กระสุนยาง
กระสุนยาง เป็นกระสุนที่ใช้ปราบจลาจลชนิดหนึ่ง หรือเรียกรวมกันว่ากระสุนตะบอง (baton round) คำว่า "ยาง" อาจทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะจริง ๆ มีแกนเป็นโลหะหุ้มด้วยยาง หรือผสมระหว่างโลหะกับยางเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีองค์ประกอบส่วนน้อยเป็นยาง มีอานุภาพทำให้ตายน้อยกว่ากระสุนโลหะล้วน แต่ก็ยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรง เช่น ตาบอด ทุพพลภาพถาวร และเสียชีวิตได้[1][2]
กระสุนยางอาจใช้ในระยะใกล้และการควบคุมสัตว์ แต่ส่วนใหญ่ใช้กับการปราบจลาจลและใช้สลายการชุมนุม[3][4][5]
กระทรวงกลาโหมบริติชใช้ปราบผู้ก่อจลาจลในไอร์แลนด์เหนือระหว่างเดอะทรับเบิลส์ (The Troubles)[6] และใช้ครั้งแรกใน ค.ศ. 1970[7] แต่นับแต่นั้น กระสุนยางได้ถูกเปลี่ยนมาใช้วัสดุอื่นแทน เพราะยางมักเด้งอย่างควบคุมไม่ได้[8]
องค์ประกอบและสมบัติกายภาพ
[แก้]การวิเคราะห์องค์ประกอบของกระสุนยางที่ตำรวจชิลีใช้ พบว่าร้อยละ 80 ผลิตขึ้นจากสสารแข็ง ซึ่งได้แก่ ซิลิกาและแบเรียมซัลเฟตเป็นหลัก และยางประกอบเป็นร้อยละ 20 เท่านั้น ความแข็งที่วัดได้เท่ากับ 96.5 ชอร์เอ (พอ ๆ กับล้อสเก็ตบอร์ด)[9] จึงเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ว่า ทำให้เบ้าตาระเบิด (ruptured globe) ได้[9]
การใช้
[แก้]กระสุนยางใช้ในการปราบจลาจลเป็นส่วนใหญ่ บริเตนพัฒนากระสุนยางใน ค.ศ. 1970 สำหรับใช้ในไอร์แลนด์เหนือ มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 60 เมตรต่อวินาที และระยะสูงสุดประมาณ 100 เมตร โดยทั่วไปใช้ยิงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยไม่เจาะจงเป้าหมายเพื่อให้เกิดอาการเจ็บ แต่ไม่ใช่การบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้งานจะใช้ยิงโดยตรงก็ได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ใช้[10][11][12] การใช้ยิงบุคคลในระยะใกล้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและได้รับบาดเจ็บรุนแรงอีกมาก[7] ใน ค.ศ. 1975 จึงมีการเปลี่ยนไปใช้กระสุนพลาสติกแทน
ใน ค.ศ. 2013 เอกสารของกระทรวงกลาโหมบริติชที่หมดชั้นความลับแล้วเปิดเผยว่า กระสุนยางอันตรายมากกว่าที่เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยมีข้อแนะนำทางกฎหมายให้กระทรวงกลาโหมยอมจ่ายเงินชดเชยให้เด็กที่ตาบอดแทนการไปขึ้นศาลซึ่งจะเป็นการเปิดโปงปัญหาเกี่ยวกับตัวกระสุน รวมทั้งการทดสอบกินเวลาสั้นกว่าที่ควร และอาจเป็นอันตรายถึงตายและบาดเจ็บรุนแรงได้[13]
กระสุนยางที่ผลิตในอิสราเอลมีสองประเภทหลัก ประเภทแรกที่เก่ากว่าคือกระสุนยางมาตรฐาน เป็นทรงกลมทำจากเหล็กกล้าแล้วห่อด้วยยางบาง ๆ หนัก 14 กรัม ส่วนประเภทปรับปรุงที่เริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เป็นกระบอกโลหะเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.7 ซม. ห่อด้วยยาง หนัก 15.4 กรัม[14] ซึ่งในบรรดาการบาดเจ็บถึงตายจากกระสุนชนิดนี้ส่วนใหญ่มาจากการถูกยิงที่ศีรษะ[14]
กระสุนยางขนาดเล็กกว่าที่ใช้กับลูกซองปราบจลาจลนั้นมีอยู่หลายประเภท ตัวอย่างเช่น บริษัทหนึ่งใช้ผลิตกระสุนตะกั่วยาง (rubber buckshot round) ประกอบด้วยลูกยางเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.3 มม. จำนวน 15 ลูกต่อหนึ่งปลอก และกระสุนตะบองยาง ซึ่งมีโปรเจกไทล์ 4.75 กรัมลูกโดด[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Millar, R.; Rutherford, W. H.; Johnston, S.; Malhotra, V. J. (1975). "Injuries caused by rubber bullets: A report on 90 patients". British Journal of Surgery. 62 (6): 480–486. doi:10.1002/bjs.1800620613. PMID 1148650. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-06.
- ↑ Haar RJ; Iacopino V; Ranadive N (2017). "Death, injury and disability from kinetic impact projectiles in crowd-control settings: a systematic review". BMJ Open. 7 (12): e018154. doi:10.1136/bmjopen-2017-018154. PMC 5736036. PMID 29255079.
- ↑ Emily Yoffe (October 4, 2000). "What Are Rubber Bullets?". Slate.com.
- ↑ WILLIAM D. CASEY. "Meister Bullets, Inc. Purchases 'X-Ring' Primer powered rubber bullet company". Officer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-29.
- ↑ Anthony G Williams. "Less-lethal Ammunition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ New Scientist – 3 February 1983. p.292
- ↑ 7.0 7.1 A Chronology of the Conflict - August 1970 เก็บถาวร 2011-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Conflict Archive on the Internet (CAIN).
- ↑ Hogg, Ian V. (1985). The Illustrated Encyclopedia of Ammunition. London: The Apple Press. ISBN 1-85076-043-8.
- ↑ 9.0 9.1 "Investigación U. de Chile comprueba que perdigones usados por Carabineros contienen solo 20 por ciento de goma". Universidad de Chile (ภาษาสเปน). November 18, 2019. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ Hogg (1985) p67
- ↑ "Rubber bullets: Army kept real dangers in NI hidden". BBC. 11 June 2013. สืบค้นเมื่อ 12 June 2013.
- ↑ 14.0 14.1 T. Lavy, S. Abu Asleh (2003). "Ocular rubber bullet injuries". Eye. Nature. 17 (7): 821–824. doi:10.1038/sj.eye.6700447. PMID 14528243.
- ↑ "Fiocchi Munizioni 12 gauge riot control ammunition (Italy), RIOT CONTROL EQUIPMENT". Jane's Police and Homeland Security Equipment. Jane's Information Group. 2005.