ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศโปแลนด์

พิกัด: 52°N 20°E / 52°N 20°E / 52; 20
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โปแลนด์)

52°N 20°E / 52°N 20°E / 52; 20

สาธารณรัฐโปแลนด์

Rzeczpospolita Polska (โปแลนด์)
เพลงชาติ"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ"
(แปลว่า "บทเพลงมาเซอร์กาของดอมบรอฟสกี")
ที่ตั้งของ ประเทศโปแลนด์  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
วอร์ซอ
52°13′N 21°02′E / 52.217°N 21.033°E / 52.217; 21.033
ภาษาราชการโปแลนด์[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(พ.ศ. 2554[2][3])
ศาสนา
(พ.ศ. 2562[4])
เดมะนิม
การปกครองสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (โดยนิตินัย)[5]
อันด์แชย์ ดูดา
ดอนัลต์ ตุสก์
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
เซย์ม
ก่อตั้ง
14 เมษายน ค.ศ. 966
18 เมษายน ค.ศ. 1025
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1569
24 ตุลาคม ค.ศ. 1795
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
17 กันยายน ค.ศ. 1939
19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947
31 ธันวาคม ค.ศ. 1989[7]
พื้นที่
• รวม
312,696[8] ตารางกิโลเมตร (120,733 ตารางไมล์)[c] (อันดับที่ 69)
1.48 (ณ ปี 2558)[10]
ประชากร
• 2563 ประมาณ
ลดลงเป็นกลาง 38,268,000[11] (อันดับที่ 38)
123 ต่อตารางกิโลเมตร (318.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 83)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2564 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 1.363 ล้านล้านดอลลาร์[12] (อันดับที่ 19)
เพิ่มขึ้น 35,957 ดอลลาร์[12] (อันดับที่ 39)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2564 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 642 พันล้านดอลลาร์[12] (อันดับที่ 22)
เพิ่มขึ้น 16,930 ดอลลาร์[12] (อันดับที่ 44)
จีนี (2562)Negative increase 28.5[13]
ต่ำ
เอชดีไอ (2562)เพิ่มขึ้น 0.880[14]
สูงมาก · อันดับที่ 35
สกุลเงินซวอตือ (PLN)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
รูปแบบวันที่dd/mm/yyyy (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+48
โดเมนบนสุด.pl
เว็บไซต์
poland.pl

โปแลนด์[d] มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโปแลนด์[e] เป็นประเทศในตอนกลางของยุโรป[15] แบ่งออกเป็น 16 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 312,696 ตารางกิโลเมตร (120,733 ตารางไมล์) และมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นตามฤดูกาลเป็นส่วนใหญ่[9] โปแลนด์มีประชากรเกือบ 38.5 ล้านคน และเป็นรัฐสมาชิกที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของสหภาพยุโรป[9] โดยมีวอร์ซอ เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีเมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ กรากุฟ, วุช, วรอตสวัฟ, ปอซนัญ, กดัญสก์ และชแชชิน

ดินแดนที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ของโปแลนด์นั้น ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งตามแนวทะเลบอลติกทางตอนเหนือของประเทศ ไปจนถึงเทือกเขาชูแดแรสและคาร์เพเทียนทางตอนใต้ โปแลนด์มีพรมแดนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับลิทัวเนียและรัสเซีย (ผ่านทางแคว้นคาลินินกราด) ทิศตะวันออกติดกับเบลารุสและยูเครน ทิศใต้ติดกับสโลวาเกียและเช็กเกีย และทิศตะวันตกติดกับเยอรมนี[16]

ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่มีชีวิตชีวาบนผืนดินของโปแลนด์ มีระยะเวลาอยู่เป็นหลายพันปี ตลอดยุคโบราณตอนปลายมีความหลากหลายอย่างกว้างขว้าง โดยมีวัฒนธรรมและชนเผ่าต่าง ๆ ได้ตั้งรกรากอยู่บนที่ราบในยุโรปกลางอันกว้างใหญ่ อย่างไรก็ตาม ชาวโปลันด์ตะวันตกเป็นผู้ที่ครอบครองภูมิภาคแห่งนี้ และก็ได้ตั้งชื่อให้กับภูมิภาคนี้ว่าโปแลนด์ การสถาปนารัฐโปแลนด์นั้นสามารถย้อนรอยไปถึง ค.ศ. 966 เมื่อมีผู้ปกครองนอกรีตแห่งราชอาณาจักรที่อยู่ร่วมกับดินแดนของประเทศโปแลนด์ในปัจจุบัน ได้ยอมรับศาสนาคริสต์ และได้เปลี่ยนมานับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก[17] ราชอาณาจักรโปแลนด์ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1025 และใน ค.ศ. 1569 ก็ได้ประสานความสัมพันธ์ทางการเมืองที่มีมายาวนานกับลิทัวเนีย โดยการลงนามในสหภาพลูบลิน สหภาพนี้ได้ก่อตั้งเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุด (มีพื้นที่มากกว่า หนึ่ง ล้าน ตารางกิโลเมตร หรือ 400,000 ตารางไมล์) และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป ภายในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 17 โดยมีระบบการเมืองเป็นแบบเสรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งได้รับเอารัฐธรรมนูญสมัยใหม่ เป็นฉบับแรกของยุโรปมาใช้ นั่นคือ รัฐธรรมนูญวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791[18][19][20]

หลังผ่านพ้นความโดดเด่นและความรุ่งเรืองแล้วนั้น เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียก็ถูกแบ่งดินแดนโดยประเทศเพื่อนบ้านของเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เมื่อช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้รับเอกราชอีกครั้งใน ค.ศ. 1918 ด้วยสนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากความขัดแย้งทางด้านดินแดนอยู่หลายครั้ง โปแลนด์ซึ่งเป็นรัฐหลายชนชาตินั้น ได้รับการฟื้นฟูสถานะเป็นผู้เล่นหลักในการเมืองของยุโรป ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้นด้วยการรุกรานโปแลนด์โดยนาซีเยอรมนี ตามมาด้วยสหภาพโซเวียตที่รุกรานโปแลนด์ตามกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ พลเมืองชาวโปแลนด์ประมาณ 6 ล้านคน รวมถึงชาวยิวในประเทศจำนวน 3 ล้านคน เสียชีวิตลงตลอดช่วงระหว่างสงคราม[21][22] ในฐานะที่เป็นรัฐสมาชิกของกลุ่มตะวันออก สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ได้ประกาศโดยทันทีว่า ประเทศของตนเป็นหัวหน้าในการลงนามสนธิสัญญาวอร์ซอ ท่ามกลางความตึงเครียดในสงครามเย็น ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ภายหลังเหตุการณ์ใน ค.ศ. 1989 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเกิดขึ้นและการมีส่วนร่วมของขบวนการโซลิดาริตี รัฐบาลคอมมิวนิสต์ถูกยุบ และโปแลนด์ก็ได้สถาปนาตนเองขึ้นมาใหม่ ในฐานะสาธารณรัฐประชาธิปไตย

โปแลนด์ถือเป็นตลาดที่พัฒนาแล้ว[23] และเป็นประเทศอำนาจปานกลาง โดยเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของสหภาพยุโรป ตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อำนาจตลาด) และใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ[24] โปแลนด์ให้มาตรฐานการครองชีพ ความปลอดภัย และเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่สูงมาก[25][26][27] เช่นเดียวกับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ที่ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และระบบหลักประกันสุขภาพแบบถ้วนหน้า[28][29] ประเทศนี้มีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกอยู่ 17 แห่ง โดย 15 แห่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม[30] โปแลนด์เป็นรัฐสมาชิกของเขตเชงเกน, สหภาพยุโรป, เขตเศรษฐกิจยุโรป, สหประชาชาติ, เนโท, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และกลุ่มวิแชกราด

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

ชื่อของประเทศโปแลนด์ในภาษาแม่ว่า Polska นั้น มีมาจากชนเผ่าเลติชของชาวโปลันด์ตะวันตก ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำวาร์ตา ซึ่งในปัจจุบันคือภูมิภาควีแยลกอปอลสกา โดยเริ่มมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 6[31] ชื่อของชนเผ่านี้มีต้นกำเนิดมาจากภาษาโปรโต-อินโด-ยุโรป คำว่า *pleh₂- (ที่ราบ) และภาษาโปรโต-สลาวิก คำว่า pole (ทุ่งกว้าง)[31][32] ในทางนิรุกติศาสตร์นั้นได้มีการพลิกแพลงคำจากภูมิลักษณ์ของภูมิภาคและภูมิประเทศอันราบเรียบของวีแยลกอปอลสกา[33] ชื่อประเทศโปแลนด์ในภาษาอังกฤษนั้น (Poland) ถูกประดิษฐ์คำขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1560 โดยมาจากภาษาเยอรมันกลาง-สูง คำว่า Pole(n) และได้เติมคำหลังต่อท้ายว่า land ที่มีความหมายว่า ผู้คนหรือประเทศชาติ[34][35] ก่อนที่จะถูกเอามาใช้ ส่วนชื่อประเทศโปแลนด์ในภาษาละติน (Polonia) ก็ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั่วยุโรปภายในยุคกลาง[36]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

โปแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในการรบวอร์ซอ โปแลนด์ต้องสู้กับสหภาพโซเวียตที่มีทหารมากกว่าถึงห้าเท่า แต่ทหารโปแลนด์ที่รักชาติก็สามารถขับไล่รัสเซียออกไปได้ ต่อมาโปแลนด์เกิดความขัดแย้งภายในประเทศ นาซีเยอรมนีได้เรียกร้องผนวกท่าเรือเสรีดานซิกแต่โปแลนด์ปฏิเสธ นาซีเยอรมนีกับสหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพและร่วมมือกันเข้ายึดครองโปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2482 โดยเยอรมนีจะเข้ายึดด้านตะวันตก ส่วนสหภาพโซเวียตจะเข้ายึดด้านตะวันออก แต่รัฐบาลของโปแลนด์ได้หลบลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษและจัดตั้งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นทำการต่อสู้กับนาซีเยอรมนีต่อไป

ในระหว่างอยู่ภายใต้การครอบครองของนาซีเยอรมัน นาซีได้ทำการกวาดต้อนชาวยิวในโปแลนด์หลายล้านคนไปยังค่ายกักกัน โดยเฉพาะค่ายกักกันเอาชวิตซ์ และทำการสังหารหมู่อย่างโหดและทารุณ ต่อมาในปี 1945 กองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองโปแลนด์และได้ให้ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็น ประเทศโปแลนด์ได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของประเทศในยุโรปตะวันออกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป มีพรมแดนติด 7 ประเทศ ได้แก่ ทิศเหนือจรดรัสเซีย (แคว้นคาลีนินกราด) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกจรดลิทัวเนีย เบลารุส และยูเครน ทิศใต้จรดสโลวาเกียและสาธารณรัฐเช็ก ทิศตะวันตกจรดเยอรมนี และทิศเหนือจรดทะเลบอลติก

ภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ราบเกือบทั้งประเทศ นอกจากบริเวณชายแดนทางใต้เป็นทิวเขาตาตรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาคาร์เพเทียและภูเขาซูดีทีส ซึ่งมียอดเขาสูงที่สุดคือยอด Rysy สูงจากระดับน้ำทะเล 8,200 ฟุต เป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างโปแลนด์กับสโลวาเกีย โปแลนด์มีแม่น้ำสายสำคัญคือ แม่น้ำโอเดอร์ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ และแม่น้ำวิสตูลาที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศ

การเมือง

[แก้]

บริหาร

[แก้]

โปแลนด์เป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ[37][38] โครงสร้างของรัฐบาลนั้น มีศูนย์กลางอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดีจะแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี ซึ่งมักจะมาจากพันธมิตรในสภาเซย์มเป็นส่วนใหญ่ ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งจากคะแนนเสียงอยู่ทุก ๆ 5 ปี โดยประธานาธิบดีคนปัจจุบันคืออันด์แชย์ ดูดา และนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันคือมาแตอุช มอราวีแยตสกี[39]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

โปแลนด์แบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 16 จังหวัด (โปแลนด์: województwa) ได้แก่

