กองพลยานเกราะ (แวร์มัคท์)
กองพลยานเกราะ (1939) Panzerdivision (1939) | |
---|---|
ธงชัยเฉลิมพลกองพลยานเกราะ | |
ประจำการ | ค.ศ. 1939–1945 |
ประเทศ | ไรช์เยอรมัน |
เหล่า | กองทัพบก |
รูปแบบ | พันเซอร์ |
บทบาท | สงครามยานเกราะ |
กำลังรบ | 11,792 นาย (1939) |
ปฏิบัติการสำคัญ | สงครามโลกครั้งที่สอง |
กองพลยานเกราะ (เยอรมัน: Panzerdivision) หรือย่อว่า พล.ยานเกราะ (PzDiv) เป็นหนึ่งในกองพลของกองทัพบกเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การมีอยู่ของกองพลนี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เยอรมนีได้รับชัยชนะในปฏิบัติการบลิทซ์ครีกในช่วงต้นสงคราม ซึ่งทำให้ต่อมา หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สได้มีการจัดตั้งกองพลยานเกราะเป็นของตนเองเช่นกัน แม้แต่กองทัพอากาศเยอรมันก็ยังมีการตั้งกองพลยานเกราะดิ่งพสุธาชื่อว่า กองพลแฮร์มัน เกอริง
ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง กองพลยานเกราะเยอรมันมีแสนยานุภาพเหนือกว่ากองพลยานเกราะของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเทียบไม่ติด ทั้งนี้เนื่องจากกองพลยานเกราะเยอรมันเป็นหน่วยทหารที่มีกำลังผสมกันระหว่าง รถถัง, ทหารราบยานยนต์, ทหารราบช่างกล, ปืนใหญ่ ตลอดจนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานและยุทโธปกรณ์สนับสนุนอื่นๆ ต่างจากกองพลยานเกราะของฝ่ายสัมพันธมิตรที่มีเพียงรถถังและทหารราบ ฝ่ายสัมพันธมิตรเรียนรู้ที่จะนำแนวคิดนี้มาปรับใช้กับกองพลยานเกราะของตนเอง และเริ่มมีประสิทธิภาพไล่ตามฝ่ายเยอรมันอย่างติดๆ
รายชื่อกองพลยานเกราะ
[แก้]รายชื่อกองพลยานเกราะในสังกัดกองทัพเยอรมัน (แวร์มัคท์) ไม่รวมกองพลยานเกราะในสังกัดวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส
หมายเลข
[แก้]- กองพลยานเกราะที่ 1
- กองพลยานเกราะที่ 2
- กองพลยานเกราะที่ 3
- กองพลยานเกราะที่ 4
- กองพลยานเกราะที่ 5
- กองพลยานเกราะที่ 6 (ก่อนหน้าคือ กองพลเบาที่ 1)
- กองพลยานเกราะที่ 7 (ก่อนหน้าคือ กองพลเบาที่ 2)
- กองพลยานเกราะที่ 8 (ก่อนหน้าคือ กองพลเบาที่ 3)
- กองพลยานเกราะที่ 9 (ก่อนหน้าคือ กองพลเบาที่ 4)
- กองพลยานเกราะที่ 10
- กองพลยานเกราะที่ 11
- กองพลยานเกราะที่ 12 (ก่อนหน้าคือกองพลทหารราบยานยนต์ที่ 2)
- กองพลยานเกราะที่ 13 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 13, กองพลทหารราบยานยนต์ที่ 13; ต่อมาคือ กองพลยานเกราะเฟ็ลด์แฮร์เรินฮัลเลอ 2)
- กองพลยานเกราะที่ 14 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 4)
- กองพลยานเกราะที่ 15 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 33; ต่อมาคือ กองพลทหารราบยานเกราะที่ 15)
- กองพลยานเกราะที่ 16 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 16)
- กองพลยานเกราะที่ 17 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 27)
- กองพลยานเกราะที่ 18 (ต่อมาคือ กองพลทหารปืนใหญ่ที่ 18)
- กองพลยานเกราะที่ 19 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 19)
- กองพลยานเกราะที่ 20
- กองพลยานเกราะที่ 21 (ก่อนหน้าคือ กองพลเบาที่ 5)
- กองพลยานเกราะที่ 22
- กองพลยานเกราะที่ 23
