนตัวไม่จำเป็นต้องนำออกเพื่อใช้นอกวอลเลตฮาร์ดแวร์[13]

ถ้าวอลเลตฮาร์ดแวร์ใช้ประโยคช่วยจำสำหรับการสำรองกุญแจ ผู้ใช้ก็ไม่ควรเก็บประโยคไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ควรเขียนไว้แล้วเก็บไว้ต่างหาก ๆ เพราะการเก็บข้อมูลสำรองอิเล็กทรอนิกส์ จะลดระดับความปลอดภัยจนเหลือเท่ากับระดับวอลเลตแบบซอฟต์แวร์ วอลเลตฮาร์ดแวร์เช่น LedgerWallet และ Trezor มีรุ่นที่ผู้ใช้ต้องกดปุ่มหรือแตะวอลเลตเพื่อลงนามให้แก่ธุรกรรม ให้เลขที่อยู่เพื่อโอนเงิน และจำนวนเหรียญ กุญแจส่วนตัวจะคงอยู่อย่างปลอดภัยในวอลเลตฮาร์ดแวร์ และถ้าไม่มีกุญแจส่วนตัว ธุรกรรมที่ได้ลงนามแล้วก็จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ วอลเลตฮาร์ดแวร์บางอย่างมีจอ (ดูรูป) ที่ผู้ใช้สามารถใส่รหัสเพื่อเปิดวอลเลต และเพื่อให้ตรวจสอบธุรกรรมก่อนจะลงนาม[14][15][16]

ใช้ดูอย่างเดียว

[แก้]

วอลเลตใช้ดูอย่างเดียวจะใช้ติดตามธุรกรรมทั้งหมดของเจ้าของ จึงจำเป็นต้องมีกุญแจสาธารณะเท่านั้น ดังนั้น กุญแจส่วนตัวต้องเก็บรักษาไว้ที่อื่น[11]

หลายลายเซ็น

[แก้]

ด้วยวอลเลตแบบหลายลายเซ็น (multisig/multisignature wallet) ผู้ใช้หลายคนจะต้องลงนามเพื่อจะทำธุรกรรมโอนเงินจากวอลเลตนั้น[17][18][19]

วอลเลตสมอง (brain wallet)

[แก้]

ด้วยวอลเลตสมอง ผู้ใช้จะต้องจำข้อมูลเพื่อสร้างกุญแจส่วนตัวและกุญแจสาธารณะเป็นคู่ ๆ เช่น ประโยคช่วยจำ[20][21]

วอลเลตร้อนเทียบกับวอลเลตเย็น

[แก้]

วอลเลตร้อน (hot wallet) ก็คือวอลเลตที่เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเทียบกับวอลเลตเย็นที่ไม่ได้เชื่อม คริปโทเคอร์เรนซีที่สัมพันธ์กับวอลเลตร้อนสามารถใช้ได้ทุกเวลา ส่วนวอลเลตเย็นต้องเชื่อมกับเน็ตก่อนจะใช้ แต่ตราบที่ยังเชื่อมกับเน็ตอยู่ ก็จะเสี่ยงต่อการทำการไม่ชอบ กล่าวง่าย ๆ ก็คือ วอลเลตซอฟต์แวร์ (เช่นในอุปกรณ์ที่เปิดอยู่ และวอลเลตซอฟต์แวร์ที่กำลังทำงาน) ก็จะจัดเป็นวอลเลตร้อน ส่วนวอลเลตฮาร์ดแวร์ที่ไม่ได้เชื่อมกับเน็ตก็จะจัดว่าวอลเลตเย็น[22]

การเก็บแบบเย็นลึก

[แก้]

การเก็บแบบทั้งเย็นทั้งลึก (Deep cold storage) เป็นกระบวนการเก็บคริปโทเคอร์เรนซีในวอลเลตเย็นที่จะไม่มีวันเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อนึ่ง กุญแจส่วนตัวของระบบนี้จะสร้างขึ้นออฟไลน์ กระบวนการนี้เริ่มได้รับความสนใจเมื่อบริษัท Regal RA DMCC ในดูไบ[23] ซึ่งเป็นบริษัทคริปโทเคอร์เรนซีที่มีใบอนุญาตบริษัทแรกในตะวันออกกลาง ได้ทำการยิ่ง ๆ ขึ้น โดยเก็บวอลเลตเย็นไว้ในตู้นิรภัยของตึก Almas Tower ที่อยู่ลึกกว่าระดับน้ำทะเล พร้อมกับทองแท่งของบริษัท และให้ประกันสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีเต็มมูลค่า

การแปลงกุญแจ

[แก้]

แบบกำหนดกุญแจได้ (deterministic wallet)

[แก้]

ด้วยวอลเลตแบบกำหนดกุญแจได้ กุญแจตัวเดียวสามารถใช้สร้างคู่กุญแจทั้งหมด (ที่จัดระเบียบเหมือนกันเป็นต้นไม้) คือ กุญแจหลักตัวเดียวนี้ทำหน้าที่เหมือนกับรากต้นไม้ ส่วนประโยคหรือคำช่วยจำที่สร้างขึ้น จะเป็นเพียงวิธีกำหนดกุญแจหลักที่มนุษย์สามารถอ่านได้ เพราะประโยคสามารถเปลี่ยนตามขั้นตอนวิธีให้เป็นกุญแจหลักส่วนตัว คือคำเหล่านั้นตามลำดับ จะเปลี่ยนเป็นกุญแจหลักอันเดียวกันเสมอ วลีหนึ่งอาจจะมีคำ 24 คำ เช่น begin friend black earth beauty praise pride refuse horror believe relief gospel end destroy champion build better awesome

