ข้ามไปเนื้อหา

การบุกครองพม่าของญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกครองพม่าของญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ การทัพพม่าในสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาพแหล่งน้ำมันเยนานช่องเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2485 หลังจากการถูกทำลายก่อนการรุกคืบของญี่ปุ่น
วันที่14 ธันวาคม ค.ศ. 1941 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1942
(5 เดือน 1 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
พม่า
ผล

ชัยชนะของญี่ปุ่น

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ญี่ปุ่นยึดครองพม่า
ไทยยึดครองรัฐฉาน
คู่สงคราม

 สหราชอาณาจักร

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) จีน

สหรัฐ สหรัฐ

 ญี่ปุ่น

 ไทย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) 95,000 คน[1]
จักรวรรดิบริติช ~45,000 คน[2]
จักรวรรดิญี่ปุ่น 85,000 คน[2]
ประเทศพม่า ~23,000 คน[3][4]
ไทย 35,000 คน[5]
ความสูญเสีย
  • สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)
    40,000 เสียชีวิตและบาดเจ็บ[6][1][7]
    95 เครื่องบิน (เอวีจี)[8]
  • จักรวรรดิบริติช
    30,000 เสียชีวิตและบาดเจ็บ
    • 1,499 เสียชีวิต[9]
    • 11,964 บาดเจ็บ[9][10][11]
    116 เครื่องบิน (อาร์เอเอฟ)[6]
    ~100 รถถัง[12]
  • จักรวรรดิญี่ปุ่น
    4,597 เสียชีวิตและบาดเจ็บ[6]
    117 เครื่องบิน[13]
พลเรือนประมาณ 10,000–50,000 คนเสียชีวิต

การบุกครองพม่าของญี่ปุ่น เป็นช่วงเริ่มต้นของการทัพพม่าที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตสงครามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเกิดขึ้นนานกว่าสี่ปีระหว่างปี ค.ศ. 1942 ถึง 1945 ในช่วงปีแรกของการทัพ กองทัพญี่ปุ่น (รวมถึงกองทัพพายัพของไทย) ได้ขับไล่จักรวรรดิบริติช และกองกำลังจีนออกจากพม่า ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของญี่ปุ่นยึดครองพม่า

ไทยยึดครองรัฐฉาน

[แก้]

วันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 ญี่ปุ่นขอให้รัฐบาลไทยสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารขึ้นไปยึดดินแดนส่วนนี้จากทหารจีนก๊กมินตั๋ง ของจอมพลเจียง ไคเชกและกองทัพสหราชอาณาจักร

ต่อมาวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1943 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้เปลี่ยนชื่อ "แคว้นสหรัฐไทยใหญ่" เป็น "สหรัฐไทยเดิม" อย่างเป็นทางการ[14] และวันที่ 18 พฤษภาคมจึงได้ประกาศยกเลิกกำหนดในทางอรรถคดีที่กองทัพทำสงครามทั่วราชอาณาจักรยกเว้นจังหวัดเชียงรายและสหรัฐไทยเดิม[15] วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 พลเอกฮิเดกิ โทโจ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้มาพบจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อมอบพื้นที่จำนวน 12 เมือง ไทยจึงผนวกดินแดนแคว้นสหรัฐไทยใหญ่และรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย[16][17][18] ทั้งนี้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอ 12 อำเภอ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1943 มีการสถาปนาเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง และจัดการปกครองสหรัฐไทยเดิมเสมือนจังหวัดหนึ่ง[19]

ไทยได้มีการทำสนธิสัญญากับญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1943 หลังการประกาศมอบดินแดนทั้งหมดให้แก่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1943 ราชกิจจานุเบกษาระบุว่า "ฉะนั้น กลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส และบันดาเกาะที่ขึ้นหยู่ กับทั้งเชียงตุงและเมืองพาน จึงเปนอันรวมเข้าไนราชอานาจักรไทยตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พุทธสักราช 2486 เปนต้นไป"[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Bradford, James. International Encyclopedia of Military History. Routledge, 19 Sep 2006, pg. 221
  2. 2.0 2.1 Facts on File: World War II in the China-Burma-India theater Retrieved 20 March 2016
  3. Bayly and Harper, pp.170
  4. Donald M. Seekins, Historical Dictionary of Burma (Myanmar) (Scarecrow Press, 2006), 123–26 and 354.
  5. Reynolds, Bruce E. (1994). Thailand and Japan's Southern Advance, 1940-1945. Palgrave Macmillan US. p. 116. ISBN 978-0-312-10402-3.
  6. 6.0 6.1 6.2 Japanese conquest of Burma, December 1941 – May 1942 Retrieved 20 March 2016
  7. McLynn, The Burma Campaign: Disaster into Triumph, 1942–1945, pg. 67.
  8. Air Force Sixtieth Anniversary Commemorative Edition: The Flying Tigers pp. 33 Retrieved 20 March 2016
  9. 9.0 9.1 Allen (1984), p.638
  10. Beevor, Antony (2012). "16". The Second World War. Weidenfeld & Nicolson. p. 309. ISBN 978-0-316-08407-9.
  11. Tucker, Spencer C. (2003). The Second World War. Macmillan International Higher Education. p. 122. ISBN 978-0-230-62966-0.[ลิงก์เสีย] (includes 15,000 missing)
  12. Zaloga, Steven. "M3 and M5 Stuart Light Tank 1940–45". Osprey Publishing, 18 Nov 1999. p. 14. According to Zaloga, all but one tank of the two regiments of the 7th Armoured Brigade had been lost.
  13. Black, Jeremy. Air Power: A Global History pp. 108
  14. ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่องเปลี่ยนชื่อดินแดนที่กองทัพไทยตีได้ ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 60 ตอนที่ 7 หน้า 544 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2486
  15. "ประกาสกองบันชาการทหานสูงสุด เรื่องกำหนดไนทางอัถคดีไห้จังหวัดเชียงรายและดินแดนที่ยึดได้ไนสหรัฐไทยเดิม เป็นเขตซึ่งกองทัพได้กะทำสงครามต่อไป ส่วนดินแดนไนราชอาณาจักรนอกนั้น ไห้พ้นเปนเขตซึ่งกองทัพได้กะทำสงคราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (27ง): 1751. 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2486. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2023-05-09. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  16. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 574
  17. สหรัฐไทยใหญ่และรัฐเมืองพาน (เมืองปั่น) เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย[ลิงก์เสีย]
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.
  19. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 575
  20. "ประกาส รวมกลันตัน ตรังกานู ไซบุรี ปะลิส เชียงตุง และเมืองพาน เข้าไนราชอาณาจักรไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (55ก): 1532–1533. 18 ตุลาคม พ.ศ. 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]