- กองพลยานเกราะที่ 24 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารม้าที่ 1)
- กองพลยานเกราะที่ 25
- กองพลทหารราบยานเกราะที่ 26 (อดีตกองพลทหารราบที่ 23)
- กองพลยานเกราะที่ 27
- กองพลยานเกราะที่ 116 วินท์ฮุนท์ (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 16, กองพลทหารราบยานยนต์ที่ 16 และกองพลทหารราบที่ยานเกราะที่ 16)
- กองพลยานเกราะสำรองที่ 155 (ก่อนหน้าคือ กองพลยานเกราะที่ 155, กองพลยานยนต์ 155 และกองพลยานเกราะที่ 155)
- กองพลยานเกราะที่ 178
- กองพลยานเกราะสำรองที่ 179 (ก่อนหน้าคือ กองพลยานเกราะที่ 179, กองพลยานยนต์ 179 และกองพลยานเกราะที่ 179)
- กองพลยานเกราะที่ 232 (ก่อนหน้าคือ กองพลทาทรา, กองพลฝึกยานเกราะทาทรา)
- กองพลยานเกราะสำรองที่ 233 (ก่อนหน้าคือ กองพลยานยนต์ 233, กองพลทหารราบที่ยานเกราะ 233, และกองพลยานเกราะที่ 233; ต่อมาคือกองพลยานเกราะที่ เคลาเซอวิทซ์)
- กองพลยานเกราะสำรองที่ 273
ชื่อ
[แก้]- กองพลยานเกราะเคลาเซอวิทซ์ (ก่อนหน้าคือ กองพลยานยนต์ 233, กองพลทหารราบที่ยานเกราะ 233 และ กองพลยานเกราะที่ 233, กองพลยานเกราะที่สำรอง 233)
- กองพลยานเกราะเฟ็ลด์แฮร์เรินฮัลเลอ 1 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 60, กองพลทหารราบยานยนต์ 60 และกองพลทหารราบที่ยานเกราะ 60 เฟ็ลด์แฮร์เรินฮัลเลอ)
- กองพลยานเกราะเฟ็ลด์แฮร์เรินฮัลเลอ 2 (ก่อนหน้าคือ กองพลทหารราบที่ 13, กองพลทหารราบยานยนต์ 13 และกองพลยานเกราะที่ 13)
- กองพลยานเกราะดิ่งพสุธาแฮร์มัน เกอริง
- กองพลยานเกราะยือเทอร์บ็อค
- กองพลยานเกราะเค็มพฟ์
- กองพลยานเกราะคัวร์มาร์ค
- กองพลฝึกซ้อมยานเกราะ
- กองพลยานเกราะมึนเชอแบร์ค
- กองพลยานเกราะทาทรา (ต่อมาคือ กองพลฝึกซ้อมยานเกราะ ทาทรา, กองพลยานเกราะที่ 232)
เชิงอรรถ
[แก้]- Georg Tessin, Verbände und Truppen der deutschen Wehrmacht und Waffen-SS 1939–1945, Band 1 Die Waffengattungen-Gesammtübersicht, Osnabrück: Biblio Verlag, 1979. ISBN 3-76481-170-6
- Davies, W. J. K. (1977) [1973]. German Army Handbook 1939–1945 (Second U.S. ed.). New York: Arco Publishing. ISBN 0-668-04291-5.
- Guderian, Heinz (2001) [1952]. Panzer Leader (Da Capo Press Reissue ed.). New York: Da Capo Press. ISBN 0-306-81101-4.
- von Mellenthin, Major General F. W. (1956). Panzer Battles: A Study of the Employment of Armor in the Second World War (First Ballantine Books ed.). New York: Ballantine Books. ISBN 0-345-24440-0.
- Mitcham, Samuel (2001). The Panzer Legions: A Guide to the German Army Tank Divisions of World War II and Their Commanders. Westport: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-31640-1.
- Parada, George (2004). "Panzer Divisions 1940-1945", achtungpanzer.com
- Jentz, Thomas: Panzertruppen - The Complete Guide to the Creation & Combat Employment of Germanys Tank Force 1933-1942, Schiffer Publishing, Ltd. ISBN 978-0887409158
- Niehorster, Leo: "1st Panzer Division In accordance with the 1939/40 Mobilization Plan", www.niehorster.org