ภาษาแฆแลจ
ภาษาแฆแลจ | |
---|---|
خلج | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศอิหร่าน |
ภูมิภาค | ส่วนหนึ่งของจังหวัดโกม (ส่วนใหญ่อยู่ในแฆแลแจสถาน) |
ชาติพันธุ์ | ชาวแฆแลจ |
จำนวนผู้พูด | 19,000 (2018)[1] |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
ภาษาถิ่น |
Xarrāb[4]
Dāγān[5]
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | klj |
แผนที่บริเวณผู้ใช้ภาษาแฆแลจ | |
ภาษาแฆแลจ เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่มีผู้พูดในประเทศอิหร่าน ถึงแม้ว่าจะยังคงมีคุณสมบัติภาษาเตอร์กิกเก่า แต่ได้แผลงเป็นเปอร์เซียแล้ว[6][7] ใน ค.ศ. 1978 มีผู้พูดภาษานี้ 20,000 คนใน 50 หมู่บ้านทางตะวันตกเฉียงใต้ของเตหะราน[3] แต่จำนวนนี้ลดลงเหลือประมาณ 19,000 คน[1] ในภาษาแฆแลจมีประมาณ 150 คำที่ไม่ทราบต้นกำเนิด[8] จากการสำรวจพบว่า พ่อแม่ชาวแฆแลจส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ส่งต่อภาษาของตนแก่ลูก ๆ โดยมีผู้ส่งต่อภาษานี้เพียง 5 ใน 1,000 ครัวเรือน[1]
ภาษาแฆแลจเป็นภาษาที่สืบจากภาษาเตอร์กิกเก่าที่มีชื่อว่า Arghu[2][9] มะห์มูด อัลกาชเฆาะรี นักพจนานุกรมภาษาเตอร์กิกในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นบุคคลแรกที่ให้ตัวอย่างของภาษาแฆแลจ ซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้องกับภาษาแฆแลจในปัจจุบัน[7]
แกร์ฮาร์ด เดอร์เฟอร์ (Gerhard Doerfer) ผู้ค้นพบภาษาแฆแลจอีกครั้ง ได้พิสูจน์ว่าภาษานี้เป็นภาษาแรกที่แยกตัวออกจากกลุ่มภาษาเตอร์กิกทั่วไป[9]
สัทวิทยา
[แก้]พยัญชนะ
[แก้]ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | หลัง- ปุ่มเหงือก |
เพดานอ่อน | ลิ้นไก่ | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
นาสิก | m | n | ŋ | ||||
หยุด/ กักเสียดแทรก |
อโฆษะ | p | t | ç [t͡ʃ] | k | q | |
โฆษะ | b | d | c [d͡ʒ] | ɡ | ɢ | ||
เสียดแทรก | อโฆษะ | f | s | ş [ʃ] | x | h | |
โฆษะ | v | z | ʒ | ğ [ɣ] | |||
เปิด | l | j | |||||
โรติก | r |
สระ
[แก้]หน้า | กลาง | หลัง | ||
---|---|---|---|---|
ไม่ห่อ | ห่อ | |||
ปิด | i [i] ī [iː] | ü [y] üː[yː] | ı [ɨ] ıː[ɨː] | u [u] uː[uː] |
กลาง | e [e] eː [eː] | ö [ø] öː [øː] | o [o] oː [oː] | |
เปิด | ä [æ] äː[æː] | a [a] aa [aː] |
เดอร์เฟอร์อ้างว่าภาษาแฆแลจ ยังคงความยาวของเสียงสระสามระดับไว้ตามสมมุติฐานของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิม: เสียงยาว (เช่น [qaːn] 'เลือด') เสียงกึ่งหนึ่ง (เช่น [baˑʃ] 'หัว') และเสียงสั้น (เช่น [hat] 'ม้า')[11][12] อย่างไรก็ตาม อเล็กซิส แมแนสเตอร์ แรเมอร์ (Alexis Manaster Ramer) คัดค้านทั้งการตีความว่าภาษาแฆแลจมีความยาวเสียงสระสามระดับและภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมมีความยาวเสียงสระสามระดับเช่นกัน[13] สระบางสระของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมถูกรับรู้ว่าเป็นสระประสมเน้นเสียงแรก (falling diphthong) เช่นในคำว่า [quo̯l] ('แขน')
ไวยากรณ์
[แก้]นาม
