ข้ามไปเนื้อหา

ซาโปนิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างทางเคมีของโซลานีน

ซาโปนิน (อังกฤษ: saponin) เป็นสารกลุ่มไกลโคไซด์ที่มีสมบัติเป็นแอมฟิฟิล (amphiphile) สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน จะเกิดเป็นฟองเมื่อนำมาผสมกับสารละลายในน้ำ สารกลุ่มซาโปนินมักมีโครงสร้างเป็นไกลโคไซด์ชนิดไฮโดรฟิลิก (ละลายน้ำ) จับกับสารอนุพันธ์ไตรเทอร์พีนชนิดไลโพฟิลิก (ละลายในไขมัน)[1][2]

แหล่งที่พบ

[แก้]

คำว่า "ซาโปนิน" มาจากชื่อสกุล Saponaria ซึ่งในอดีตใช้รากทำเป็นสบู่[2] และยังพบในพืชวงศ์เงาะ (Sapindaceae), วงศ์ก่วม (Aceraceae) และวงศ์ Hippocastanaceae นอกจากนี้ยังพบได้ทั่วไปในพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วปากอ้า, ชะเอมเทศ, ผักโขม, มันมือเสือ, หน่อไม้ฝรั่ง, ชาและแอลแฟลฟา ซาโปนินสามารถพบได้ในรูปอื่น เช่น ไจพีโนไซด์ (gypenosides) ในเจี๋ยวกู่หลานและจินเซนโนไซด์ (ginsenosides) ในโสม[3] แต่เดิมเชื่อว่าซาโปนินพบได้เฉพาะในพืช แต่ภายหลังมีการพบในสัตว์ทะเลด้วย[1][4]

คุณสมบัติทางชีวภาพ

[แก้]

ซาโปนินเป็นสารต้านจุลินทรีย์, สารต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลในลำไส้เล็ก หรือช่วยการดูดซึมกรดน้ำดี แต่มีความเป็นพิษของต่อแมลง หนอน หอยทากและปลา หากเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จะทำให้เกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง ขณะปล่อยฮีโมโกลบินออกมา[5]

บทบาทในพืชและสัตว์

[แก้]

ซาโปนินอาจเป็นสารยับยั้งการกินในศัตรูพืช[2][6] ซาโปนินในพืช เช่น ข้าวโอ๊ตและปวยเล้ง ช่วยเพิ่มการดูดซึมและการย่อยอาหารของสัตว์ อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลว่าซาโปนินเป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นและแมลงในระดับความเข้มข้นจำเพาะ[6]

พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน

[แก้]

มีการใช้สารซาโปนินในการจับสัตว์น้ำมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์[7][8] ตัวอย่างเช่น ชนเผ่ากอนด์ (Gond) ในอนุทวีปอินเดียที่ใช้สารซาโปนินในการเบื่อปลา[9] และชนพื้นเมืองในแคลิฟอร์เนียที่ใช้หัวของพืชสกุล Chlorogalum หรือรากของพืชสกุล Yucca มาผสมกับน้ำจนเกิดเป็นฟองแล้วเทลงในแหล่งน้ำเพื่อเบื่อปลา[10] ถึงแม้ในบางพื้นที่จะออกกฎหมายห้าม แต่ในปัจจุบันชนพื้นเมืองในกายอานายังคงใช้วิธีนี้อยู่[11]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

เนื่องจากซาโปนินคุณสมบัติการลดแรงตึงผิวที่ไม่มีประจุ จึงนิยมใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ สารซักฟอกและสารก่อฟอง นอกจากนี้ยังใช้เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชและฟื้นฟูสภาพดิน

ซาโปนินยังใช้ในอุตสาหกรรม เช่น เป็นสารต้านเชื้อราและยีสต์ ในสหรัฐอเมริกาใช้ซาโปนินเป็นสารก่อฟองในเครื่องดื่มคาร์บอเนต (น้ำอัดลม) ในญี่ปุ่นใช้ซาโปนินเป็นอิมัลซิไฟเออร์ในการเตรียมเครื่องดื่มที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์และผักดอง ประเทศในสหภาพยุโรปใช้สารสกัดซาโปนินเป็นสารก่อฟองในสารละลายที่มีน้ำและเป็นสารแต่งกลิ่นในเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอล์[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Hostettmann, K.; A. Marston (1995). Saponins. Cambridge: Cambridge University Press. p. 3ff. ISBN 0-521-32970-1. OCLC 29670810.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Saponins". Cornell University. 14 August 2008. สืบค้นเมื่อ 23 February 2009.
  3. "Phytochemical and Ethnobotanical Databases". Dr. Duke's Phytochemical and Ethnobotanical Databases. 18 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013.
  4. Riguera, Ricardo (สิงหาคม 1997). "Isolating bioactive compounds from marine organisms". Journal of Marine Biotechnology. 5 (4): 187–193.
  5. 5.0 5.1 "IR 10 - ซาโปนิน" (PDF). สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018.
  6. 6.0 6.1 Foerster, Hartmut (22 May 2006). "MetaCyc Pathway: saponin biosynthesis I". สืบค้นเมื่อ 23 February 2009.
  7. Jonathan G. Cannon; Robert A. Burton; Steven G. Wood; Noel L. Owen (2004), "Naturally Occurring Fish Poisons from Plants", J. Chem. Educ., 81 (10): 1457, doi:10.1021/ed081p1457
  8. C. E. Bradley, "Arrow and fish poison of the American southwest", Division of Biology, California Institute of Technology, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-15, สืบค้นเมื่อ 2015-10-27
  9. Murthy E N; Pattanaik, Chiranjibi; Reddy, C Sudhakar; Raju, V S (2010), Piscicidal plants used by Gond tribe of Kawal wildlife sanctuary, Andhra Pradesh, India, pp. 97–101
  10. Campbell, Paul (1999). Survival skills of native California. Gibbs Smith. p. 433. ISBN 978-0-87905-921-7.
  11. Tinde Van Andel, The diverse uses of fish-poison plants in Northwest Guyana, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-15, สืบค้นเมื่อ 2015-10-27

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]