ข้ามไปเนื้อหา

รากูโงะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิลปินรากูโงะ (รากูโงกะ) ในเทศกาลซัมมะ

รากูโงะ (ญี่ปุ่น: 落語โรมาจิRakugo; แปลว่า "คำตก") เป็นรูปแบบความบันเทิงที่ใช้คำพูดของญี่ปุ่น โดยนักเล่าเรื่องเดี่ยว (ญี่ปุ่น: 落語家โรมาจิrakugoka) นั่งบนเวทีที่เรียกว่า โคซะ (ญี่ปุ่น: 高座โรมาจิkōza) ใช้เพียงพัดกระดาษ (ญี่ปุ่น: 扇子โรมาจิsensu) และผ้าผืนเล็ก (ญี่ปุ่น: 手拭โรมาจิtenugui) เป็นอุปกรณ์ และไม่มีการยืนขึ้นมาจากตำแหน่งนั่งบนเบาะรองนั่ง (ญี่ปุ่น: 正座โรมาจิseiza) ศิลปินรากูโงะจะเล่าเรื่องตลก (หรือบางครั้งเป็นเรื่องซึ้งกินใจ) ที่ยาวและซับซ้อน เรื่องราวที่เล่ามักเป็นบทสนทนาระหว่างตัวละครสองคนหรือมากกว่า ความแตกต่างระหว่างตัวละครจะแสดงออกมาผ่านเพียงการเปลี่ยนแปลงของระดับเสียง น้ำเสียง หรือการหันศีรษะเล็กน้อย

ศัพทมูล

[แก้]

รากูโงะเดิมรู้จักในชื่อ คารูกูจิ (ญี่ปุ่น: 軽口โรมาจิkarukuchi)[1] การปรากฏของอักษรคันจิที่เก่าแก่ที่สุดที่หมายความถึงการแสดงชนิดนี้มีตั้งแต่ ค.ศ. 1797 แต่เวลานั้นตัวอักษรดังกล่าว (落とし噺) โดยปกติอ่านว่า โอโตชิบานาชิ (การพูดที่ตกลง)

ในช่วงกลางยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) คำว่า รากูโงะ เริ่มมีการใช้เป็นครั้งแรก และกลายมาเป็นคำที่ใช้ทั่วไปในยุคโชวะ (ค.ศ. 1926–1989).

ศิลปินรากูโงะที่มีชื่อเสียง

[แก้]

เอโดะ (โตเกียว)

[แก้]

คามิกาตะ (โอซากะ)

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Rakugo". Big Serving. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-06. สืบค้นเมื่อ 11 May 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]