กุญแจหลักอันเดียวกันนั้น ไม่ได้ใช้เป็นกุญแจส่วนตัวสำหรับกุญแจทุกคู่ แต่ใช้สำหรับสร้างคู่กุญแจเหล่านั้น ดังนั้น ที่อยู่ทุกตัวเลข ก็จะยังมีกุญแจส่วนตัวเป็นของตนเอง แต่กุญแจทั้งหมดสามารถสร้างกลับคืนได้โดยอาศัยกุญแจหลักตัวเดียว รวมทั้งกุญแจส่วนตัวสำหรับที่อยู่ (คือกุญแจสาธารณะ) ทั้งหมดที่เคยให้คนอื่น ส่วนกุญแจหลักเอง ก็สามารถคำนวณขึ้นมาใหม่ได้อาศัยประโยค/คำที่ช่วยจำ ดังนั้น คำช่วยจำจึงสามารถใช้เก็บสำรองวอลเลตนั้น ๆ ถ้าใช้เทคนิคสร้างกุญแจเหมือนกัน ๆ ก็จะสามารถสร้างวอลเลตสำรองไม่ว่าจะด้วยวอลเลตแบบซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์[24]

ประโยคช่วยจำเองพิจารณาว่าปลอดภัย มันจะสร้างเลขเริ่มต้นที่มีขนาด 512 บิตไม่ว่าจะจากประโยคไร ๆ ดังนั้น จำนวนวอลเลตที่เป็นไปได้ทั้งหมดก็คือ 2512 ใบ วลีรหัสลับทุกอย่างจะสามารถสร้างเป็นวอลเลตได้ทั้งหมด วอลเลตที่ยังไม่ได้ใช้ก็จะไม่มีกุญแจไร ๆ เลย[24]

แบบกำหนดกุญแจไม่ได้ (non-deterministic wallet)

[แก้]

สำหรับวอลเลตแบบกำหนดกุญแจไม่ได้ กุญแจแต่ละคู่จะสร้างขึ้นแบบสุ่ม โดยไม่ได้ใช้เลขเริ่มต้นร่วมกัน ดังนั้น การเก็บสำรองวอลเลตก็จะต้องเก็บสำรองคู่กุญแจทุก ๆ คู่[24]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Antonopoulos 2017, Ch 5 Wallets, Wallet Technology Overview, p. 93
  2. Antonopoulos 2017, pp. 93
  3. Juchisth, Smith. "Wat is cryptocurrency? Een introductie in de blockchain". Cryptostart (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  4. McGoogan, Sara; Field, Matthew. "What is cryptocurrency, how does it work and what are the uses?". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2017-09-14.
  5. "Trading Site Failure Stirs Ire and Hope for Bitcoin". The New York Times. 2014-02-25.
  6. "Mt. Gox Seeks Bankruptcy After $480 Million Bitcoin Loss". Bloomberg News. 2014-02-28.
  7. Karpeles, Mark (2014-03-20). "当社保有ビットコインの残高に関するお知らせ / Announcement regarding the balance of Bitcoin held by the company" (PDF). MtGox. สืบค้นเมื่อ 2014-03-22. MtGox Co., Ltd. had certain oldformat wallets which were used in the past and which, MtGox thought, no longer held any bitcoins. Following the application for commencement of a civil rehabilitation proceeding, these wallets were rescanned and their balance researched. On March 7, 2014, MtGox Co., Ltd. confirmed that an oldformat wallet which was used prior to June 2011 held a balance of approximately 200,000 BTC (199,999.99 BTC).{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "How to store your bitcoins - bitcoin wallets - CoinDesk". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-21. สืบค้นเมื่อ 2018-04-27.
  9. "Cryo Card Review: Nearly Indestructible Bitcoin Cold Storage - CoinAlert". coinalert.eu.
  10. "How Bitcoin Companies Keep Your Funds Safe". CoinDesk. 2014-11-25.
  11. 11.0 11.1 11.2 Skudnov, Rostislav. "Bitcoin Clients" (PDF). theseus.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-18. สืบค้นเมื่อ 2018-02-23.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  12. "Lightweight clients on iacr.org" (PDF).
  13. Gkaniatsou, Andriana; Arapinis, Myrto; Kiayias, Aggelos (2017). "Low-Level Attacks in Bitcoin Wallets". Information Security: 20th International Conference, ISC 2017, Ho Chi Minh City, Vietnam, November 22-24, 2017, Proceedings. Springer. p. 234. ISBN 9783319696591. สืบค้นเมื่อ 2018-02-09.
  14. Burton, Charlie. "So, you've bought Bitcoin. Now what?".
  15. "The 3 Best Hardware Wallets For Bitcoin of 2018 ( ++ Altcoins)". 2017-11-15.
  16. Torpey, Kyle. "Bitcoin Hardware Wallet Review: Ledger May Have Caught Up to Trezor With Nano S". www.nasdaq.com. Nasdaq. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  17. "The best multisignature wallets for 2016 » Brave New Coin". 2016-01-13.
  18. "Zendesk". support.ledgerwallet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-14. สืบค้นเมื่อ 2018-04-27.
  19. "Bitcoin, Litecoin, & Ethereum Vault".
  20. "How to create a brain wallet - CoinDesk". 2013-06-10.
  21. Matonis, Jon. "Brainwallet: The Ultimate in Mobile Money".
  22. "Bitcoin Glossary".
  23. "World's First Deep Cold Storage for Crypto-Commodities Launched by Regal Assets in Dubai | News - DMCC". DMCC (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-02.
  24. 24.0 24.1 24.2 Antonopoulos 2017, Ch 5 Wallets, pp. 93-115