จังหวัด เมืองหลัก
ชื่อภาษาโปแลนด์ ชื่อภาษาอังกฤษ
กูยาวือ-ปอมอแช กูยาวือ-พอเมอเรเนีย บึดก็อชตช์ / ตอรุญ
ชฟีแยนตือ-กชึช โฮลีครอสส์ กีแยลต์แซ
ชล็อนสก์ ไซลีเชีย กาตอวิตแซ
ดอลนือชล็อนสก์ โลเวอร์ไซลีเชีย วรอตสวัฟ
ปอดลาแช พอดลาเคีย เบียวึสตอก
ปอตการ์ปาแช ซับคาร์เพเทีย แชชุฟ
ปอมอแช พอเมอเรเนีย กดัญสก์
ปอมอแชซาคอดแญ เวสต์พอเมอเรเนีย ชแชชิน
มาซอฟแช แมโซเวีย วอร์ซอ
มาวอปอลสกา เลสเซอร์โปแลนด์ กรากุฟ
ลูบลิน ลูบลิน ลูบลิน
ลูบุช ลูบุช กอชุฟวีแยลกอปอลสกี / แชลอนากูรา
วาร์เมีย-มาซูรือ วาร์เมีย-มาซูเรีย ออลชตึน
วีแยลกอปอลสกา เกรตเตอร์โปแลนด์ ปอซนัญ
วุช วุช วุช
ออปอแล ออปอแล ออปอแล

การปกครองในระดับรองลงไปจากจังหวัดได้แก่

  • อำเภอ (powiaty) แบ่งเป็น
    • อำเภอชนบท (powiaty ziemskie) 314 แห่ง และ
    • อำเภอนคร (powiaty grodzkie) 65 แห่ง
  • เทศบาล (gminy) 2,478 แห่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Many declared more than one ethnic or national identity. The percentages of ethnic Poles and minorities depend on how they are counted. 94.83% declared exclusively Polish identity, 96.88% declared Polish as their first identity and 97.10% as either first or second identity. Around 98% declared some sort of Polish as their first identity.
  2. การเข้ารับศาสนาคริสต์ในประเทศโปแลนด์ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยไม่สนถึงการติดต่อทางศาสนาหรืออื่น ๆ เพราะว่าเป็นการรวมชนเผ่าโปแลนด์ให้เป็นหนึ่ง[6]
  3. พื้นที่โปแลนด์ตามสำนักงานสถิติกลาง มีพื้นที่ 312,679 ตารางกิโลเมตร (120,726 ตารางไมล์) โดยมีพื้นดิน 311,888 ตารางกิโลเมตร (120,421 ตารางไมล์) และพื้นน้ำส่วนใน 791 ตารางกิโลเมตร (305 ตารางไมล์)[9]
  4. อังกฤษ: Poland; โปแลนด์: Polska, [ˈpɔlska] ( ฟังเสียง) ปอลสกา
  5. อังกฤษ: Republic of Poland; โปแลนด์: Rzeczpospolita Polska, [ʐɛt​͡ʂpɔˈspɔlita ˈpɔlska] ( ฟังเสียง)

