กลุ่มนาบี
กลุ่มนาบี (ฝรั่งเศส: Les Nabis) คือกลุ่มศิลปินอาว็อง-การ์ดของอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังผู้วางแนวทางของวิจิตรศิลป์และเลขนศิลป์ในฝรั่งเศสในคริสต์ทศวรรษ 1890 เดิมเป็นกลุ่มผู้ที่รู้จักกันผู้มีความสนใจในศิลปะและวรรณกรรมร่วมสมัย ที่ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนศิลปะส่วนบุคคลของรอดอล์ฟ ฌูว์ลีย็อง (สถาบันฌูว์ลีย็อง) ในกรุงปารีสในปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 ในปี ค.ศ. 1890 กลุ่มนี้ก็ประสบความสำเร็จในการแสดงงานในการนิทรรศการของสาธารณชน ขณะที่งานส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในมือของนักสะสมส่วนบุคคล หรือตัวศิลปินเอง เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1896 กลุ่มก็เริ่มแสดงความแตกแยก ภาพ “เป็นเกียรติแก่เซซาน” (Hommage à Cézanne) เขียนโดยมอริส เดอนี ในปี ค.ศ. 1900 แสดงให้เห็นถึงความหลังตั้งแต่ก่อนที่คำว่า “Nabis” จะเป็นที่ทราบโดยทั่วไป ขณะที่สมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม คือ มอริส เดอนี, ปีแยร์ บอนาร์ และเอดัวร์ วุยยาร์ สามารถยืนบนขาของตนเองได้ในฐานะจิตรกร มีก็แต่ปอล เซรูว์ซีเยเท่านั้นที่ยังคงดิ้นรนอยู่ จนกระทั่งมาเขียนภาพ “The Talisman” ตามคำแนะนำของปอล โกแก็ง ที่กลายมาเป็นแนวทางที่จะดำเนินต่อไป
ที่มาของชื่อกลุ่ม
[แก้]“Nabi” แปลว่า “ศาสดา”[1] ในภาษาฮิบรู
“กลุ่มนาบี” เดิมเป็นกลุ่มนักเรียนศิลปะที่มีหัวก้าวหน้าที่รวมตัวกันที่สถาบันฌูว์ลีย็อง ปอล เซรูว์ซีเยเป็นผู้มีบทบาทในการก่อตั้งกลุ่ม ตั้งชื่อและเผยแพร่งานตัวอย่างของปอล โกแก็งและผู้อื่น ปีแยร์ บอนาร์, เอดัวร์ วุยยาร์ และมอริส เดอนีเป็นจิตรกรที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาสมาชิกของกลุ่ม แต่ก็เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างจะอยู่นอกวง
คำว่า “กลุ่มนาบี” คิดขึ้นโดยกวีอ็องรี กาซาลี ผู้มองเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่มจิตรกรที่พยายามฟื้นฟูจิตรกรรมกับวิธีการของศาสดาโบราณที่รื้อฟื้นอิสราเอล[2] หรืออาจจะเป็นได้ว่า “สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่มีหนวดเครา บางคนก็เป็นชาวยิว และทุกคนต่างก็มีความกระตือรือร้นกันอย่างจริงจัง”[3]
“กลุ่มนาบี” ถือตนเองว่าเป็นผู้ริเริ่มและใช้ศัพท์แสงที่เป็นของตนเอง เช่นเรียกห้องเขียนภาพว่า “ergasterium” และลงท้ายจดหมายด้วยอักษรย่อว่า “E.T.P.M.V. et M.P.” ที่ย่อมาจาก “En ta paume, mon verbe et ma paume” ที่แปลว่า “ในอุ้งมือของเธอ, คำของฉันและอุ้งมือของฉัน”
ศิลปินในกลุ่ม
[แก้]- ปีแยร์ บอนาร์ (ค.ศ. 1867-1947)
- มอริส เดอนี (ค.ศ. 1870-1943)
- Maxime Dethomas (ค.ศ. 1869-ค.ศ. 1929)
- Meyer de Haan (ค.ศ. 1852-ค.ศ. 1895)
- Rene Georges Hermann-Paul (ค.ศ. 1864-ค.ศ. 1940)
- Henri-Gabriel Ibels (ค.ศ. 1867-ค.ศ. 1936)
- ฌอร์ฌ ลากงบ์ (ค.ศ. 1868-ค.ศ. 1916)
- Aristide Maillol (ค.ศ. 1861-ค.ศ. 1944)
- ปอล ร็องซง (ค.ศ. 1864-ค.ศ. 1909)
- József Rippl-Rónai (ค.ศ. 1861-ค.ศ. 1927)
- Ker-Xavier Roussel (ค.ศ. 1867-ค.ศ. 1944)
- ปอล เซรูว์ซีเย (ค.ศ. 1864-ค.ศ. 1927)
- เฟลิกซ์ วาลอตง (ค.ศ. 1865-ค.ศ. 1925)
- Jan Verkade (ค.ศ. 1868-ค.ศ. 1946)
- เอดัวร์ วุยยาร์ (ค.ศ. 1868-ค.ศ. 1940)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The French term nabi (also used in English) refers to a person inspired to speak the word of God is clearly related to the Hebrew term for prophet — נביא (nebia) — and the similar Arabic word نَبِيّ (nábi). The word appears in many languages, including Indonesian.
- ↑ Oxford English Dictionary, headword nabi
- ↑ Hanson, L. & Hanson, E., Post-Impressionists xi. page 277
บรรณานุกรม
[แก้]- Patricia Eckert Boyer, The Nabis and the Parisian Avant-Garde, Rytgers Univ Press, 1989, ISBN 0-8135-1380-4 & ISBN 978-0-8135-1380-5
- Charles Chasse, The Nabis and Their Period, London: Lund Humphries, 1969, ASIN B001387EYI
- Russell T. Clement, Four French Symbolists: A Sourcebook on Pierre Puvis de Chavannes, Gustave Moreau, Odilon Redon, and Maurice Denis, Greenwood Press, 1996, ISBN 0-313-29752-5 & ISBN 978-0-313-29752-6
- Bernard Dorival, Les Peintres Du Vingtieme Sicle; Nabis, Fauves, Cubistes, Paris: Editions Pierre Tisne, 1957, ASIN B000PT18NY
- Claire Freches-Thory and Antoine Terrasse, Nabis: Bonnard, Vuillard and Their Circle, London: Flammarion, 2003, ISBN 2-08-011076-4 & ISBN 978-2-08-011076-3
- Albert Kostenevitch, Bonnard: and the Nabis, London: Parkstone Press, ISBN 1-85995-015-9 & ISBN 978-1859950159
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Prophets of Montmartre Ashe Journal article on Les Nabis by Alamantra.