ข้ามไปเนื้อหา

ไตปิง

พิกัด: 4°51′N 100°44′E / 4.850°N 100.733°E / 4.850; 100.733
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไตปิง
เมือง
บันดาร์ไตปิง
เมืองไตปิง
การถอดเสียงภาษาอื่น ๆ
 • มาเลเซียتاءيڤيڠ(อักษรยาวี)
 • จีน太平
Thài-pêng (ฮกเกี้ยน:Tâi-lô)
 • ทมิฬதைப்பிங்
ถนนโกตาในเวลากลางคืน
ถนนโกตาในเวลากลางคืน
ธงของไตปิง
ธง
สมญา: 
The Rain Town, The Heritage Town
คำขวัญ: 
อามาน เซอลามา-ลามาญา
(แปลเป็นภาษาอังกฤษ: Everlasting Peace)[1]
ไตปิงตั้งอยู่ในรัฐเประ
ไตปิง
ไตปิง
ไตปิงตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย
ไตปิง
ไตปิง
พิกัด: 4°51′N 100°44′E / 4.850°N 100.733°E / 4.850; 100.733
ประเทศมาเลเซีย
รัฐรัฐเประ
ภาษามาเลเซีย (รวมไปถึงสำเนียงมาเลย์ตอนเหนือกับภาษามลายูสำเนียงเประ), อังกฤษ, แมนดาริน, ฮกเกี้ยน, ทมิฬ
ก่อตั้ง1874
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาล
 • นายอำเภอเอินจิก โมฮาเม็ด อักมัล บิน ดาฮาลัน [1]
 • ประธานสภาเทศบาลไตปิงเอินจิก ไครุล อามีร บิน โมฮามัด ซูบีร์, AMP [2]
 • สมาชิกสภาYB Teh Kok Lim (PH-DAP)
พื้นที่
 • ทั้งหมด186.46 ตร.กม. (71.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2013)
 • ทั้งหมด245,182 [3] คน
 • ความหนาแน่น1,315 คน/ตร.กม. (3,406 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (MST)
รหัสไปรษณีย์34xxx
รหัสพื้นที่05
เว็บไซต์www.mptaiping.gov.my

ไตปิง (มลายู: Taiping, ออกเสียง: /taipeŋ/; อักษรยาวี: تاءيڤيڠ; จีน: 太平, การออกเสียงภาษาจีน: /tʰaɪ̯⁵¹piŋ/; ฮกเกี้ยน:Thài-pêng; ทมิฬ: தைப்பிங்) เป็นเมืองที่ตั้งในอำเภอลารุต, มาตัง และเซอลามา, รัฐเประ, ประเทศมาเลเซีย โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอีโปะฮ์ เมืองหลวงของรัฐเประไปประมาณ 48 km (30 mi) และทางตะวันออกเฉียงใต้ของจอร์จทาวน์, รัฐปีนัง ไป 78 km (48 mi) ซึ่งมีประชากร 245,182 คน (ณ ค.ศ. 2013)[2] เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของรัฐรองจากอีโปะฮ์ เมืองหลวงรัฐ

ไตปิงรับบทเป็นเมืองหลวงรัฐแทนกัวลากังซาร์ตั้งแต่ปีค.ศ. 1876 ถึง 1937 แต่ถูกเปลื่ยนไปเป็นของอีโปะฮ์แทน[3] โดยตัวเมืองถือกันว่าเป็นเมืองที่ชุ่มชื้นที่สุดในคาบสมุทรมลายู[4] [ต้องการอ้างอิง] โดยปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ประมาณ 4,000 มิลลิเมตรในไตปิง ในขณะที่บริเวณอื่นของคาบสมุทรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 – 2,500 มิลลิเมตร

ไตปิงได้อยู่ใน 3 อันดับแรกของเมืองที่น่าอาศัยที่สุดในโลก[5]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุว่า ไตปิง หรือที่ทรงเขียนว่า ไท้เผ็ง เป็นชื่อในภาษาจีน มีความหมายว่า "ความสงบอันไม่มีวารสิ้นสุด"[6]

รัฐบาล

[แก้]
สภาเทศบาลไตปิง

สภาเทศบาลไตปิงเป็นสภาเทศบาลที่ควบคุมเขตเมือง โดยถูกก่อตั้งหลังจากตัวเมืองในปีค.ศ. 1930 ซึ่งกินพื้นที่ไป 186.46 ตารางกิโลเมตร [7]

การขนส่ง

[แก้]

รถไฟ

[แก้]
สถานีรถไฟไตปิง

สถานีรถไฟไตปิงเป็นสถานีแรกที่ดำเนินการในประเทศมาเลเซีย โดยบริการไปที่ถ้ำดีบุก เพื่อขนส่งแร่ไปที่พอร์ตเวลด์ (ปัจจุบันคือกัวลาเซอเปอตัง) และคนงานเหมืองไปที่พักคนงาน ในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1930 มีการสร้างทางรถไฟเชื่อมเมืองอื่น ๆ ได้แก่ อีโปะฮ์, กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์ เส้นทางไตปิง-พอร์ตเวลด์ถูกปิดตัวลงโดยเกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายูในคริสตทศวรรษที่ 1980[8][9]

ตัวสถานีบริการแค่รถไฟระหว่างเมืองของเคทีเอ็ม โดยไปทางเดียวที่สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งใช้เวลาไป 6 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ตัวสถานีมีบริการของเคทีเอ็ม อีทีเอส ซึ่งลดเวลาเดินทางไปประมาณ 3 ชั่วโมง ที่มากไปกว่านั้น ตัวเมืองเป็นที่พักของบริการขนส่งมวลชนอีทีเอสระหว่างอีโปะฮ์กับปาดังเบซาร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.mptaiping.gov.my/ms/mpp/profil/logo
  2. Senarai Mukim dan Statistik Penduduk
  3. Malaysian States http://www.worldstatesmen.org/Malay_states.htm
  4. Newspapers recorded Taiping as the wettest place in Malaya in March 1937, with a rainfall of 21.55 inches, and Maxwell's Hill next to it with 16.01 inches. Comparatively, Kuala Lumpur's rainfall was just 6.39 inches (The Straits Times, 24 April 1937, Page 12).; In 1959, The Straits Times (The Straits Times, 2 April 1959, Page 7) reported, 'Water was rationed 39 days last year in Taiping, the wettest town in Malaya. 'Taiping's Larut Hills record the highest annual average total of 5800 mm rain (Cranbrook, Gathorne Gathorne-Hardy, ed. Malaysia:key Environments. Oxford: Published in Collaboration with the International Union for Conservation of Nature and Natural Resources by Pergamon, 1988. Print. Page 7).
  5. "Asia University Rankings 2018". The Star Online. สืบค้นเมื่อ 7 March 2019.
  6. จดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประพาสสหรัฐมะลายู พ.ศ. 2467. พระนคร : พระจันทร์, 2480, หน้า 142
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-07.
  8. "Landasan Keretapi Yang Pertama di Tanah Melayu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2009.
  9. Malayan Railways 100 years 1885 – 1995

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]