ข้ามไปเนื้อหา

มีกอไว กอแปร์ญิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โคเปอร์นิคัส)
นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส
"ภาพเหมือนตอรุญ" (ไม่ทราบผู้วาด, ประมาณ ค.ศ.. 1580) ตั้งอยู่ที่ศาลากลางตอรุญ ประเทศโปแลนด์[a]
เกิด19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473
ทอร์น ปรัสเซียหลวง โปแลนด์
เสียชีวิต24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543(1543-05-24) (70 ปี)
เฟราเอินบวร์ค ปรัสเซียหลวง โปแลนด์
การศึกษา
มีชื่อเสียงจากระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง
ทฤษฎีปริมาณของเงิน
กฎเกรแชม–โคเปอร์นิคัส
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
อาจารย์ที่ปรึกษาDomenico Maria Novara da Ferrara
มีอิทธิพลต่อโยฮันเนิส เค็พเพลอร์
ได้รับอิทธิพลจากแอริสตอเติล
อิบน์ รุชด์
ยุคลิด
Haly Abenragel
Regiomontanus
ลายมือชื่อ

นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (ละติน: Nicolaus Copernicus Torinensis, โปแลนด์: Mikołaj Kopernik มีกอไว กอแปร์ญิก; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 – 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1543) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้คิดค้นแบบจำลองระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางสมบูรณ์ ซึ่งดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มิใช่โลก[2]

การตีพิมพ์หนังสือ De revolutionibus orbium coelestium (ว่าด้วยการปฏิวัติของทรงกลมฟ้า) ของโคเปอร์นิคัส ก่อนหน้าที่เขาเสียชีวิตไม่นาน ถูกพิจารณาว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นการเริ่มต้นการปฏิวัติโคเปอร์นิคัสและมีส่วนสำคัญต่อความรุ่งเรืองของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นตามมา ทฤษฎีระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอธิบายกลไกของระบบสุริยะในเชิงคณิตศาสตร์ มิใช่ด้วยคำของอริสโตเติล

โคเปอร์นิคัสเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นทั้งนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักนิติศาสตร์ที่สำเร็จดุษฎีบัณฑิตในวิกฎหมาย นักฟิสิกส์ ผู้รู้สี่ภาษา นักวิชาการคลาสสิก นักแปล ศิลปิน สงฆ์คาทอลิก ผู้ว่าราชการ นักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์

การปฏิวัติทางดาราศาสตร์ของโคเปอร์นิคัส

[แก้]

ในเวลานั้นโคเปอร์นิคัสได้เสนอให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลแทนโลกในแนวความคิดเดิม โดยให้ดาวเคราะห์ต่าง ๆ เช่น โลก ดาวศุกร์ หรือ ดาวพุธ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม (ในเวลาต่อมาโยฮันเนิส เค็พเพลอร์ได้เสนอว่าควรเป็นวงรีดั่งโมเดลในปัจจุบัน) ถึงแม้ว่าความแม่นยำในการทำนายด้วยทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นไม่ได้ดีกว่าทฤษฎีเก่าของอริสโตเติลและทอเลมีเลย (ไม่ได้ให้ผลการทำนายตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ แม่นยำกว่าทฤษฎีเก่า) แต่ว่าทฤษฎีนี้ ถูกใจนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังในยุคนั้นหลายคน เช่น เดส์การตส์ กาลิเลโอ และเค็พเพลอร์ เนื่องจากว่าทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสนั้นเข้าใจง่ายและซับซ้อนน้อยกว่ามาก โดยกาลิเลโอกล่าวว่าเขาเชื่อว่ากฎต่าง ๆ ในธรรมชาติน่าจะเป็นอะไรที่สวยงามและเรียบง่าย ทฤษฎีโลกเป็นศูนย์กลางดูซับซ้อนมากเกินไปจนไม่น่าเป็นไปได้ (ดูทฤษฎีความอลวนเพิ่มเติม) แนวคิดของกาลิเลโอนี้ ตรงกับหลักการของออคแคม (Ockham's/Occam's razor) ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยด้านการเรียนรู้ของเครื่อง

เกียรติยศ

[แก้]

โคเปอร์นิคัสได้รับเกียรติจากประเทศโปแลนด์ ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยในตอรุญ ตั้งในปี ค.ศ. 1945 ชื่อของเขาเป็นชื่อธาตุตัวที่ 112 ที่ IUPAC ได้ประกาศไป

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาพเหมือนของโคเปอร์นิคัสที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่นาฬิกาดาราศาสตร์สทราซบูร์ที่วาดโดย Tobias Stimmer ประมาณ ค.ศ. 1571–74 ข้อความที่จารึกข้างภาพเขียนว่าวาดตามภาพเหมือนตนเองของโคเปอร์นิคัสเอง นั่นทำให้มีแนวคิดว่าภาพเหมือนตอรุญ ซึ่งไม่ทราบผู้วาด อาจคัดลอกจากภาพเหมือนตนเองด้วย[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. André Goddu, Copernicus and the Aristotelian Tradition (2010), p. 436 (note 125), citing Goddu, review of Jerzy Gassowski, "Poszukiwanie grobu Mikołaja Kopernikaแม่แบบ:-" ("Search for Grave of Nicolaus Copernicus"), in Journal for the History of Astronomy, 38.2 (May 2007), p. 255.
  2. Linton (2004, pp. 39119) อย่างไรก็ดี โคเปอร์นิคัสมิใช่ผู้แรกที่เสนอระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางในบางรูปแบบ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวกรีกคนหนึ่ง ชื่อ อริสตาซูสแห่งซามอส ได้เสนอแนวคิดดังกล่าวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลแล้ว กระนั้น มีหลักฐานน้อยมากว่าเขาเคยพัฒนาความคิดของเขาไกลเกินแบบร่างง่าย ๆ เท่านั้น (Dreyer, 1953, pp. 135–48).

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ

ทั่วไป

เกี่ยวกับ De Revolutionibus

รางวัล

ความร่วมมือระหว่างเยอรมนี-โปแลนด์