ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมบัค"
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8 |
ล บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต |
||
บรรทัด 72: | บรรทัด 72: | ||
{{ผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนี}} |
{{ผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนี}} |
||
[[หมวดหมู่: |
[[หมวดหมู่:ตราสินค้ารถยนต์]] |
||
[[หมวดหมู่:บริษัทของเยอรมนี]] |
[[หมวดหมู่:บริษัทของเยอรมนี]] |
||
[[หมวดหมู่:ไดม์เลอร์ เอจี]] |
[[หมวดหมู่:ไดม์เลอร์ เอจี]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:07, 2 มีนาคม 2566
Maybach Logo | |
ประเภท | แผนกของไดม์เลอร์ |
---|---|
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
ก่อตั้ง | 1909 |
ผู้ก่อตั้ง | วิลเฮ็ล์ม ไมบัค |
เลิกกิจการ | พ.ศ. 2556 |
สาเหตุ | ควบรวมโดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ |
ถัดไป | เมอร์เซเดส-ไมบัค |
สำนักงานใหญ่ | ชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี |
ผลิตภัณฑ์ | รถยนต์หรู |
บริษัทแม่ | ไดม์เลอร์ |
เว็บไซต์ | Mercedes-Maybach |
ไมบัค (เยอรมัน: Maybach) เป็นรถยนต์นั่งจากประเทศเยอรมนี บริษัทก่อตั้งโดยวิลเฮ็ล์ม ไมบัค และลูกชายคาร์ล ไมบัค รถยนต์ของไมบัคมีลักษณะเป็นรถยนต์หรูหราขนาดใหญ่ เดิมทีไมบัคเป็นบริษัทผลิตเครื่องยนต์อากาศยานให้แก่เรือเหาะเซ็พเพอลีน (Zeppelin) และต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง ไมบัคหันไปผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ป้อนกองทัพเยอรมัน อาทิ พันท์เซอร์ 4, ทีเกอร์ 1 และรถถังพันเทอร์ ภายหลังสงคราม บริษัทยังคงได้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถไฟ เช่น เครื่องเยอรมัน วี200 และบริติชเรล คลาส 52 ที่มีชื่อเสียง
ในปีพ.ศ. 2503 ไดม์เลอร์-เบนซ์ ได้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่บริษัท และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Maybach Mercedes-Benz Motorenbau GmbH และในปี พ.ศ. 2512 ได้กลายมาเป็น MTU Friedrichshafen ปัจจุบันไดม์เลอร์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของไมบัค โดยบริษัทตั้งอยู่ที่เมืองชตุทท์การ์ท
รถยนต์หรู
ไมบัคได้กลับมาสร้างรถยนต์หรูหราอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การดูแลของเมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยได้เริ่มออกมา 2 รุ่นได้แก่ ไมบัค 57 และ ไมบัค 62 มีลักษณะเหมือนกันแตกต่างกันตรงความยาวของตัวถังรถ รถไมบัคถือว่าเป็นรถในระดับหรูหรา ซึ่งราคาใกล้เคียงกับรถบริษัทอื่นเช่น เบนลีย์ หรือ โรลส์-รอยซ์ ในปี พ.ศ. 2548 ไมบัคได้ออกรถยนต์รุ่น 57S มีลักษณะเป็นรถสปอร์ต โดยมีเครื่องยนต์ 6 ลิตร V12 เทอร์โบคู่ ผลิตแรงม้าได้สูงถึง 604 แรงม้า และแรงบิดสูงถึง 737 ปอนด์/ฟุต
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เมอร์เซเดส-เบนซ์ได้แถลงว่าจะยุติสายการผลิตรถยนต์ไมบัค ในปี พ.ศ. 2556 เนื่องจากมียอดขายน้อยเมื่อเทียบกับโรลส์-รอยซ์ [1] ในปัจจุบันนี้ Mercedes-Benz ได้เข้าร่วมการตลาดสมาชิกใหม่ของครอบครัว Mercedes-Maybach (เมอร์เซเดส-ไมบัค) ในงาน Los Angeles Auto Show 2016.