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐธรรมนูญสาธารณรัฐโปแลนด์ มาตราที่ 27
  2. Struktura narodowo-etniczna, językowa i wyznaniowa ludności Polski. Narodowy Spis Powszechny Ludności i Mieszkań 2011 [National-ethnic, linguistic and religious structure of Poland. National Census of Population and Housing 2011] (PDF) (ภาษาโปแลนด์). Central Statistical Office. 2015. ISBN 978-83-7027-597-6.
  3. Ludność. Stan i struktura demograficzno-społeczna. Narodowy Spis Powszechny Ludności i Mieszkań 2011 [Population. Number and demographical-social structure. National Census of Population and Housing 2011] (PDF) (ภาษาโปแลนด์). Central Statistical Office. 2013. ISBN 978-83-7027-521-1.
  4. "Special Eurobarometer 493, European Union: European Commission, September 2019, pages 229–230". ec.europa.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.
  5. "Poland - The World Factbook". 22 September 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. Christian Smith (1996). Disruptive Religion: The Force of Faith in Social-movement Activism. Psychology Press. ISBN 978-0-415-91405-5. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013 – โดยทาง Google Books.
  7. "The Act of December 29, 1989 amending the Constitution of the Polish People's Republic". Internetowy System Aktów Prawnych. สืบค้นเมื่อ 18 October 2020. (ในภาษาโปแลนด์)
  8. GUS. "Powierzchnia i ludność w przekroju terytorialnym w 2018 roku".
  9. 9.0 9.1 9.2 "Concise Statistical Yearbook of Poland, 2008" (PDF). Central Statistical Office. 28 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 October 2008. สืบค้นเมื่อ 12 August 2008.
  10. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  11. demografia.stat.gov.pl/. "Population. Size and structure and vital statistics in Poland by territorial division. As of December 31, 2019". stat.gov.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-27. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 30 October 2019.
  13. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
  14. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
  15. Johnson, Lonnie R. (1996). Central Europe: enemies, neighbors, friends. Oxford University Press. p. 3. ISBN 978-0-19-802607-5.
  16. "Poland". 28 February 2017.
  17. Lukowski, Jerzy; Zawaszki, Hubert (2001). A Concise History of Poland (First ed.). University of Stirling Libraries – Popular Loan (Q 43.8 LUK): Cambridge University Press. p. 3. ISBN 978-0-521-55917-1.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  18. Norman Davies, Europe: A History, Pimlico 1997, p. 554: Poland-Lithuania was another country which experienced its 'Golden Age' during the sixteenth and early seventeenth centuries. The realm of the last Jagiellons was absolutely the largest state in Europe
  19. Piotr Stefan Wandycz (2001). The price of freedom: a history of East Central Europe from the Middle Ages to the present. Psychology Press. p. 66. ISBN 978-0-415-25491-5. สืบค้นเมื่อ 13 August 2011.
  20. Gehler, Michael; Steininger, Rolf (2005). Towards a European Constitution: A Historical and Political Comparison with the United States (ภาษาอังกฤษ). Böhlau Verlag Wien. p. 13. ISBN 978-3-205-77359-7. Poland had actually managed to pass a first progressive constitution on 3, May 1795; this was Europes first written constitution.
  21. Tatjana Tönsmeyer; Peter Haslinger; Agnes Laba (2018). Coping with Hunger and Shortage under German Occupation in World War II. Springer. p. 188. ISBN 978-3-319-77467-1.
  22. Materski & Szarota (2009)
  23. "Poland promoted to developed market status by FTSE Russell". Emerging Europe. September 2018. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
  24. "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 12 April 2019. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  25. "Human Development Indicators – Poland". Human Development Reports. United Nations Development Programme. 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  26. "World's Safest Countries Ranked — CitySafe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2017. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
  27. "Poland 25th worldwide in expat ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
  28. Administrator. "Social security in Poland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2016. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  29. "Healthcare in Poland – Europe-Cities". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
  30. UNESCO World Heritage. "Poland". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 29 July 2021.
  31. 31.0 31.1 Gliński, Mikołaj (6 December 2016). "The Many Different Names of Poland". Culture.pl. สืบค้นเมื่อ 31 March 2019.
  32. Lehr-Spławiński, Tadeusz (1978). Język polski. Pochodzenie, powstanie, rozwój. Warszawa (Warsaw): Państwowe Wydawnictwo Naukowe. p. 64.
  33. Potkański, Karol (2004) [1922]. Pisma pośmiertne. Granice plemienia Polan. Vol. Volume 1 & 2. Kraków: Polska Akademia Umiejętności. p. 423. ISBN 978-83-7063-411-7. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  34. Harper, Douglas (n.d.). "Poland (n.)". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  35. Harper, Douglas (n.d.). "Pole (n.)". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  36. Buko, Andrzej (2014). Bodzia. A Late Viking-Age Elite Cemetery in Central Poland. Leiden: Brill. p. 36. ISBN 978-90-04-28132-5.
  37. Cienski, Jan (12 October 2019). "Europe's Poland puzzle". POLITICO.
  38. "Constitutional history of Poland". ConstitutionNet.
  39. "Kornel Morawiecki funeral mass held in Warsaw". www.thefirstnews.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]