ข้ามไปเนื้อหา

สงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สงครามขุนนางครั้งที่ 1)
สงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง

พระเจ้าจอห์น (ซ้าย) ทรงปะทะกับกองกําลังของเจ้าชายหลุยส์ (ขวา)
วันที่ค.ศ. 1215 - ค.ศ. 1217
สถานที่
ผล
คู่สงคราม
ฝ่ายสนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนต ขุนนางผู้แข็งข้อที่ได้รับการสนับสนุนจาก
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อูแบร์ต เดอ เบอร์ห โรเบิร์ต ฟิทซวอลเตอร์
เจ้าชายหลุยส์

สงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: First Barons' War) (ค.ศ. 1215 - ค.ศ. 1217) เป็นสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่างกลุ่มขุนนางผู้ปฏิวัติที่นำโดยโรเบิร์ต ฟิทซวอลเตอร์ผู้ได้รับการสนับสนุนโดยกองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของเจ้าชายหลุยส์ผู้ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสฝ่ายหนึ่ง และสมเด็จพระเจ้าจอห์นอีกฝ่ายหนึ่ง สงครามมีสาเหตุมาจากการที่พระเจ้าจอห์นไม่ทรงยอมรับและปฏิบัติตาม มหากฎบัตร ที่พระองค์เองทรงลงพระนามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1215 และจากความทะเยอทะยานของเจ้าชายหลุยส์ผู้พยายามยืดเยื้อสงครามให้นานออกไปหลังจากที่ขุนนางผู้ทำการปฏิวัติหลายคนได้หันกลับไปสร้างความสันติกับพระเจ้าจอห์นแล้ว

ที่มา

[แก้]

สมเด็จพระเจ้าจอห์นทรงถูกบังคับในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1215 ให้ทรงลงพระนามใน "บทบัญญัติของบารอน" โดยกลุ่มขุนนางผู้มีอำนาจผู้ไม่อาจทนกับความขาดสมรรถภาพในการปกครองของพระเจ้าจอห์นต่อไปได้ ตราประจำพระองค์ได้รับการประทับติดเอกสารที่ทรงลงพระนามเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1215 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการลงพระนามขุนนางก็ยอมสาบานความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์เมื่อ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1215 เอกสารอย่างเป็นทางการที่บันทึกข้อตกลงได้รับการเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ซึ่งคือ "มหากฎบัตร" ฉบับดั้งเดิม แต่ "กฎบัตรของแผ่นดิน" ฉบับนี้ไม่เป็นที่ต้องพระทัยของสมเด็จพระเจ้าจอห์น

เนื้อหาของ "มหากฎบัตร" ฉบับ ค.ศ. 1215 เป็นสิ่งที่ยากต่อการยอมรับโดยพระมหากษัตริย์ในยุคกลางนอกจากว่าจะทรงต้องการเป็นเพียงพระมหากษัตริย์แต่ในพระนาม ในบรรดาเนื้อหาก็มีมาตรา 61 ที่เป็น "ข้อเพื่อความปลอดภัย" ที่อนุญาตให้ขุนนางจำนวน 25 คนมีสิทธิในการคัดค้านพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ได้โดยใช้กำลัง ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมายในยุคกลางที่ใช้กันที่เรียกกันว่า "การยึดอำนาจ" (Distraint) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ปฏิบัติใช้กันในสังคมศักดินากันเป็นปกติ แต่ไม่เคยนำมาใช้กับพระมหากษัตริย์ หลังจากการเจรจาต่อรองระหว่างทั้งสองฝ่ายระหว่างฤดูร้อนของปีเดียวกันที่เป็นไปอย่างครึ่งๆ กลางๆ สงครามก็อุบัติขึ้นระหว่างกลุ่มขุนนางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระเจ้าจอห์นและผู้สนับสนุน

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]