[แก้]โดยทั่วไปมีเครื่องหมายแสดงพหูพจน์และความเป็นเจ้าของ ภาษาแฆแลจประกอบด้วยสัมพันธการก, กรรมการก, สัมปทานการก, อธิกรณการก, อปาทานการก, กรณการก และสมการการก รูปแบบของการเติมปัจจัยการกเปลี่ยนตามการกลมกลืนเสียงสระและพยัญชนะที่ตามมา การลงท้ายของปัจจัยการกจะสัมพันธ์กับปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ ตารางต่อไปนี้ แสดงการลงท้ายของการกแบบพื้นฐาน
การก | ปัจจัย |
---|---|
กรรตุการก | - |
สัมปทานการก | -A, -KA |
กรรมการก | -I, -NI |
อธิกรณการก | -čA |
อปาทานการก | -dA |
กรณการก | -lAn, -lA, -nA |
สมการการก | -vāra |
กริยา
[แก้]คำกริยาผันตามรูปการกระทำ กาล จุดมุ่งหมายและรูปการปฏิเสธ กริยาจะประกอบด้วยรูปคำต่อไปนี้
รากศัพท์ + การกระทำ + ปฏิเสธ + กาล/จุดมุ่งหมาย + ข้อตกลง
การเรียงประโยค
[แก้]เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา คำคุณศัพท์นำหน้านาม
คำศัพท์
[แก้]ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มภาษาเตอร์กิก แต่มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียมาก รวมทั้งศัพท์จากกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ภาษาอาเซอร์ไบจาน
ตัวเลข
[แก้]ส่วนใหญ่มาจากศัพท์ของกลุ่มภาษาเตอร์กิก ยกเว้น "80" และ "90" มาจากภาษาเปอร์เซีย
- 1 - [biː]
- 2 - [æk.ki]
- 3 - [yʃ]
- 4 - [tœœɾt]
- 5 - [bieʃ]
- 6 - [al.ta]
- 7 - [jæt.ti]
- 8 - [sæk.kiz]
- 9 - [toq.quz]
- 10 - [uon]
- 20 - [ji.giɾ.mi]
- 30 - [hot.tuz]
- 40 - [qiɾq]
- 50 - [æl.li]
- 60 - [alt.miʃ]
- 70 - [yæt.miʃ]
- 80 - [saj.san] (เตอร์กิก), [haʃ.tad] (เปอร์เซีย)
- 90 - [toqx.san] (เตอร์กิก), [na.vad] (เปอร์เซีย)
- 100 - [jyːz]
- 1000 - [min], [miŋk]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ถือเป็นภาษาต่างหากมากกว่าสำเนียง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 زبان خلجی در حال انقراض [Endangered Khalaj language]. همشهری آنلاین [Hamshahri Online] (ภาษาเปอร์เซีย). 2019-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-07-26.
- ↑ 2.0 2.1 Johanson & Csató 1998, p. 81.
- ↑ 3.0 3.1 Doerfer 1977, p. 17.
- ↑ Doerfer 1977, p. 18.
- ↑ Doerfer 1977, p. 20.
- ↑ Knüppel 2009.
- ↑ 7.0 7.1 Ölmez 1995.
- ↑ Doerfer 1977, p. 32.
- ↑ 9.0 9.1 Robbeets 2015, p. 8.
- ↑ 10.0 10.1 Shcherbak 1997, p. 472.
- ↑ Doerfer 1971.
- ↑ Doerfer & Tezcan 1980.
- ↑ Manaster Ramer 1995, pp. 187–88.
บรรณานุกรม
[แก้]หนังสือ
[แก้]- Doerfer, Gerhard (1971). Khalaj Materials. Bloomington: Indiana University Publications. ISBN 9780877501503. OCLC 240052.
- Doerfer, Gerhard; Tezcan, Semih (1980). Wörterbuch des Chaladsch (Dialekt von Charrab) [Khalaj Dictionary (Charrab Dialect)]. Bibliotheca Orientalis Hungarica. Vol. 26. Budapest: Akadémiai Kiadó. ISBN 9789630518420. OCLC 8095415. (ภาษาเยอรมัน และ แฆแลจ).
- Doerfer, Gerhard; Tezcan, Semih (1994). Folklore-Texte der Chaladsch [Folklore Texts of the Khalaj]. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 9783447034845. OCLC 32612731. (ภาษาเยอรมัน และ แฆแลจ).
- Johanson, Lars; Csató, Éva Ágnes (1998). The Turkic Languages. London: Routledge. ISBN 9780415082006. OCLC 40980286.
- Robbeets, Martine (2015). Diachrony of Verb Morphology: Japanese and the Transeurasian Languages. Trends in Linguistics. Studies and Monographs. Berlin & Boston: De Gruyter Mouton. doi:10.1515/9783110399943. ISBN 9783110378238. ISSN 1861-4302. OCLC 945754396.
บทในหนังสือ หัวข้อวารสาร และรายการสารานุกรม
[แก้]- Cheung, Johnny; Aydemir, Hakan (2015). "Turco-Afghanica: On East Iranian *amarnā and Turkic alma, alïmla, almïla 'apple'". ใน Pelevin, Mikhail (บ.ก.). "На Пастбище Мысли Благой". Сборник статей к юбилею И. М. Стеблин-Каменского ["On the Pasture of Good Thoughts": Collected Articles for the Anniversary of I. M. Steblin-Kamensky] (ภาษารัสเซีย และ อังกฤษ). Saint Petersburg: Kontrast. pp. 73–94. ISBN 9785438001256. OCLC 1038607183.
- Doerfer, Gerhard (1977). "Khalaj and its relation to the other Turkic languages". Yearbook of Turkic Studies - Belleten. 25: 17–32. ISSN 0564-5050. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2021.
- Dybo, Anna (2006). Хронология тюркских языков и лингвистические контакты ранних тюрков [Chronology of Turkic languages and linguistic contacts of early Turks]. ใน Tenišev, E. R.; Dybo, A. V. (บ.ก.). Пратюркский язык-основа. Картина мира пратюркского этноса по данным языка [Proto-Turkic Base Language: A Picture of the World of the Proto-Turks According to Their Language] (PDF). Сравнительно-историческая грамматика тюркских языков [Comparative-Historical Grammar of Turkic Languages] (ภาษารัสเซีย). Vol. 6. Moscow: Nauka. pp. 766–817. ISBN 9785020327108. OCLC 13008487. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
- Kıral, Filiz (2000). "Reflections on –miš in Khalaj". ใน Johanson, Lars; Utas, Bo (บ.ก.). Evidentials: Turkic, Iranian and Neighbouring Languages. The Hague: Walter de Gruyter. pp. 89–102. ISBN 9783110805284. OCLC 868974004.
- Knüppel, Michael (2009). "ḴALAJ ii. Ḵalaji Language". Encyclopædia Iranica. Vol. XV/4. pp. 364–365. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
- Manaster Ramer, Alexis (1995). "Khalaj (and Turkic) vowel lengths revisited". Wiener Zeitschrift für die Kunde des Morgenlandes. 85: 187–197. JSTOR 23866156.
- Ölmez, Mehmet (กุมภาพันธ์ 1995). "Halaçlar ve Halaçça" [Khalajis and Khalaj] (PDF). Çağdaş Türk Dili (ภาษาตุรกี). 7 (84): 15–22. ISSN 1300-1345. OCLC 222016380. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2020.
- Shcherbak, A. M. (1997). Xaлaджcкий язык [Khalaj language]. ใน Tenišev, E. R. (บ.ก.). Тюркские языки [Turkic Languages]. Языки мира [Languages of the World] (ภาษารัสเซีย). Vol. 2. Moscow: Indrik. pp. 470–476. ISBN 9785857590614. OCLC 68040217.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bosnalı, Soneli (2012), "Dil Edimi Açisindan Halaççanin Konumu" [Position of Khalaj Language in Terms of Acquisition] (PDF), Karadeniz Araştırmaları [Journal of Black Sea Studies] (ภาษาตุรกี), 9 (32): 45–67, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-24
- Bosworth, C. E.; Doerfer, G. (2012). "K̲h̲alad̲j̲". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W. P. (บ.ก.). Encyclopedia of Islam (2nd ed.). Brill. doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_0485.
- Doerfer, Gerhard (1988). Grammatik des Chaladsch [Grammar of Khalaj] (ภาษาเยอรมัน). Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 9783447028653. OCLC 21035642.
- Kabak, Barış (2004), "Acquiring phonology is not acquiring inventories but contrasts: The loss of Turkic and Korean primary long vowels", Linguistic Typology, 8 (3): 351–368, doi:10.1515/lity.2004.8.3.351, S2CID 122917987
- Minorsky, V. (1940), "The Turkish Dialect of the Khalaj", Bulletin of the School of Oriental Studies, 10 (2): 417–437, doi:10.1017/S0041977X00087607, JSTOR 608400
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Resources in and about the Turkic Khalaj language. Open Language Archives Community.
- Khalaj language. สารานุกรมบริแทนนิกา.