บูดาเปสต์

เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศฮังการี
(เปลี่ยนทางจาก Budapest)

บูดาเปสต์ (อังกฤษ: Budapest, ออกเสียง: /ˈbuːdəpɛst/) หรือ บูดอแป็ชต์ (ฮังการี: Budapest, ออกเสียง: [ˈbudɒpɛʃt] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศฮังการี[10]และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ในสหภาพยุโรปตามจำนวนประชากรในเขตเมือง[11] เมืองนี้มีประชากรประมาณ 1.682 ล้านคน (ค.ศ. 2022)[12] บนพื้นที่ประมาณ 525 ตารางกิโลเมตร (203 ตารางไมล์)[13] ถือเป็น 17% ของประชากรฮังการี[14]

บูดาเปสต์
เมืองหลวง
เมืองหลวงของประเทศฮังการี
Magyarország fővárosa
ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: มหาวิหารเซนต์สตีเฟ่น (St. Stephen's Basilica), อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (กรุงบูดาเปสต์) (Szabadság-szobor), ป้อมชาวประมง (Halászbástya), สะพานโซ่เซแช็นยี (Széchenyi lánchíd), อาคารรัฐสภาฮังการี (Országház) และ จัตุรัสวีรชน (Hősök tere)
ธงของบูดาเปสต์
ธง
Coat of arms of Budapest
ตราอาร์ม
สมญา: 
หัวใจแห่งยุโรป ราชินีแห่งแม่น้ำดานูบ ไข่มุกแห่งแม่น้ำดานูบ ปารีสตะวันออก เมืองหลวงแห่งอิสรภาพ เมืองหลวงของสปาและบ่ออาบน้ำร้อน เมืองหลวงแห่งเทศกาล
บูดาเปสต์ตั้งอยู่ในฮังการี
บูดาเปสต์
บูดาเปสต์
ตำแหน่งในประเทศฮังการี
บูดาเปสต์ตั้งอยู่ในยุโรป
บูดาเปสต์
บูดาเปสต์
ตำแหน่งในทวีปยุโรป
พิกัด: 47°29′33″N 19°03′05″E / 47.49250°N 19.05139°E / 47.49250; 19.05139
ประเทศ ฮังการี
Regionฮังการีกลาง
การรวมเมืองบูดอ โอบูดา และ แป็ชต์17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1873
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครอง[2]
 • ประเภทMayor – Council
 • องค์กรGeneral Assembly of Budapest
 • นายกเทศมนตรีนายแกร์แก็ย คอราโช็นย์ (Gergely Karácsony)
พื้นที่[3]
 • เมืองหลวง525.2 ตร.กม. (202.8 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,538 ตร.กม. (980 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล7,626 ตร.กม. (2,944 ตร.ไมล์)
ความสูง[6]ต่ำที่สุด (แม่น้ำดานูบ) 96 m สูงที่สุด ภูเขายาโน็ช (János-hegy) 527 เมตร เมตร (315 to 1,729 ฟุต)
ประชากร
 (2017)[7][8]
 • เมืองหลวง1,752,286[1] คน
 • อันดับ1st (9th in EU)
 • ความหนาแน่น3,388 คน/ตร.กม. (8,770 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง2,978,067[5] คน
 • รวมปริมณฑล3,011,598[4] คน
เดมะนิมBudapester, budapesti (Hungarian)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
Postal code(s)1011–1239
Area code1
รหัส ISO 3166HU-BU
NUTS codeHU101
HDI (2018)0.901[9]very high · 1st
เว็บไซต์BudapestInfo Official
Government Official
ชื่อทางการBudapest, including the Banks of the Danube, the Buda Castle Quarter and Andrássy Avenue
เกณฑ์พิจารณาCultural: ii, iv
อ้างอิง400
ขึ้นทะเบียน1987 (สมัยที่ 11th)
เพิ่มเติม2002
พื้นที่473.3 ha
พื้นที่กันชน493.8 ha

