กานามัยซิน เอ
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | การรับประทาน, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ |
รหัส ATC | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | ต่ำมากหากบริหารยาทางปาก |
การเปลี่ยนแปลงยา | ไม่ทราบแน่ชัด |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 2 ชั่วโมง 30 นาที |
การขับออก | ปัสสาวะ (ในรูปที่ไม่เปลี่ยนแปลง) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.000.374 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C18H36N4O11 |
มวลต่อโมล | 484.499 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
กานามัยซิน เอ (อังกฤษ: Kanamycin A) หรือที่นิยมเรียกกันง่าย ๆ คือ กานามัยซิน เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ มีข้องบ่งใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง และวัณโรค[1] แต่ไม่ถูกจัดให้เป็นการรักษาทางเลือกแรก[1] โดยกานามัยซินมีทั้งในรูปแบบยารับประทาน, ยาสำหรับการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ และยาสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ[1] ทั้งนี้ การใช้กานามัยซินในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียใดๆนั้นแนะนำให้ใช้ยานี้ในระยะสั้นเท่านั้น โดยปกติคือ 7–10 วัน[1] อย่างไรก็ตาม กานามัยซินไม่มีผลในต้านไวรัสเช่นเดียวกันกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่น[1]
เนื่องด้วยกานามัยซินเป็นยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์[1] ดังนั้นจึงมีกลไกการออกฤทธิ์ที่คล้ายคลึกันกับยาอื่นในกลุ่ม กล่าวคือ กานามัยซินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเป้าหมายขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน ทำให้เซลล์แบคทีเรียนั้น ๆ ตายในที่สุด[1] อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญจากการได้รับการรักษาด้วยกานามัยซิน คือ การเกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว[1] ในบางรายอาจพบว่ายาทำให้ไตมีการทำงานที่ลดน้อยลงได้[1] ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้ใช้กานามัยซินในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากยานี้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้[1] ส่วนการใช้ในหญิงให้นมบุตรนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เนื่องจากยานี้ถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก[2]
กานามัยซินถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1957 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น – ฮามาโอะ อูเมซาวะ (Hamao Umezawa) โดยสามารถแยกกานามัยซินได้จากเชื้อแบคทีเรีย Streptomyces kanamyceticus[1][3] โดยยานี้ได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง และมีความสำคัญเป็นลำดับแรกของระบบสุขภาพพื้นฐานของประชาชนในประเทศต่าง ๆ[4] ในปี ค.ศ. 2015 ราคาสำหรับการขายส่งของกานามัยซินในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าระหว่าง 0.94 – 1.18 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการบริหารยาหนึ่งครั้ง[5] ปัจจุบัน ยานี้ไม่มีจำหน่ายในตลาดยาของสหรัฐอเมริกาแล้ว[1]
การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
[แก้]ขอบเขตการออกฤทธิ์
[แก้]กานามัยซินมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาระยะสั้นสำหรับโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบทีเรีย E. coli, สกุลโปรเตียส (ทั้งกรณี indole-positive และ indole-negative), Enterobacter aerogenes, Klebsiella pneumoniae, Serratia marcescens, และสกุลอซีเนโตแบคเตอร์ ในกรณีที่เป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรงแต่ไม่ทราบเชื้อสาเหตุที่แน่ชัด ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยกานามัยซินร่วมกับเพนิซิลลินหรือเซฟาโลสปอรินในรูปแบบฉีด อย่างใดอย่างหนึ่ง จนกว่าจะทราบผลการเพาะเลี้ยงเชื้อหรือผลทดสอบความไวของเชื้อสาเหตุต่อยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ ในกรณีโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสนั้น กานามัยซินไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาเช่นเดียวกันกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ[6]
การใช้ในกลุ่มประชากรพิเศษ
[แก้]กานามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวอ่อนในครรภ์ได้ (ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ ระดับ D)[6] ส่วนการใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตรนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เนื่องจากกานามัยซินถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก อย่างไรก็ตามเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับทารก ทางผู้ผลิตได้แนะนำให้หยุดการให้นมระหว่างี่ได้รับกานามัยซิน หรือหลีกเลี่ยงไปใช้ยาอื่น แต่สมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ได้ลงความเห็นโดยอาศัยข้อมูลจากการศึกษาทดลองต่าง ๆ ว่า กานามัยซินนั้นสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงให้นมบุตร[7]
ส่วนในเด็กและทารกนั้น สามารถใช้กานามัยซินในการรักษาโรคติดเชื้อแบคีเรียตามข้อบ่งใช้ที่กำหนดได้ แต่อาจต้องมีการปรับลดขนาดยากานามัยซินลง เนื่องจากไตยังทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าผู้ใหญ่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษและอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้ หากใช้กานามัยซินในปริมาณปกติทั่วไป[6]
อาการไม่พึงประสงค์
