ข้ามไปเนื้อหา

มุสลิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาวมุสลิม)
มุสลิม
การละหมาดที่ไคโร (1865)
ฌ็อง-เลอง เฌโรม
ศาสนิกชนรวม
ป. 2 พันล้านคน[1]
(25% ของประชากรโลก)เพิ่มขึ้น[2][3][4]
(ทั่วโลก, 2020 สำนักวิจัยพิว)
ศาสดา
มุฮัมมัด
ภูมิภาคที่มีศาสนิกชนจำนวนมาก
 อินโดนีเซีย231,070,000[5]
 ปากีสถาน213,161,100[6]
 อินเดีย194,810,000[7]
 บังกลาเทศ153,700,000[8]
 ไนจีเรีย99,100,000[9]
 อียิปต์95,000,000[10]
 อิหร่าน82,900,000[11]
 ตุรกี82,800,000[12]
 แอลจีเรีย42,000,000[13]
 จีน40,000,000[14]
ศาสนา
80–90% ซุนนี[15][16]
10–20% ชีอะฮ์[17][18][19]
~1% อะห์มะดียะฮ์[20]
~1% อื่น ๆ (อิบาฎียะฮ์, คอรานิซึม, ฯลฯ)[21]
ภาษา
เชิงพิธี:
อาหรับกุรอาน
ทั่วไป:
ฮินดี–อุรดู, อาหรับ, อินโดนีเซีย, เบงกอล, กลุ่มภาษาเตอร์กิก, กลุ่มภาษาอิหร่าน และอื่น ๆ[22][23][24][25][26]

มุสลิม (อาหรับ: المسلمون, อัลมุสลิมูน, แปลว่า "ผู้อ่อนน้อม[ต่อพระเจ้า]")[27] เป็นบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาเอกเทวนิยมที่อยู่ในธรรมเนียมศาสนาอับราฮัม พวกเขาถือว่าคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ในศาสนาอิสลาม เป็นพระดำรัสจากพระเจ้าของอับราฮัม (หรืออัลลอฮ์) ที่ประทานแก่มุฮัมมัด ศาสดาในศาสนาอิสลาม[28] มุสลิมส่วนใหญ่ยังดำเนินตามคำสอนและการปฏิบัติของมุฮัมมัด (ซุนนะฮ์) ตามที่มีการจดบันทึกในรายงานต่าง ๆ (ฮะดีษ)[29]

ด้วยจำนวนผู้นับถือเกือบ 2 พันล้านคนใน ค.ศ. 2020 ทำให้มุสลิมเป็นประชากรมากกว่าร้อยละ 24.9 ของประชากรบนโลกทั้งหมด[1] โดยแบ่งตามจำนวนร้อยละของมุสลิมในทวีปต่าง ๆ จากมากไปน้อยได้ดังนี้: 45% ในแอฟริกา, 25% ในเอเชียและโอเชียเนีย (โดยรวม),[30] 6% ในยุโรป,[31] และ 1% ในอเมริกา[32][33][34][35] นอกจากนี้ เมื่อนับจำนวนตามอนุภูมิภาค จำนวนนั้นจะกลายเป็น: 91% ในตะวันออกกลาง–แอฟริกาเหนือ,[36][37][38] 90% ในเอเชียกลาง,[39][40][41] 65% ในคอเคซัส,[42][43][44][45][46][47] 42% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,[48][49] 32% ในเอเชียใต้,[50][51] และ 42% ในแอฟริกาใต้สะฮารา[52][53]

แม้ว่าจะมีนิกายในศาสนาอิสลามอยู่หลายนิกาย นิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดสองนิกายคือซุนนี (75–90% ของมุสลิมทั้งหมด)[54] และชีอะฮ์ (10–20% ของมุสลิมทั้งหมด)[17][18][19] เมื่ออิงจากตัวเลขจริง เอเชียใต้มีจำนวนมุสลิมมากที่สุด (31%) จากประชากรมุสลิมทั่วโลก โดยหลักอยู่ทั่วสามประเทศ: ปากีสถาน, อินเดีย และบังกลาเทศ[55][56] เมื่อแบ่งตามประเทศ ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกมุสลิม โดยมีประชากรมุสลิมอยู่ที่ประมาณ 12% ของมุสลิมทั่วโลก[57][58] ส่วนในประเทศที่มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย ประเทศอินเดียและจีนมีประชากรมุสลิมมากเป็นที่หนึ่ง (11%) และที่สอง (2%) ตามลำดับ[59][60][61] และเนื่องจากการเติบโตของประชากรมุสลิมอยู่ในระดับสูง ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[62][63][64]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า มุสลิม (อาหรับ: مسلم, สัทอักษรสากล: [ˈmʊslɪm]) ซึ่งเป็นรูปบุรุษที่มาจากคำกริยาเดียวกันที่ อิสลาม เป็นคำนามที่มาจากคำกริยา (verbal noun) โดยทั้งสองคำมาจากสามอักษรว่า S-L-M "ทั้งหมด ครบถ้วน"[65][66] ส่วนรูปสตรีคือ มุสลิมะฮ์ (อาหรับ: مسلمة) หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน รูปพหุพจน์ในภาษาอาหรับคือ มุสลิมูน (مسلمون) หรือ มุสลิมีน (مسلمين) และรูปพหุพจน์แบบเพศหญิงคือ มุสลิมาต (مسلمات)

อิบน์ อะเราะบี นักปรัชญามุสลิม กล่าวว่า:

มุสลิมคือบุคคลที่อุทิศตนเพื่อสักการะพระเจ้าโดยเฉพาะ...อิสลาม หมายถึงทำให้ศาสนาและความศรัทธาของผู้หนึ่งพึ่งอยู่กับพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียว[67]

คำปฏิญาณตน

[แก้]

ในการที่จะเป็นมุสลิมและเข้ารับอิสลาม จำเป็นที่จะต้องกล่าวชะฮาดะฮ์ หนึ่งใน 5 หลักการอิสลาม เป็นการประกาศศรัทธาและเชื่อมั่นว่ามีพระเจ้าเพียงองค์เดียว (อัลลอฮ์) และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระเจ้า[68] โดยเป็นคำสั่งที่กำหนดอ่านในภาษาอาหรับตามปกติว่า: อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ วะอัชฮะดุอันนะมุฮัมมะดัน เราะซูลุลลอฮ์ (أشهد أن لا إله إلا الله وأشهد أن محمداً رسول الله) "ข้าขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และข้าขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์"[69]

ในอิสลามนิกายซุนนี ชะฮาดะฮ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน: ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์) และ มุฮัมมะดุนเราะซูลุลลอฮ์ (มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์)[70] ข้อความแรกของชะฮาดะฮ์มีอีกชื่อว่า ตะฮ์ลีล[71]

ส่วนชีอะฮ์ มีส่วนที่สามที่ระบุว่า อะลี อิมามชีอะฮ์คนแรกและเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนองค์ที่ 4 ของซุนนี ไว้ว่า: وعليٌ وليُّ الله (วะอะลียุนวะลียุลลอฮ์) ซึ่งแปลว่า "อะลีเป็น วะลี ของอัลลอฮ์"[72]

ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตาม 5 หลักการอิสลาม: การประกาศความศรัทธา (ชะฮาดะฮ์), ละหมาดประจำวัน (ลพหมาด), การบริจาคทาน (ซะกาต), ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน (ศีลอด) และแสวงบุญที่มักกะฮ์ (ฮัจญ์) อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต[73][74]

ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ , เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร)