บูดาเปสต์กลายเป็นเมืองที่มีอาณาเขตครอบคลุมทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำดานูบหลังจากการรวมกันของเมือง 3 เมือง ใน ปี ค.ศ. 1873 โดยทางฝั่งขวา (ฝั่งตะวันตก) ได้แก่ เมืองบูดอ (Buda) และโอบูดอ (Óbuda) เข้ากับ เมืองแป็ชต์ (Pest) ทางฝั่งซ้าย (ฝั่งตะวันออก) ประวัติความเป็นมาของบูดาเปสต์[15]เริ่มต้นเมื่อการตั้งถิ่นฐานของชาวเคลต์ในยุคแรก แล้วเปลี่ยนเป็นเมืองอาควินคัม (Aquincum)[16][17] ของโรมัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแพนโนเนียตอนล่างของจักรวรรดิโรมัน[16] ชาวฮังการีเข้ามาในดินแดนในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 ในการพิชิตที่ราบพันโนเนียของชาวฮังการี หลังจากนั้น พื้นที่ของบูดาเปสต์ในปัจจุบันถูกพวกมองโกลปล้นสะดม ระหว่าง ค.ศ. 1241–1242 หลังการถอยร่นทัพมองโกล กรุงบูดาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของวัฒนธรรมมนุษยนิยม ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาช่วงศตวรรษที่ 15 ภายใต้กษัตริย์แมทเธียส คอร์วินัส[18][19][20] หลังการพ่ายแพ้ของราชอาณาจักรฮังการียุทธการที่เมืองโมฮาช ในปี ค.ศ. 1526 ตามมาด้วยการปกครองของออตโตมันเกือบ 150 ปี[21] หลังจากการยึดบูดาคืนในปี ค.ศ. 1686 ภูมิภาคนี้ได้เข้าสู่ยุคใหม่แห่งความรุ่งเรืองโดยเมืองบูดาเปสต์กลายเป็นเมืองที่เจริญระดับโลก หลังจากการรวมกันของเมืองบูดอ เมืองโอบูดอ และ เมืองแป็ชต์ ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1873 บูดาเปสต์ยังกลายเป็นเมืองหลวงร่วมของจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี[22] ซึ่งเป็นมหาอำนาจในยุโรปที่สลายไปในปี ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมืองนี้เป็นจุดโฟกัสของการปฏิวัติฮังการีในปี ค.ศ. 1848 การรบที่บูดาเปสต์ในปี ค.ศ. 1945 และการปฏิวัติฮังการี ในปึ ค.ศ. 1956 จากสหภาพโซเวียต[23][24]

บูดาเปสต์เป็นเมืองระดับโลกอัลฟ่า[25]ที่มีจุดแข็งในด้านการค้า การเงิน สื่อ ศิลปะ แฟชั่น การวิจัย เทคโนโลยีการศึกษา และ ความบันเทิง[26] [27] เป็นศูนย์กลางทางการเงินของฮังการีและได้รับการจัดอันดับให้เป็นนครที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองเร็วเป็นอันดับ 2 ในยุโรป[28] บูดาเปสต์เป็นสำนักงานใหญ่ของสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งยุโรป (European Institute of Innovation and Technology), European Police College และสำนักงานต่างประเทศแห่งแรกของสำนักงานส่งเสริมการลงทุนของจีน (China Investment Promotion Agency) วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่งตั้งอยู่ในบูดาเปสต์ รวมถึงมหาวิทยาลัยเอิตเวิช โลรานด์ (ELTE) มหาวิทยาลัย Semmelweis และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์บูดาเปสต์ (BME)

รถไฟใต้ดินบูดาเปสต์ซึ่งเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1869 ให้บริการผู้โดยสารกว่า 1.27 ล้านคนต่อวัน ในขณะที่รถรางให้บริการผู้โดยสาร 1.08 ล้านคนต่อวัน พื้นที่ตอนกลางของบูดาเปสต์ริมแม่น้ำดานูบได้รับการจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก และมีอนุสรณ์สถานที่โดดเด่นหลายแห่งรวมถึงอาคารรัฐสภาฮังการี (Hungarian Parliament Building) และ ปราสาทบูดา (Buda Castle)[29] เมืองนี้ยังมีน้ำพุร้อนใต้พิภพราว 80 แห่ง[30] ระบบถ้ำน้ำร้อนที่ใหญ่ที่สุด[31] โบสถ์ที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และ อาคารรัฐสภาที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก[32] บูดาเปสต์ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 12 ล้านคนต่อปี ทำให้เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในยุโรป[33] เมืองนี้ได้รับเลือกให้เป็นจุดหมายปลายทางของยุโรปที่ดีที่สุดประจำปี 2019 ซึ่งเป็นผลสำรวจสำคัญที่จัดทำโดย EBD ซึ่งเป็นองค์กรการท่องเที่ยวที่เป็นพันธมิตรกับคณะกรรมาธิการยุโรป[34] นอกจากนี้ยังติดอันดับ Best European Destinations 2020 โดย Big7Media บูดาเปสต์ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่ดีที่สุดอันดับ 3 ของยุโรปในแบบสำรวจที่คล้ายกันซึ่งจัดทำโดย นิตยาสาร Which?[35]

นิรุกติศาสตร์

แก้

แปชต์ (Pest) และ บูดอ (Buda) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางการปกครองของฮังการี เริ่มถูกกล่าวถึงพร้อมกันในชื่อเดียวกันตั้งแต่สมัย ยุคปฏิรูปฮังการี (ค.ศ. 1825-1848) เป็นต้นมา โดยชื่อที่พบบ่อยคือ Pest-Buda เนื่องจากแปชต์เป็นเมืองที่ใหญ่กว่าและมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์มากกว่า แต่ในบางครั้งก็มีการใช้ชื่อ Buda-Pest ซึ่งเหมาะสมกับภาษาฮังการีมากกว่า และหลีกเลี่ยงการรวมเสียงพยัญชนะ ชื่อ "Buda-Pest" มาจากงานเขียน "Világ (โลก)" ของ เคานต์อิสต์วาน เซเชนี (Baron István Szechényi) นักปฏิรูปฮังการี ในปี ค.ศ. 1831[36] เมื่อมีการรวมเมืองสามเมืองเข้าด้วยกันในปี ค.ศ. 1873 ชื่อ "Budapest" ถูกเลือกให้เป็นชื่อใหม่ของเมืองหลวงอย่างเป็นธรรมชาติสำหรับผู้ใช้ภาษาฮังการี

ชื่อ "Buda" มีที่มาจากชื่อของเมืองโบราณในยุคโรมัน คือ เมืองอควินคุม (Aquincum) ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันในยุคต้นของราชวงศ์อาร์ปาด (Árpád) ราชวงศ์แรกของฮังการี แต่หลังจากการรุกรานฮังการีของมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ในชื่อ Újbuda หรือ "บูดาใหม่" และส่วนของเมืองอวินคุมเก่าจึงได้รับการเรียกว่า Ó-Buda หรือ "บูดอเก่า" แหล่งที่มาของชื่อ "Buda" นั้น เชื่อกันว่ามาจากชื่อพี่ชายของ กษัตริย์อัตติลา บรรพบุรุษของราชวงศ์อาร์ปาด แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่ชื่อ "Buda" ก็อาจมาจากชื่อบุคคลในยุคกลาง[37]

ชื่อ "Pest" อาจมีที่มาจากสมัยโบราณ โดยในงานเขียนของ ปโตเลมี ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ระบุชื่อเมืองว่า Pession (Πέσσιον)[38] อีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับมากกว่าคือ ชื่อนี้มาจากคำในภาษาสลาวิกที่แปลว่า "ถ้ำ" หรือ "โพรงหิน" ซึ่งสัมพันธ์กับ ภูเขาเกลแลร์ต (Gellért-hegy) บนฝั่งบูดอ ในภาษาฮังการีโบราณ คำว่า "Pest" หมายถึง "เตาอบ" ซึ่งในอดีตถูกใช้เรียกภูเขาที่มีถ้ำและแหล่งน้ำร้อนบนภูเขาเกลแลร์ตว่า Pest-hegy และบริเวณท่าเรือข้ามแม่น้ำดานูบด้านล่างเรียกว่า Pest-rév ชื่อนี้จึงถูกใช้เรียกเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำในที่สุด[39]

ประวัติศาสตร์

แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคจักรวรรดิโรมัน

แก้

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในดินแดนบูดาเปสต์มีขึ้นโดยชาวเคลต์ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1 ต่อมาดินแดนแห่งนี้ได้ถูกครอบครองโดยจักรวรรดิโรมัน การตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันจึงมีขึ้นในแถบนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในพื้นที่กรุงบูดาเปสต์ในปัจจุบัน โดยได้เริ่มมีการบันทึกโดยกองทหารโรมัน จักรวรรดิโรมันได้ก่อตั้งเมืองชื่อว่า เมืองอาควินคุม (Aquincum) ซึ่งกลายเป็นเมืองหลักของแคว้นพันโนเนียล่าง (Pannonia Inferior)โดยมีชื่อเมืองว่า อาควินคุม (Aquincum) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 89 บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดานูบ (ในพื้นที่โอบูดอ (Óbuda) ในปัจจุบัน) เมืองอาควินคัมจาก ค.ศ. 106 ถึงต้นศตวรรษที่ 4 อาควินคุมกลายเป็นศูนย์กลางของแคว้นพันโนเนีย (Pannonia) ตอนล่าง ชาวโรมันสร้างถนน อัฒจันทร์ ห้องอาบน้ำ และ บ้านที่มีพื้นอุ่น ภายในค่ายทหารที่มีป้อมปราการแห่งนี้ โดยมีประชากรประมาณ 20,000 คน บางครั้งจักรพรรดิโรมันก็ไปเยี่ยมชมพระราชวังของผู้ว่าการรัฐที่สร้างขึ้นบนเกาะโอบูดอ (Óbuda-sziget) ในปัจจุบัน ในพื้นที่ของเมืองบูดาเปสต์ปัจจุบัน มีซากปรักหักพันซึ่งเคยเป็นที่ตั้งค่ายเสริมของจักรวรรดิโรมันหลายแห่ง (เช่น อาเบร์ทฟอลวอ (Albertfalva), คัมโปนา (Campona)) และป้อมปราการต่อต้าน (เช่น คอนตรา-อาควินคุม (Contra-Aquincum)) เมืองอาควินคุมของโรมันเป็นเมืองโรมันที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดีที่สุดในฮังการี โบราณสถานแห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีส่วนด้านในแบบเปิดโล่ง

การพิชิตดินแดนของเผ่าฮังการี

แก้

ชนเผ่าฮังการีที่นำโดยผู้นำเผ่าอาร์พาด (Árpád) เดินทางบนหลังม้าออกจากบ้านเกิดเดิมทางตอนเหนือของบัลแกเรีย (เดิมต้นตระกูลของเผ่าฮังการี อยู่ในแถบเทือกเขาอูรัลในไซบีเรีย) โดยซาร์ซิเมียน (Tsar Simeon) หลังจากการรบที่บูห์ตอนใต้ (Battle of Southern Buh) ได้เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนนี้ช่วงปลายศตวรรษที่ 9 โดยแทนที่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวบัลแกเรียที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองบูดาและเมืองแป็ชต์ และอีกหนึ่งศตวรรษต่อมา ชาวฮังการีจึงได้ก่อตั้งราชอาณาจักรฮังการีอย่างเป็นทางการ [18] การวิจัยระบุว่าที่อยู่อาศัยของราชวงศ์อาร์พาด (Árpád dynasty) เป็นจุดเริ่มต้นของอำนาจศูนย์กลางใกล้กับเขตกรุงบูดาเปสต์ในปัจจุบัน จากข้อมูลของอาโนนิมุส (Anonymus) หลังจากการพิชิตที่ราบพันโนเนีย ผู้นำเผ่าฮังการี นามว่า อาร์พาด (Árpád) ได้เลือกบูดอวาร็อต (Budavárat) อดีตเมืองของอัลติลาเดอะฮุน ผู้เป็นต้นตระกูล ให้เป็นที่พักของชนเผ่าของเขาเนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของแอ่งที่ราบ ผู้นำเผ่าอาร์พาดถูกฝังที่นี่ในปี ค.ศ. 907 ในแฟเฮแร็จฮาซ (Fehéregyház) ที่อยู่ใกล้เคียงกับปราสาทบูดอวาร์ ในปัจจุบัน บูดอวาร็อตเชื่อกันว่าอยู่ในเขตโอบูดอ (Óbuda) (แม้ว่าจะมีนักโบราณคดีบางคนที่ระบุว่าอยู่ที่ แป็ชต์ฮิแด็กคูต Pesthidegkút หรือในเทือกเขาปิลิช (Pilis hegység) ที่อยู่ใกล้เคียงก็ตาม)

ยุคกลาง

แก้

กรุงบูดาเปสต์มีตำนานของบิชอปนามว่า แกลเลิร์ต (Bishop Gellért) ผู้ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มกบฏนอกรีต ข้างภูเขาแกลเลิร์ต (Gellért-hegy) (หรือชื่อเดิมคือภูเขาแป็ชต์) โดยตามตำนานเขาแทงและถูกกระแทกลงมาจากเนินเขาในถังไม้

การรุกรานของเผ่าตาตาร์ในศตวรรษที่ 13 ทำให้ชาวฮังการีได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องพรมแดนของที่ราบพันโนเนียให้แน่นหนายิ่งขึ้น กษัตริย์เบลอที่ 4 แห่งฮังการี จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างกำแพงหินเสริมรอบเมืองต่างๆ และตั้งพระราชวังของพระองค์เองไว้บนยอดเนินเขาบูดอ ในปี ค.ศ. 1361 กรุงบูดาจึงได้กลายเป็นเมืองหลวงของฮังการีอย่างเป็นทางการนับแต่นั้น บทบาททางวัฒนธรรมของบูดอมีความสำคัญอย่างยิ่งในรัชสมัยของกษัตริย์แมทเธียส คอร์วินุส (Matthias Corvinus) โดยวัฒนธรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลี มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาทางศิลปวัฒนธรรมในกรุงบูดาเปสต์ ห้องสมุดของกษัตริย์แมทเธียส คอร์วินุส ที่มีชื่อว่า บิบลิโอเธกา คอร์วิเนียนา (Bibliotheca Corviniana) เป็นแหล่งรวบรวมพงศาวดารประวัติศาสตร์และผลงานทางปรัชญาและวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของยุโรปในศตวรรษที่ 15 และมีขนาดเป็นอันดับสองรองจากหอสมุดวาติกันเท่านั้น หลังจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮังการีแห่งแรกในเมืองเปช ในปี ค.ศ. 1367 (มหาวิทยาลัยเปช University of Pécs) มหาวิทยาลัยแห่งที่สองได้รับการจัดตั้งขึ้นในโอบูดอ (Óbuda) ในปี ค.ศ. 1395 (มหาวิทยาลัยโอบูดอ University of Óbuda) หนังสือฮังการีเล่มแรกพิมพ์ในบูดอในปี ค.ศ. 1473 บูดอมีประชากรประมาณ 5,000 คน ในปี ค.ศ. 1500

การยึดครองของจักรวรรดิออตโตมัน
แก้

ในปี ค.ศ. 1686 จักรวรรดิออตโตมันพิชิตบูดอได้ในในปี ค.ศ. 1526 และ1529 จนในที่สุดก็เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1541 การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันกินเวลานานกว่า 150 ปี ชาวเติร์กได้สร้างสถานที่อาบน้ำที่โดดเด่นมากมายภายในเมือง ห้องอาบน้ำบางแห่งที่ชาวเติร์กสร้างขึ้นระหว่างการปกครอง ยังคงใช้งานได้ในอีก 500 ปีต่อมา เช่น โรงอาบน้ำรูดอช (Rudas Baths) และ โรงอาบน้ำคิราย (Király Baths) ในปี ค.ศ. 1547 จำนวนชาวคริสเตียนในเขตบูดาเปสต์ ลดลงเหลือหลักพัน และในปี ค.ศ. 1647 ก็ลดลงเหลือเพียงประมาณ 70 คน ส่วนทางตะวันตกของที่ราบที่ไม่มีคนปกครอง ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ฮับส์บูร์กในฐานะราชวงศ์ผู้ปกครองฮังการี

