กฎข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กฎข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์ (อังกฤษ: The zeroth law of thermodynamics) กล่าวถึงสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ โดยสามารถสรุปได้ว่า "ถ้าระบบ A และ B อยู่ในภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ และระบบ B และ C อยู่ในสภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์แล้ว ระบบ A และ C จะอยู่ในภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ด้วยเช่นกัน"
กล่าวโดยสรุปก็คือภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์มี คุณสมบัติถ่ายทอด ได้นั่นเอง. ที่มาของชื่อ กฎข้อศูนย์ นี้มีที่มาจากการที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่ากฎข้อนี้เป็นรากฐานที่สำคัญต่อกฎข้อที่หนึ่ง จึงต้องการจะให้ตัวเลขชื่อกฎอยู่ต่ำกว่ากฎข้อที่หนึ่ง แต่เนื่องจากกฎข้อนี้เพิ่งจะถูกตระหนักถึงความสำคัญเมื่อหลังจากกฎข้อที่หนึ่งและสองมีชื่อเสียงมานานมากแล้ว นักวิทยาศาสตร์จึงตัดสินใจไม่เปลี่ยนลำดับตัวเลข และตั้งให้กฎข้อนี้เป็นกฎข้อที่ศูนย์.
กฎข้อนี้เป้นกฎที่ได้จากการทดลองและเป็นหลักการในการวัดอุณหภูมิของวัตถุต่างๆ ด้วยเครื่องมือวัดอุณหภูมิหรือเทอร์โมมิเตอร์ โดยการแทนวัตถุชิ้นที่สามเป็นเทอร์โมมิเตอร์ โดยเมื่อเทอร์โมมิเตอร์วัดระดับอุณหภูมิของวัตถุสองชิ้นนั้นแล้วพบว่าว่ามีค่าเท่ากัน จากหลักการในข้อที่ศูนย์ของเทอร์โมไดนามิกส์สามารถระบุได้ว่าวัตถุสองชิ้นอยู่ในสมดุลความร้อนต่อกันได้ แม้ว่าวัตุสองชิ้นนั้นจะไมได้สัมผัสกันโดยตรง