[แก้]อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กานามัยซินที่รุนแรงนั้น ได้แก่ การได้ยินเสียงผิดปกติในหู หรือ การสูญเสียการได้ยิน ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะที่ยาเป็นพิษต่อหู, การเกิดพิษต่อไต, และปฏิกิริยาการแพ้ยา[8] ส่วนอาการไม่พึงประสงค์อื่นที่อาจพบเกิดขึ้นได้ ได้แก่ คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องเสีย, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย, ปวดศีรษะ, ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน, การมองเห็นผิดปกติ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, และการดูดซึมอาหารผิดปกติ[6]
เภสัชวิทยา
[แก้]ชีวสังเคราะห์
[แก้]กานามัยซิน เอ เป็นยาปฏิชีวนะที่คัดแยกได้จากแบคทีเรีย Streptomyces kanamyceticus นอกจากนี้การคัดแยกดังกล่าวยังมียาปฏิชีวนะอื่น ๆ เป็นส่วนผสมอีกหลายชนิด ได้แก่ กานามัยซิน บี, กานามัยซิน ซี, กานามัยซิน ดี, และกานามัยซิน เอกซ์ แต่กานามัยซิน เอ นั้นถือเป็นสารหลักที่สกัดได้
ชีวสังเคราะห์ของกานามัยซินนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกนั้นจะคล้ายคลึงกันการสังเคราะห์ยาปฏิชีวนะอื่น ๆ ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ เช่น บูตริโรซิน และนีโอมัยซิน เป็นต้น โดยหลังสิ้นสุดกระบวนการสร้าง aminocyclitol, 2-deoxystreptamine จาก D-glucopyranose 6-phosphate ทั้ง 4 ขั้นตอน กระบวนการสังเคราะห์กานามัยซินจะแบ่งออกเป็น 2 ทาง ทั้งนี้เนื่องมาจากความหลากหลายของเอนไซม์ที่เข้าทำปฏิกิริยาในขั้นตอนนั้น โดยในขั้นตอนนี้จะใช้ตัวให้หมู่ไกลโคซิล 2 ชนิด คือ UDP-N-acetyl-α-D-glucosamine และ UDP-α-D-glucose และได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกานามัยซิน ซี และกานามัยซิน บี ส่วนอีกช่องทางหนึ่งนั้นจะได้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็น กานามัยซิน ดี และกานามัยซิน เอกซ์ อย่างไรก็ตาม ทั้งกานามัยซิน บี และกานามัยซิน ดี สามารถถูกเปลี่ยนให้เป็นกานามัยซิน เอ ได้ ดังนั้น ช่องทางการสังเคราะห์ทั้งสองจึงสามารถสร้างผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นกานามัยซิน เอ ได้ทั้งหมด[9]
กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]กานามัยซินออกฤทธิ์โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30 เอสของไรโบโซมในเซลล์โพรคาริโอต ส่งผลให้เกิดการแปรรหัสพันธุกรรมผิดพลาด ส่งผลให้ลำดับเบสในสายพอลีเพพไทด์เปลี่ยนแปลงไป จนไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนี้กานามัยซินยังยับยั้งการย้ายตำแหน่ง (Translocation) ในกระบวนการการสังเคราะห์โปรตีน[10][11][12]
ส่วนประกอบ
[แก้]กานามัยซินเป็นยาที่ประกอบไปด้วยยาปฏิชีวนะ 3 ชนิด คือ กานามัยซิน เอ, กานามัยซิน บี, และกานามัยซิน ซี โดยกานามัยซิน บีและซี สามารถเปลี่ยนเป็นกานามัยซิน เอ ได้[13] อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดถึงผลของกานามัยซินแต่ละชนิดต่อเซลล์โพรคาริโอตและยูคาริโอต
การใช้ในการทดลอง
[แก้]ในการศึกษาด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล ได้มีนำเอากานามัยซินมาใช้เป็นสารในการแยกแบคทีเรีย (E. coli) ที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้น (เช่น การใช้พลาสมิด) เพื่อให้ดื้อต่อยากานามัยซิน (ส่วนใหญ่เป็นยีนที่สร้างเอนไซม์ Neomycin phosphotransferase II; NPT II/Neo) โดยแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงสายพันธุ์ วึ่งมีพลาสมิดที่มีส่วนยียที่ดื้อต่อกานามัยซินอยู่ภายในเซลล์จะถูกชุบด้วยกานามัยซิน (ความเข้มข้น 50-100 ug/ml) ในจานเพาะเชื้อ หรือปล่อยให้เจริญเติบโตในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีส่วนผสมของกานามัยซิน (ความเข้มข้น 50-100 ug/ml) ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะมีเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่ได้รับการตกแต่งสารพันธุกรรมเท่านั้นที่สามารถเจริญเติบโตในสภาวะดังกล่าวได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 "Kanamycin Sulfate". The American Society of Health-System Pharmacists. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2016.
- ↑ "Kanamycin (Kantrex) Use During Pregnancy". www.drugs.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2016.
- ↑ Sneader, Walter (2005). Drug Discovery: A History (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 302. ISBN 978-0-471-89979-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ธันวาคม 2016.
- ↑ "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2016.
- ↑ "Kanamycin Sulfate" (PDF). International Drug Price Indicator Guide. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2022.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Kanamycin (By injection)". PubMed Health. U.S. National Library of Medicine. 1 กันยายน 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
- ↑ Briggs, Gerald (2011). Drugs in Pregnancy and Lactation: A Reference Guide to Fetal and Neonatal Risk. Lippincott Williams & Wilkins. p. 787.
- ↑ "Consumer Drug Information: Kanamycin". Drugs.com. 2 เมษายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008.
- ↑ "kanamycin biosynthesis pathway in MetaCyc". MetaCyc.org. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2014.
- ↑ Pestka, S. (1975). "The Use of Inhibitors in Studies on Protein Synthesis". Methods in Enzymology. 30. pp. 261–282. doi:10.1016/0076-6879(74)30030-4.
- ↑ Misumi, M. & Tanaka, N. (1980). "Mechanism of Inhibition of Translocation by Kanamycin and Viomycin: A Comparative Study with Fusidic Acid". Biochem. Biophys. Res. Commun. 92. pp. 647–654. doi:10.1016/0006-291X(80)90382-4.
- ↑ "Kanamycin". DrugBank. 17 สิงหาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2016.
- ↑ United States. National Institutes of Health. "Kanamycin Compound Summary". PubChem. 21 สิงหาคม 2012.