รุ่น
ก่อนสงครามโลก
- พ.ศ. 2462 (1919) ไมบัค W1 - รถทดสอบโดยใช้ตัวถังของเมอร์เซเดส
- พ.ศ. 2464 (1921) ไมบัค W3 - ไมบัครุ่นแรกแสดงในงานมอเตอร์โชว์ที่กรุงเบอร์ลิน เครื่องยนต์หกสูบเรียง 70 แรงม้า 5.7 ลิตร
- พ.ศ. 2469 (1926) ไมบัค W5 - เครื่องยนต์ 7 ลิตร 120 แรงม้า
- พ.ศ. 2472 (1929) ไมบัค 12 - เครื่องยนต์ V12
- พ.ศ. 2473 (1930) ไมบัค DSH - Doppel-Sechs-Halbe 1930-37
- พ.ศ. 2473 (1930) ไมบัค DS7 Zeppelin - 7 ลิตร V12, 150 แรงม้า
- พ.ศ. 2474 (1931) ไมบัค W6 - เครื่องยนต์เดียวกับ W5 แต่ฐานล้อกว้างขึ้น 1931-33
- พ.ศ. 2474 (1931) ไมบัค DS8 Zeppelin - 8 ลิตร V12, 200 แรงม้า
- พ.ศ. 2477 (1934) ไมบัค W6 DSG - เพิ่มประสิทธิภาพระบบขับเคลื่อนแบบโอเวอร์ไดรฟ์คู่
- พ.ศ. 2478 (1935) ไมบัค SW35 - 3.5 ลิตร 140 แรงม้า I6
- พ.ศ. 2479 (1936) ไมบัค SW38 - 3.8 ลิตร 140 แรงม้า I6
- พ.ศ. 2482 (1939) ไมบัค SW42 - 4.2 ลิตร 140 แรงม้า I6
W2 เป็นเครื่องยนต์หกสูบเรียง 5.7 ลิตร สั่งทำโดยสปายเกอร์เท่านั้น และในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ไมบัคได้ผลิตรถยนต์ประมาณ 1800 คัน
สมัยใหม่
- พ.ศ. 2545 (2002) ไมบัค 57 SWB และ 62 LWB
- พ.ศ. 2548 (2005) ไมบัค Exelero (รถต้นแบบแสดงในงาน IAA ที่แฟรงค์เฟิร์ต)
- พ.ศ. 2548 (2005) ไมบัค 57S SWB และ 62S LWB (อักษร S ย่อมาจากคำว่า special ที่แปลว่าพิเศษ มากกว่าความหมายของ sport ของรถสปอร์ต)
- พ.ศ. 2550 (2007) ไมบัค 62 Landaulet
- พ.ศ. 2550 (2009) ไมบัค 57 Zeppelin และ Maybach 62 Zeppelin
- พ.ศ. 2554 (2011) ไมบัค Guard
- พ.ศ. 2557 (2014) Mercedes-Maybach S600
- พ.ศ. 2558 (2015) Mercedes-Maybach S500 และ Mercedes-Maybach S600 Pullman
- พ.ศ. 2561 (2018) Mercedes-Maybach G 650 Landaulet
- พ.ศ. 2562 (2019) Mercedes-Maybach GLS600
-
ไมบัค 57
-
ไมบัค 57S
-
ไมบัค 62
-
ไมบัค 62 BMK
-
ไมบัค 62S Zeppelin
-
ไมบัค 62 Landaulet
-
Mercedes-Maybach S 500 4MATIC
-
เมอร์ซิเดส-ไมบัค G 650 Landaulet
อ้างอิง
- ↑ "Mercedes puts Maybach out of its misery". CNN. 28 November 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
- บริษัทไมบัค เก็บถาวร 2009-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน