Quercus suber
โอ๊กก๊อก | |
---|---|
โอ๊กก๊อกในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | อันดับก่อ Fagales |
วงศ์: | วงศ์ก่อ Fagaceae |
สกุล: | Quercus Quercus |
สกุลย่อย: | Quercus subg. Quercus Quercus subg. Quercus |
ส่วน: | Quercus sect. Cerris Quercus sect. Cerris L. |
สปีชีส์: | Quercus suber |
ชื่อทวินาม | |
Quercus suber L. | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
Quercus suber หรือชื่อสามัญ โอ๊กก๊อก (อังกฤษ: cork oak) เป็นโอ๊กไม่ผลัดใบขนาดกลาง เป็นแหล่งที่มาหลักของไม้ก๊อกที่ใช้ทำที่ปิดขวดไวน์และอื่น ๆ เช่น ใช้ทำเป็นพื้น และใช้ทำเป็นเป็นแกนของลูกคริกเกต มีถิ่นกำเนิดในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้และแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน โอ๊กก๊อกเป็นสปีชีส์โบราณและมีการพบซากฟอสซิลที่สามารถย้อนได้ถึงยุคเทอร์เชียรี[3]
โอ๊กก๊อกเป็นพืชทนแล้งและต้องการคุณภาพดินน้อย ป่าไม้ก๊อกเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด เนื่องจากจุกก๊อกถูกแทนที่ด้วยวัสดุอื่น ๆ เช่นฝาขวดมากขึ้น ป่าเหล่านี้จึงมีความเสี่ยงเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และสัตว์บางชนิด เช่น ลิงซ์สเปน กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[4]
การใช้
[แก้]มีการปลูกต้นโอ๊กก๊อกเพื่อผลิตไม้ก๊อกในหลายประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ศูนย์การผลิตไม้ก๊อกอยู่ทางตอนใต้ของโปรตุเกส (คิดเป็น 50% ของการผลิตทั้งหมด)[5] และทางตอนใต้ของสเปน ซึ่งมีการปลูกต้นไม้ความสูงต่ำที่มียอดขนาดใหญ่และกิ่งก้านที่แข็งแรงในพื้นที่ขนาดกว้าง ซึ่งให้ผลผลิตไม้ก๊อกที่สูงสุด สถานที่สำหรับปลูกต้นโอ๊กก๊อกนี้เรียกว่า มุนตาดุช ในโปรตุเกส และ เดเอซัส ในสเปน[6] ซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งในแง่ของความหลากหลายทางชีวภาพและมรดกทางวัฒนธรรม[7]
ไม้ก๊อกส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการผลิตจุกไวน์ รวมถึงการใช้เป็นฉนวนความร้อนและเสียง, กระดาษก๊อก, ลูกขนไก่แบดมินตัน, ลูกคริกเกต, ที่จับคันเบ็ด, อุปกรณ์พิเศษสำหรับอุตสาหกรรมอวกาศ[6] และสำหรับการใช้งานทางเทคนิคอื่น ๆ (ซึ่งรวมถึงวัสดุผสม พื้นรองเท้า วัสดุปูพื้น)[8][9] การผลิตจุกขวดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของมูลค่าเพิ่มในการเก็บเกี่ยวไม้ก๊อก อย่างไรก็ตามจำนวนโอ๊กก๊อกลดลงอย่างมีนัยสำคัญในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากจุกก๊อกธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยพลาสติกหรือแผ่นโลหะ ซึ่งเป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เหล่านี้[8]
นอกจากใช้ไม้ก๊อกแล้ว ก็ยังใช้เปลือกโอ๊กก๊อกซึ่งมีแทนนินที่สามารถสกัดได้ประมาณร้อยละสิบสอง นอกจากนี้ ลูกโอ๊กยังใช้เป็นอาหารในการเลี้ยงสุกร ต้นไม้หนึ่งต้นสามารถให้ลูกโอ๊กได้ 15 ถึง 30 กิโลกรัม (33 ถึง 66 ปอนด์) ต่อปี[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Barstow, M.; Harvey-Brown, Y. (2017). "Quercus suber". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T194237A2305530. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T194237A2305530.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Quercus suber L.". World Checklist of Selected Plant Families (WCSP). Royal Botanic Gardens, Kew – โดยทาง The Plant List.
- ↑ Eriksson, E.; Varela, M.C.; Lumaret, R. & Gil, L. (2017). Genetic conservation of Quercus suber (PDF). European Forest Genetic Resources Programme (EUFORGEN), Bioversity International. ISBN 978-92-9255-062-2.
- ↑ "Put a cork in it!". WWF. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ "Information Bureau: 2019 Cork Sector in Numbers - APCOR" (PDF). APCOR. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ 6.0 6.1 Gil, L. & Varela, M. (2008), Cork oak - Quercus suber: Technical guidelines for genetic conservation and use (PDF), European Forest Genetic Resources Programme, p. 6
- ↑ Plieninger, Tobias. "Traditional land-use and nature conservation in rural Europe". Encyclopedia of Earth.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Enzyklopädie der Laubbäume. Page 505. Schütt et al.
- ↑ Pereira (2008), Alexandre. "Biowerkstoff-Report" (PDF). Nova Institute. p. 28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-18.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Aronson J., Pereira J. S., Pausas J. G. (eds.). (2009). Cork Oak Woodlands on the Edge: Conservation, Adaptive Management, and Restoration. Washington, D.C.: Island Press, 315 pp.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Quercus suber. Plants of the World Online. Kew Science.
- Cork Oak. World Wildlife Foundation Priority Species.
- Cork Industry Federation. 2014.
- PlanetCork.org. Educating primary school children in sustainable development. Cork Industry Federation. 2009.
- Cork Oak (Quercus suber). European Forest Genetic Resources Programme (EUFORGEN).