ข้ามไปเนื้อหา

กามเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กามเทพ
เทวนาครี: कामदेव
พระกามเทพในคติอินเดีย
ตำแหน่งเทพแห่งความรัก ความปรารถนา เสน่ห์
จำพวกเทพ
วิมานกามโลก, ไวกูณฐ์
อาวุธธนูอ้อย และลูกศรดอกไม้
สัตว์พาหนะนกแก้ว
บิดาพระวิษณุหรือ
พระพรหม[a]
มารดาพระแม่ลักษมี
คู่ครองพระรตีเทวี
พระปิตีเทวี[b]

กามเทพ (สันสกฤต: काम देव) เป็นเทพเจ้าในความเชื่อของศาสนาฮินดู ถือเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก (กาม หมายถึง ความรัก ความปรารถนา) มีขอช้างเป็นอาวุธ ในวรรณคดีไทยเรียกว่า ขอกาม มีพรรณนาไว้ในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา

กามเทพของอินเดีย มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ อนังคะ (ไร้ตัวตน), กันทรรป, มันมถะ (ผู้กวนหัวใจ), มทนะ (มึนเมา), รติกานตะ (เจ้าแห่งฤดูกาล), ปุษปวาน หรือ กาม ก็มี

กามเทพนั้น มักจะบรรยายภาพเป็นชายหนุ่มรูปงาม มีปีก มีอาวุธเป็นคันศรและธนู คันศรนั้นทำมาจากลำอ้อย มีผึ้งตอม และลูกศรประดับด้วยดอกไม้หอม ๕ ชนิด มีสหายเป็นนกดุเหว่า นกแก้ว ผึ้ง ฤดูใบไม้ผลิ และสายลมเอื่อย ทั้งหมดล้วนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ

ตามศิวปุราณะ กล่าวว่า กามเทพเป็นโอรสของพระพรหม ตำนานอื่นๆ เช่น สกันธปุราณะ ถือว่ากามเทพเป็นพี่ชายของประสุติ ทั้งสองเป็นโอรสของศตรุป โอรสของพระพรหม แต่ตำนานทั้งหมดเล่าตรงกัน ว่ากามเทพนั้น สมรสกับนางรตี ธิดาของประสุติและทักษะ บางตำนานเชื่อว่ากามเทพยังเคยเป็นอวตารหนึ่งของปรัทยุมนะ โอรสของพระกฤษณะ และนางรุกมิณี

หมายเหตุ

[แก้]
  1. พระกามเทพได้รับการกล่าวว่าเป็นหนึ่งในบุตรของพระพรหมใน คัมภีร์ปุราณะ[1] ในคัมภีร์หริวังศะ (Harivamsha) พระกามเทพเป็นบุตรของพระธรรมประชาบดีและเจ้าแม่มหาลักษมีพระชายาของพระองค์ [2] โดยทั่วไปมักกล่าวว่าพระกามเทพคือ พระปรัทยุมน์ โอรสของพระกฤษณะ(พระวิษณุ)และ พระแม่รุกขมิณี (เจ้าแม่ลักษมี)[3][4]
  2. พระกามเทพ ทรงมีพระชายาอีกองค์ คือ พระปิตีเทพี[3]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Benton, Catherine (2006), God of desire: tales of Kamadeva in Sanskrit story literature, State University of New York Press, 236, ISBN 0-7914-6565-9
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ VM2
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hop
  3. 3.0 3.1 Chandra, Suresh (November 7, 1998). Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses. Sarup & Sons. ISBN 9788176250399 – โดยทาง Google Books.
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WW