ซัมซัม
บ่อซัมซัม | |
---|---|
ชื่อในภาษาท้องถิ่น زَمْزَمُ (อาหรับ) | |
บ่อซัมซัมในนิทรรศการสถาปัตยกรรมมัสยิดอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองของพิพิธภัณฑ์[1] | |
ที่ตั้ง | มัสยิดอัลฮะรอม มักกะฮ์ |
พิกัด | 21°25′19.2″N 39°49′33.6″E / 21.422000°N 39.826000°E |
พื้นที่ | ลึกประมาณ 30 เมตร (98 ฟุต) และ 1.08 ถึง 2.66 เมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว ถึง 8 ฟุต 9 นิ้ว) |
ก่อตั้ง | ตามธรรมเนียม ประมาณ 2400 ปีก่อนคริสตกาล |
ผู้ดูแล | รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย |
บ่อซัมซัม (อาหรับ: بِئْرُ زَمْزَمَ) เป็นชื่อบ่อน้ำที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกะอ์บะฮ์ราว 20 เมตร[2] ตั้งอยู่ ณ ใจกลางมัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ มีมาก่อนท่านนบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อบ่อน้ำมาจากประโยค Zomë Zomë หมายถึง "หยุดไหล" ซึ่งเป็นคำสั่งของฮาญัรในตอนที่เธอพยายามกันน้ำพุ[2][ไม่แน่ใจ ]
ประวัติ
[แก้]เมื่อนางฮาญัร ภรรยาคนที่สองของท่านนบีอิบรอฮีม[3] และมารดาของอิสมาอีล[4] ถูกทอดทิ้งที่กลางทะเลทราย ท่ามกลางที่ราบต่ำแห่งมักกะฮ์ ซึ่งไม่มีต้นไม้และน้ำ นางจึงทิ้งบุตรชาย (ท่านนบีอิสมาอีล) ที่กำลังกระหายน้ำบนพื้นดิน และวิ่งเสาะหาน้ำระหว่างเนินเขาเศาะฟากับมัรวะฮ์ เมื่อท่านนบีอิสมาอีลที่กำลังกระหายน้ำอย่างจัดนั้นก็ร้องไห้ เท้าก็ดันพื้นจนเป็นร่อง สักครู่ก็มีตาน้ำไหลออกมา บางรายงานกล่าวว่า อัลลอฮ์ส่งเทวทูตญิบรีลตีพื้นดินด้วยส้นเท้า (หรือปีก) และน้ำก็พุ่งออกมา[5] เมื่อนางฮาญัรกลับมาดูลูก ก็เห็นว่าบุตรชายตัวน้อย ๆ ของตนกำลังก่อทรายกั้นน้ำไม่ให้ไหลไปทางอื่น ปากก็กล่าวว่า ซัมซัม ซัมซัม แปลว่า ล้อม ๆ ล้อม ๆ ตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวอาหรับทราบข่าวของตาน้ำ ที่กลายเป็นบ่อน้ำที่มีน้ำมหาศาล ก็พาปักหลักที่นั่นจนแผ่นดินแห่งบักกะหฺ (ชื่อเดิมของมักกะหฺ)ได้กลายเป็นเมือง และเป็นศูนย์กลางของอารเบีย
ต่อมาตระกูลญุรฮุมแห่งเผ่าเกาะฮ์ฏอนถูกเผ่าคุซาอะฮ์ขับไล่ออกจากมักกะฮ์ พวกเขาจึงเก็บทรัพย์สิน อีกทั้งยังทำลายบ่อน้ำซัมซัมด้วยการเอาดินถมปิดบ่อ ก่อนที่จะอพยพออกจากเมืองมักกะฮ์ เมื่อบ่อน้ำถูกดินกลบมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ผู้คนก็ไม่รู้สถานที่อันเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำซัมซัมอีกต่อไป ครั้งหนึ่งอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของท่านนบีมุฮัมมัด ฝันเห็นตำแหน่งของบ่อน้ำซัมซัม จึงชวนลูกชายชื่อฮาริษไปขุด ก็พบกับตาน้ำซัมซัม อับดุลมุฏฏอลิบจึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าของบ่อน้ำซัมซัมตั้งแต่นั้นมา
รายงานจากธรรมเนียมอิสลาม อิบรอฮีมสร้างบัยตุลลอฮ์ ("บ้านของอัลลอฮ์") ใหม่อีกครั้ง ซึ่งเคยถูกสร้างโดยอาดัม ใกล้ ๆ บ่อ โดยตัวบ่ออยู่ทางทิศตะวันออกของกะอ์บะฮ์ประมาณ 20 เมตร (66 ฟุต)[2] ส่วนอีกธรรมเนียมหนึ่งกล่าวว่า มีการควักหัวใจจของมุฮัมมัดออกจากร่างกายแล้วล้างมันด้วยน้ำซัมซัม และนำไปใส่ใหม่อีกครั้ง[6]
ข้อมูลทางเทคนิค
[แก้]บ่อซัมซัมถูกขุดด้วยมือ และมีความลึกประมาณ 30 เมตร (100 ฟุต) กับเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.08 ถึง 2.66 เมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว ถึง 8 ฟุต 9 นิ้ว) เดิมมีการนำน้ำเหล่านี้มาผ่านการดึงเชือกและตะกร้า แต่ปัจจุบันตัวบ่ออยู่ที่ชั้นใต้ดินหลังกระจกแก้ว (ไม่อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเข้าไป) และใช้เครื่องสูบน้ำไปทั่วมัสยิดอัลฮะรอมผ่านแหล่งน้ำและตู้จ่ายน้ำใกล้เขตเฏาะวาฟ[2]
น้ำซัมซัมไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่มีรสชาติที่โดดเด่น ด้วยค่า pH ที่ 7.9– 8 และมีแอลคาไลน์นิดหน่อย[7]
ความเข้มข้นของแร่ธาตุ จากรายงานโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด[8] | ||
---|---|---|
แร่ธาตุ | ความหนาแน่น | |
มิลลิกรัม/ลิตร | ออนซ์/ลูกบาศก์นิ้ว | |
โซเดียม | 133 | 7.7×10−5 |
แคลเซียม | 96 | 5.5×10−5 |
แมกนีเซียม | 38.88 | 2.247×10−5 |
โพแทสเซียม | 43.3 | 2.50×10−5 |
ไบคาร์โบเนต | 195.4 | 0.0001129 |
คลอไรด์ | 163.3 | 9.44×10−5 |
ฟลูออไรด์ | 0.72 | 4.2×10−7 |
ไนเตรต | 124.8 | 7.21×10−5 |
ซัลเฟต | 124.0 | 7.17×10−5 |
ของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด | 835 | 0.000483 |
ความปลอดภัย
[แก้]มีการดื่มน้ำจากบ่อซัมซัมทุกวัน ด้วยกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเก็บตัวอย่างสามตัวอย่างจากบ่อน้ำ และตัวอย่างเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบในศูนย์กระจายน้ำซัมซัมสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูดที่เมืองเมกกะ ซึ่งมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกขั้นสูง[9]
ฝ่ายบริหารซาอุได้ปรับปรุงบ่อซัมซัมใหม่ใน ค.ศ. 2018 โดยการทำให้พื้นที่รอบซัมซัมปราศจากเชื้อผ่านการกำจักเศษคอนกรีตและเหล็กใต้เพดานเก่าของมัสยิดใหญ่[10][11][12][13] ในเดือนเราะมะฎอน จะมีการชืมตัวอย่าง 100 อันเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำยังคงมีคุณภาพดี[14]
ความสำคัญของน้ำซัมซัมในอิสลาม
[แก้]น้ำซัมซัมนอกจากจะมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังถือว่าเป็นน้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นมงคล ผู้คนจากทุกสารทิศจะบรรจุน้ำซัมซัมเพื่อพากลับไปยังประเทศของตน เพื่อเป็นของขวัญแก่ญาติพี่น้อง มีรายงานจากนบีมุฮัมมัดว่า น้ำซัมซัมเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Exhibition of the Two Holy Mosques' Architecture". Madain Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2020. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Zamzam Studies and Research Centre". Saudi Geological Survey (ภาษาอาหรับ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2013. สืบค้นเมื่อ June 2, 2014.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Bible. Genesis 16:3 A Hebrew – English Bible, Retrieved July 13, 2011
- ↑ Kazmi, Aftab (May 4, 2011). "UAE residents told to avoid buying Zam Zam water". Gulf News gulfnews.com. Gulf News Broadcasting. สืบค้นเมื่อ May 5, 2011.
- ↑ Mahmoud Isma'il Shil and 'Abdur-Rahman 'Abdul-Wahid. "Historic Places: The Well of Zamzam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2008. สืบค้นเมื่อ August 6, 2008.
- ↑ "Sahih Muslim Book 001, Hadith Number 0314". Hadith Collection.
- ↑ Alfadul, Sulaiman M.; Khan, Mujahid A. (October 12, 2011). "Water quality of bottled water in the kingdom of Saudi Arabia: A comparative study with Riyadh municipal and Zamzam water". Journal of Environmental Science and Health, Part A. Taylor & Francis. 46 (13): 1519–1528. doi:10.1080/10934529.2011.609109. PMID 21992118. S2CID 21396145.
- ↑ Nour Al Zuhair, et al. A comparative study between the chemical composition of potable water and Zamzam water in Saudi Arabia. KSU Faculty Sites, Retrieved August 15, 2010
- ↑ Badea Abu Al-Naja (May 7, 2011). Kingdom rejects BBC claim of Zamzam water contamination. Arab News, retrieved June 2, 2014
- ↑ "Sacred Zamzam well to go under renovation". Dhaka Tribune. 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "Zamzam project to be ready before Ramadan". Saudigazette (ภาษาอังกฤษ). 2018-02-03. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "Zamzam well to be renovated before Ramadan". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "100 samples of Zamzam water tested everyday". Saudigazette (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ "100 samples of Zamzam water tested everyday". Saudi Gazette (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- Hawting, G. R. (1980). "The Disappearance and Rediscovery of Zamzam and the 'Well of the Ka'ba'". Bulletin of the School of Oriental and African Studies, University of London. 43 (1): 44–54. doi:10.1017/s0041977x00110523. JSTOR 616125.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Careem, S. H. A. "The Miracle of Zamzam". Sunday Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2005. สืบค้นเมื่อ June 5, 2005. Provides a brief history of the well and some information on the claimed health benefits of Zamzam water.