ในปี ค.ศ. 1686 สองปีหลังจากการปิดล้อมบูดอที่ไม่ประสบความสำเร็จ การบุกครั้งใหม่ได้เริ่มขึ้น เพื่อยึดคืนเมืองหลวงของฮังการี คราวนี้กองทัพของโฮลีลีก (Holy League) มีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าโดยมีทหารกว่า 74,000 คน ประกอบด้วย ชาวเยอรมัน โครเอเชีย ดัตช์ ฮังการี อังกฤษ สเปน เช็ก อิตาลี ฝรั่งเศส เบอร์กันดี เดนมาร์ก และ สวีเดน รวมทั้งชาวยุโรปอื่น ๆ ในฐานะทหารอาสาสมัคร ทหารปืนใหญ่และเจ้าหน้าที่ กองกำลังชาวคริสต์ได้ยึดเมืองบูดอ และในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ดินแดนฮังการีในอดีตทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ใกล้เมืองทิมิโซอารา ได้ถูกยึดคืนจากพวกเติร์กทั้งหมด มีการลงนามยินยอมคืนดินแดนที่ราบพันโนเนีย ในสนธิสัญญาคาร์โลวิทซ์ (Karlowitz) ในปี ค.ศ. 1699 เป็นยอมรับอย่างเป็นทางการว่าแสดงการสิ้นสุดการปกครองที่ราบพันโนเนียของจักรวรรดิออตโตมัน และในปี ค.ศ. 1718 ราชอาณาจักรฮังการีทั้งหมด รวมทั้งเมืองทิมิโซอารา ก็เป็นอิสระจากการปกครองของพวกออตโตมันในที่สุด

จักรวรรดิ
แก้
ยุคใหม่
แก้

ภูมิศาสตร์

แก้

ภูมิประเทศ

แก้
 
ภูมิประเทศภาพถ่ายดาวเทียมใจกลางกรุงบูดาเปสต์ (Budapest metropolitan area)

บูดาเปสต์ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ณ ศูนย์กลางของที่ราบพันโนเนีย ตั้งอยู่บนเส้นทางโบราณที่เชื่อมระหว่างเนินเขาทรานส์ดานูเบียกับที่ราบใหญ่ฮังการี หากเดินทางด้วยถนน กรุงบูดาเปสต์จะมีระยะห่างจากกรุงเวียนนาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 216 กิโลเมตร (339 ไมล์) ห่างจากกรุงวอร์ซอไปทางทิศใต้ 545 กิโลเมตร (339 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมอสโก 1,565 กิโลเมตร (697 ไมล์) ห่างไปทางทิศเหนือของกรุงเอเธนส์ 1,122 กิโลเมตร (697 ไมล์) ห่างจากกรุงมิลานไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 788 กิโลเมตร (490 ไมล์) และห่างจากกรุงปรากของสาธารณรัฐเช็กไป 443 กิโลเมตร (275 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้[40]

กรุงบูดาเปสต์มีพื้นที่ 525 ตารางกิโลเมตร (203 ตารางไมล์) ตั้งอยู่ในเขตฮังการีตอนกลาง (Közép-Magyarország) กรุงบูดาเปสต์ถูกล้อมรอบด้วยเขตที่อยู่อาศัยในเทศมณฑลแป็ชต์ (Pest megye)[41] กรุงบูดาเปสต์มีการขยายตัวออกจากศูนย์กลางเป็นระยะทาง 25 และ 29 กม. (16 และ 18 ไมล์) ในทิศทางเหนือ - ใต้และ ตะวันออก - ตะวันตก ตามลำดับ แม่น้ำดานูบไหลเข้าสู่เมืองจากทางเหนือ ซึ่งล้อมรอบเกาะกลางน้ำสองเกาะ คือเกาะโอบูดา และเกาะมากาเร็ต เกาะที่สาม คือ เกาะแชแป็ล (Csepel Island) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะบูดาเปสต์ดานูบ (Budapest Danube islands) แต่การแบ่งเขตของเกาะนี้ มีเพียงปลายทางเหนือสุดเท่านั้นที่อยู่ในเขตเมือง แม่น้ำที่แยกทั้งสองส่วนของเมืองมีความกว้าง 230 ม. ที่จุดที่แคบที่สุดในบูดาเปสต์ เขตแป็ชตจ์ (Pest) ทางตะวันออกของเมือง ตั้งอยู่บนที่ราบฮังการีใหญ่ ส่วนทางบูดา (Buda) ฝั่งเมืองตะวันตกค่อนข้างเป็นเนินเขาสลับซับซ้อน[42]

เมื่อถึงจุดนี้ ณ เมืองบูดาเปสต์ แม่น้ำดานูบจะมีการเลี้ยวย้อนมาทางใต้ (จากเดิมไหลไปทางตะวันออก ในประเทศสโลวาเกีย) เนื่องจากมีเกาะเล็ก ๆ อยู่กลางแม่น้ำ เมืองนี้มีความแตกต่างทางภูมิประเทศ: เมืองบูดาถูกสร้างขึ้นบนระเบียงแม่น้ำที่สูงขึ้นและมีเนินเขาทางด้านตะวันตก ในขณะที่เมืองแป็ชต์ที่มีขนาดใหญ่กว่ามาก แผ่กระจายออกไปบนที่ราบและมีลักษณะเป็นดินทรายบนฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ ภูมิประเทศของเมืองแป็ชต์ มีการขยายเพิ่มขึ้น โดยมีการไล่ระดับไปทางตะวันออกเล็กน้อย ส่วนทางตะวันออกสุดของเมืองแป็ชต์ อยู่ที่ระดับความสูงเดียวกันกับเนินเขาที่เล็กที่สุดของเมืองบูดา (Gellért Hill และ Castle Hill)[43]

เนินเขาของเมืองบูดา ประกอบด้วยหินปูนและโดโลไมต์เป็นส่วนใหญ่ น้ำที่ไหลผ่านสร้างระบบถ้ำหินงอกหินย้อย (speleothems) ขึ้นภายในหุ่บเหบเขา โดยระบบถ้ำที่มีชื่อเสียงที่สุดคือถ้ำปาลเวิดยิ (Pálvölgyi) (ความยาวรวม 7,200 ม. หรือ 23,600 ฟุต) และถ้ำแซมเลอแฮ็ดยิ (Szemlőhegyi) (ความยาวรวม 2,200 ม. หรือ 7,200 ฟุต) เนินเขาก่อตัวขึ้นในยุคไทรแอสซิก จุดที่สูงที่สุดของเนินเขาและบูดาเปสต์คือ ภูเขายาโน็ช (János-้hegy) สูงจากระดับน้ำทะเล 527 เมตร (1,729 ฟุต) จุดต่ำสุดคือแนวของแม่น้ำดานูบซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 96 เมตร (315 ฟุต) บูดาเปสต์ยังอุดมไปด้วยพื้นที่สีเขียว จากพื้นที่ 525 ตารางกิโลเมตร (203 ตารางไมล์) ของเมืองนั้น 83 ตารางกิโลเมตร (32 ตารางไมล์) เป็นพื้นที่สีเขียว[44] ซึ่งประกอบด้วยสวนสาธารณะและป่าไม้ ป่าของเนินเขาบูดาได้รับการคุ้มครองทางสิ่งแวดล้อม[45]

ความสำคัญของเมืองในแง่ของการจราจรนั้นสำคัญมาก เนื่องจากถนนสายหลักในยุโรป (European roads) และเส้นทางรถไฟในยุโรป (European railway) หลายสายนำไปสู่บูดาเปสต์[46] แม่น้ำดานูบเป็นทางน้ำที่สำคัญและภูมิภาคนี้ในใจกลางของที่ราบพันโนเนียนั้นตั้งอยู่บนถนนเส้นทางการค้า[47] บูดาเปสต์เป็นหนึ่งในสามเมืองหลวงของโลกที่มีบ่อน้ำพุร้อน (อีกแห่งคือ กรุงเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ และ กรุงโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย) น้ำพุร้อน 125 แห่งผลิตน้ำร้อนได้ 70 ล้านลิตร (15,000,000 แกลลอนหรือ 18,000,000 แกลลอนสหรัฐ) ต่อวัน โดยน้ำร้อนมีอุณหภูมิสูงถึง 58 องศาเซลเซียส น้ำเหล่านี้บางส่วนมีฤทธิ์ทางยาเนื่องจากมีแร่ธาตุที่มีคุณค่าทางการแพทย์[46]

