ข้ามไปเนื้อหา

โมเมนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในทางฟิสิกส์ คำว่า โมเมนต์ (อังกฤษ: moment) อาจหมายถึงหลายแนวคิดที่แตกต่างกันดังนี้

  • โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือเรียกเพียง โมเมนต์ คือแนวโน้มของแรงที่ทำให้วัตถุหนึ่งบิดหรือหมุนไป เป็นแนวคิดพื้นฐานสำคัญในวิศวกรรมศาสตร์และฟิสิกส์ (กลศาสตร์และวิศวกรรมโยธา ให้ความหมายคำว่า "โมเมนต์" กับ "แรงบิด/ทอร์ก" ต่างกัน ในขณะที่ฟิสิกส์ถือว่าเหมือนกัน)
    • แขนโมเมนต์ (moment arm) คือปริมาณชนิดหนึ่งที่ใช้คำนวณโมเมนต์ของแรง ดูที่บทความ แรงบิด (torque)
    • หลักการของโมเมนต์ (the principle of moment) คือทฤษฎีบทเกี่ยวกับโมเมนต์ของแรง ดูที่บทความ แรงบิด
    • โมเมนต์แท้ (pure moment) คือโมเมนต์ของแรงชนิดพิเศษอย่างหนึ่ง ดูที่บทความ แรงคู่ควบ (couple)
  • โมเมนต์ของเวกเตอร์ (moment of vector) คือนัยทั่วไปของแนวคิดโมเมนต์ของแรง โมเมนต์ M ของเวกเตอร์ B รอบจุด A หาได้จาก
เมื่อ rAB คือเวกเตอร์จากจุด A ไปยังจุดที่เวกเตอร์ B กระทำ และเครื่องหมาย × หมายถึงผลคูณไขว้ของเวกเตอร์
ดังนั้น M อาจกล่าวได้ว่าเป็น "โมเมนต์ M ที่เกี่ยวข้องกับแกนซึ่งวิ่งผ่านจุด A" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "โมเมนต์ M รอบจุด A" ถ้าจุด A เป็นจุดกำเนิด (หรือบริบทที่เกี่ยวกับแกนหายไป) เราจึงสามารถเรียกได้ว่าเป็น โมเมนต์ เฉย ๆ และถ้า B เป็นเวกเตอร์ของแรง โมเมนต์ของแรงก็จะเป็นแรงบิดตามที่อธิบายไว้แล้วข้างต้น