การปฏิวัติดอกกุหลาบ
การปฏิวัติดอกกุหลาบ | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติสี | |||
ผู้ประท้วงค้างคืนหน้าอาคารรัฐสภาจอร์เจียในกรุงทบิลีซี | |||
วันที่ | 3-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | ||
สถานที่ | ประเทศจอร์เจีย | ||
สาเหตุ | การบริหารจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาด การโกงเลือกตั้ง การทุจริตทางการเมือง ความยากจน รัฐล้มเหลว | ||
เป้าหมาย | การเลือกตั้งใหม่ ให้ประธานาธิบดีเอดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ ลาออก การปฏิรูปการต่อต้านการทุจริต การรวมอับคาเซียและเซาท์ออสซีเชียอีกครั้ง บูรณาการยุโรป | ||
วิธีการ | การเดินขบวน | ||
ผล | ประธานาธิบดีเชวาร์ดนัดเซลาออก เรียกประชุมรัฐสภาและการเลือกตั้งประธานาธิบดี สหขบวนการแห่งชาติขึ้นสู่อำนาจ มีเคอิล ซาคัชวีลี สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี | ||
คู่ขัดแย้ง | |||
ผู้นำ | |||
การปฏิวัติดอกกุหลาบ (จอร์เจีย: ვარდების რევოლუცია) เป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจโดยไม่ใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศจอร์เจียเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการประท้วงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการเลือกตั้งรัฐสภาที่เป็นข้อขัดแย้ง และจบลงที่การลาออกของเอดูอาร์ด เชวาร์ดนัดเซ ประธานาธิบดี ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองของผู้นำจากสมัยโซเวียตในประเทศ ชื่อของการปฏิวัติได้มาจากช่วงเวลาสำคัญ เมื่อผู้ประท้วงที่นำโดยมีเคอิล ซาคัชวีลี บุกอาคารรัฐสภาพร้อมกับดอกกุหลาบแดงในมือ[1]
การปฏิวัตินำโดยอดีตพันธมิตรทางการเมืองของเชวาร์ดนัดเซ ได้แก่มีเคอิล ซาคัชวีลี นีนอ บูร์จานาดเซ และ Zurab Zhvania ประกอบด้วยการประท้วงเป็นเวลา 20 วันตั้งแต่วันที่ 3 ถึง 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 การปฏิวัติได้ก่อให้เกิดการเลือกตั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาครั้งใหม่ในจอร์เจีย ซึ่งทำให้แนวร่วมขบวนการแห่งชาติ–เดโมแครตขึ้นสู่อำนาจ[2] การเสียชีวิตของ Zhvania ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและการถอนตัวของบูร์จานาดเซไปสู่ฝ่ายค้านในที่สุด ทำให้สหขบวนการแห่งชาติเป็นพรรครัฐบาลเดียว การเปลี่ยนแปลงอำนาจต่อตาในจอร์เจียเกิดจากการเลือกตั้งรัฐสภาจอร์เจียใน พ.ศ. 2555
การปฏิวัติดอกกุหลาบถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างแรกของการปฏิวัติสี โดดเด่นด้วยบทบาทที่เข้มแข็งขององค์กรพัฒนาเอกชนและการเคลื่อนไหวของนักศึกษา บทบาทของสหรัฐ เช่นเดียวกับในการปฏิวัติสีในที่อื่น ๆ ถือเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lynch, Dov (2006). The Rose Revolution and after (Report). European Union Institute for Security Studies (EUISS). pp. 23–34.
- ↑ https://www.usip.org/sites/default/files/sr167.pdf [bare URL PDF]
หนังสือเพิ่มเติม
[แก้]- Michael Barker, "Regulating revolutions in Eastern Europe: Polyarchy and the National Endowment for Democracy", 1 November 2006
- Dan Jakopovich, The 2003 "Rose Revolution" in Georgia: A Case Study in High Politics and Rank-and-File Execution, Debatte: Journal of Contemporary Central and Eastern Europe, August, 2007.
- Tinatin Khidasheli, "The Rose Revolution has wilted", International Herald Tribune, Paris, 8 December 2004
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Georgia's Rose Revolution: A Participant's Perspective" U.S. Institute of Peace Report, July 2006
- HumanRights.ge – daily updated online magazine and web portal on human rights in Georgia