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Religion Information Data Explorer | GRF". www.globalreligiousfutures.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
  2. "Mapping the Global Muslim Population". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 7 October 2009.
  3. "Muslim Population By Country 2021". World Population Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2020. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
  4. Lipka, Michael, and Conrad Hackett. [2015] 6 April 2017. "Why Muslims are the world’s fastest-growing religious group เก็บถาวร 11 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" (data analysis). Fact Tank. US: Pew Research Center.
  5. "Penduduk Menurut Wilayah dan Agama yang Dianut" [Population by Region and Religion] (PDF). Sensus Penduduk 2018. Jakarta, Indonesia: Badan Pusat Statistik. 15 May 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2021. สืบค้นเมื่อ 3 September 2020. Religion is belief in Almighty God that must be possessed by every human being. Religion can be divided into Muslim, Christian (Protestant), Catholic, Hindu, Buddhist, Hu Khong Chu, and Other Religions. Muslim 231,069,932 (86.7), Christian (Protestant)20,246,267 (7.6), Catholic 8,325,339 (3.12), Hindu 4,646,357 (1.74), Buddhist 2,062,150 (0.72), Confucianism 71,999 (0.03), Other Religions/no answer 112,792 (0.04), Total 266,534,836
  6. "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2021. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. "The countries with the 10 largest Christian populations and the 10 largest Muslim populations". Pew Research. 1 April 2019.
  8. "The Future of the Global Muslim Population". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2017.
  9. "The World Factbook". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2017.
  10. "The World Factbook". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2017.
  11. "The World Factbook". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2021. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2017.
  12. "The World Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มกราคม 2021. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2017.
  13. United Nations High Commissioner for Refugees. "Refworld - 2010 Report on International Religious Freedom - China (includes Tibet, Hong Kong, Macau)". Refworld. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2015.
  14. Hammond, Kelly (2021-01-15). "The Terrible 'Sinicization' of Islam in China". New Lines Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-06.
  15. ดู:
  16. From Sunni Islam: See:
  17. 17.0 17.1 "Shiʿi, Islam". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022. In the early 21st century some 10–13 percent of the world’s 1.6 billion Muslims were Shiʿi.
  18. 18.0 18.1 "Religions". The World Factbook. Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มีนาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2010. Sunni Islam accounts for over 75% of the world's Muslim population... Shia Islam represents 10–20% of Muslims worldwide...
  19. 19.0 19.1 Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population (PDF). Pew Research Center (Report). October 2009. p. 1. สืบค้นเมื่อ 17 January 2022. Of the total Muslim population, 10-13% are Shia Muslims and 87-90% are Sunni Muslims. Most Shias (between 68% and 80%) live in just four countries: Iran, Pakistan, India and Iraq.
  20. ดู:
    • Breach of Faith. Human Rights Watch. June 2005. p. 8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014. Estimates of around 20 million would be appropriate
    • DeVries, Larry; Baker, Don & Overmyer, Dan (2011-01-01). Asian Religions in British Columbia. University of Columbia Press. ISBN 978-0-7748-1662-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014. The community currently numbers around 15 million spread around the world
    • Juan Eduardo Campo (2009). Encyclopedia of Islam. p. 24. ISBN 978-0-8160-5454-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014. The total size of the Ahmadiyya community in 2001 was estimated to be more than 10 million
    • "Ahmadiyya Muslims". pbs.org. 20 มกราคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2013.
    • A figure of 10–20 million represents approximately 1% of the Muslim population. See also Ahmadiyya by country.
  21. "Chapter 1: Religious Affiliation". The World’s Muslims: Unity and Diversity. Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 9 สิงหาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2013.
  22. Khan, Muhammad Mojlum (2013). The Muslim Heritage of Bengal: The Lives, Thoughts and Achievements of Great Muslim Scholars, Writers and Reformers of Bangladesh and West Bengal. England: Kube Publishing. p. 2. Bengali-speaking Muslims... one of the largest linguistic groups... second only to the Arabs
  23. Talbot & Singh 2009, p. 27, footnote 3.
  24. Grim, Brian J.; Johnson, Todd M. (2013). Chapter 1: Global Religious Populations, 1910–2010 (PDF) (Report). Wiley. p. 22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 March 2017.
  25. "What are the top 200 most spoken languages?". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). 2018-10-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2013. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
  26. Al-Jallad, Ahmad (30 พฤษภาคม 2011). "Polygenesis in the Arabic Dialects" (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2016.
  27. "Muslim". etymonline.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 กันยายน 2015.
  28. Welch, Alford T, Moussalli, Ahmad S, Newby, Gordon D (2009). "Muḥammad". ใน Esposito JL (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 27 March 2017. The Prophet of Islam was a religious, political, and social reformer who gave rise to one of the great civilizations of the world. From a modern, historical perspective, Muḥammad was the founder of Islam. From the perspective of the Islamic faith, he was God's Messenger (rasūl Allāh), called to be a "warner," first to the Arabs and then to all humankind.
  29. The Qurʼan and Sayings of Prophet Muhammad: Selections Annotated & Explained. SkyLight Paths Publishing. 2007. pp. 21–. ISBN 978-1-59473-222-5. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  30. "Region: Asia-Pacific". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2012.
  31. "Region: Europe". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2012.
  32. "Region: Americas". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2012.
  33. Kington, Tom (31 มีนาคม 2008). "Number of Muslims ahead of Catholics, says Vatican". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008.
  34. "Muslim Population". IslamicPopulation.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008.
  35. "Field Listing Religions". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008.
  36. "Region: Middle East-North Africa". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2012.
  37. "Region: Middle East-North Africa". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2011.
  38. "Middle East-North Africa Overview". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2009-10-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-01-18.
  39. "The Global Religious Landscape" (PDF). Pew. ธันวาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 กันยายน 2015.
  40. Rowland, Richard H. "CENTRAL ASIA ii. Demography". Encyclopaedia Iranica (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2. pp. 161–164. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  41. Rowland, Richard H. "CENTRAL ASIA ii. Demography". Encyclopaedia Iranica (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2. pp. 161–164. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2017-05-25.
  42. "Middle East :: Azerbaijan — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2019-12-01.
  43. "The Many Languages of Islam in the Caucasus". Eurasianet (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-12-01.
  44. "Statistical Service of Armenia" (PDF). Armstat. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 20 February 2014.
  45. "Armenia Population". countrymeters.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 24 June 2015.
  46. humans.txt. "Azərbaycan əhalisinin sayı 10 milyon nəfərə çatıb". / (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  47. "Middle East :: Georgia — The World Factbook - Central Intelligence Agency". www.cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2019-12-09.
  48. "Oxford Islamic Studies Online". www.oxfordislamicstudies.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2017.
  49. Yusuf, Imtiyaz. "The Middle East and Muslim Southeast Asia: Implications of the Arab Spring". Oxford Islamic Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2017.
  50. "Region: Asia-Pacific". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2017.
  51. Burke, Daniel Burke, บ.ก. (29 กรกฎาคม 2016). "The moment American Muslims were waiting for". CNN Religion. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2017.
  52. "Region: Sub-Saharan Africa". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2012.
  53. "Region: Sub-Saharan Africa". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. 27 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2011.
  54. * "Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population". Pew Research Center. 7 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2013-09-24. Of the total Muslim population, 10–13% are Shia Muslims and 87–90% are Sunni Muslims.
  55. Pechilis, Karen; Raj, Selva J. (2013). South Asian Religions: Tradition and Today (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 193. ISBN 9780415448512.
  56. Diplomat, Akhilesh Pillalamarri, The. "How South Asia Will Save Global Islam". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2017-02-07.
  57. "Number of Muslim by country". nationmaster.com. 27 มกราคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2021.
  58. "10 Countries With the Largest Muslim Populations, 2010 and 2050date=2015-04-02". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-02-07.
  59. "Book review: Russia's Muslim Heartlands reveals diverse population", The National (ภาษาอังกฤษ), 21 April 2018, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2019, สืบค้นเมื่อ 13 January 2019
  60. "Muslim Population by Country". The Future of the Global Muslim Population. Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2011.
  61. "Islam in Russia". www.aljazeera.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2019. สืบค้นเมื่อ 9 January 2022.
  62. "Main Factors Driving Population Growth". Pew Research Center's Religion & Public Life Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-04-02. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
  63. Burke, Daniel (4 April 2015). "The world's fastest-growing religion is ..." CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2020. สืบค้นเมื่อ 18 April 2015.
  64. Lippman, Thomas W. (2008-04-07). "No God But God". U.S. News & World Report. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2013-09-24. Islam is the youngest, the fastest growing, and in many ways the least complicated of the world's great monotheistic faiths. It is based on its own holy book, but it is also a direct descendant of Judaism and Christianity, incorporating some of the teachings of those religions—modifying some and rejecting others.
  65. Burns & Ralph, World Civilizations, 5th ed., p. 371.
  66. Entry for šlm, p. 2067, Appendix B: Semitic Roots, The American Heritage Dictionary of the English Language, 4th ed., Boston, New York: Houghton Mifflin, 2000, ISBN 0-618-08230-1.
  67. Commentary on the Qur'an, Razi, I, p. 432, Cairo, 1318/1900
  68. From the article on the Pillars of Islam in Oxford Islamic Studies Online เก็บถาวร 26 เมษายน 2017 ที่ Wikiwix
  69. Gordon, Matthew; Gordon, Professor of Middle East Islamic History Matthew S (2009). Matthew S. Gordon and Martin Palmer, Islam, Info base Publishing, 2009. p. 87. ISBN 9781438117782. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2021. สืบค้นเมื่อ 26 August 2012.
  70. Lindsay, p. 140–141
  71. Michael Anthony Sells (1999). Approaching the Qur'an: The Early Revelations. White Cloud Press. p. 151. ISBN 9781883991265. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 24 April 2017.
  72. The Later Mughals by William Irvine p. 130
  73. Hooker, Richard (14 July 1999). "arkan ad-din the five pillars of religion". United States: Washington State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2010. สืบค้นเมื่อ 17 November 2010.
  74. "Religions". The World Factbook. United States: Central Intelligence Agency. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2010.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "muslim pron" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]