ภูมิอากาศ

แก้

กรุงบูดาเปสต์มีสภาพภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปชื้น (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน อยู่ในโซน Cfa-Cfb-Dfa-Dfb) โดยมีฤดูหนาวที่ค่อนข้างเย็นและฤดูร้อนที่อบอุ่น ตามข้อมูลภูมิอากาศในปี ค.ศ. 1971-2000 เมื่อใช้ไอโซเทอร์ม 0 °C [48] ในฤดูหนาว (พฤศจิกายนถึงต้นเดือนมีนาคม) กรุงบูดาเปสต์มีอากาศหนาวเย็นและเมืองได้รับแสงแดดเพียงเล็กน้อย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีหิมะตกค่อนข้างบ่อยในเมืองและมีอุณหภูมิในตอนกลางคืนที่ -10 ° C (14 ° F) เป็นปรกติ ระหว่างกลางเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคมและเมษายน) จะเห็นสภาพที่แปรปรวน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อยู่ไม่คงที่ มีฝนตกบ้างประปราย ฤดูร้อนอันยาวนานของบูดาเปสต์ มีความยาวตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกันยายน โดยมีอากาศอบอุ่นหรืออบอุ่นมาก นอกจากนี้ยังมีฝนตกหนักอย่างกะทันหันโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ฤดูใบไม้ร่วงในกรุงบูดาเปสต์ (กลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนตุลาคม) มีฝนเล็กน้อยและมีแดดจัดเป็นเวลานาน โดยมีอุณหภูมิปานกลาง อุณหภูมิมักจะหนาวเย็นลงอย่างกะทันหันในช่วงปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน

ปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีในบูดาเปสต์อยู่ที่ประมาณ 23.5 นิ้ว (596.9 มม.) โดยเฉลี่ยมีฝนตก 84 วันและมีแสงแดด 1988 ชั่วโมง (จาก 4383 ชั่วโมงที่เป็นไปได้) ในแต่ละปี [49][50]ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคมปริมาณแสงแดดโดยเฉลี่ยจะเท่ากับประมาณที่เห็นในอิตาลีตอนเหนือ (เมืองเวนิส)

เมืองตั้งอยู่บนรอยต่อระหว่างโซนความแข็งแกร่ง (hardiness zone) (โซนภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม) โซน 6 และโซน 7 [51][52]

ข้อมูลภูมิอากาศของBudapest, 1971–2010
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.1
(64.6)
19.7
(67.5)
25.4
(77.7)
30.2
(86.4)
34.0
(93.2)
39.5
(103.1)
40.7
(105.3)
39.4
(102.9)
35.2
(95.4)
30.8
(87.4)
22.6
(72.7)
19.3
(66.7)
40.7
(105.3)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.9
(37.2)
5.5
(41.9)
10.6
(51.1)
16.4
(61.5)
21.9
(71.4)
24.6
(76.3)
26.7
(80.1)
26.6
(79.9)
21.6
(70.9)
15.4
(59.7)
7.7
(45.9)
4.0
(39.2)
15.3
(59.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 0.4
(32.7)
2.3
(36.1)
6.1
(43)
12.0
(53.6)
16.6
(61.9)
19.7
(67.5)
22.3
(72.1)
21.2
(70.2)
16.9
(62.4)
11.8
(53.2)
5.4
(41.7)
1.8
(35.2)
11.3
(52.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1.6
(29.1)
0.0
(32)
3.5
(38.3)
7.6
(45.7)
12.1
(53.8)
15.1
(59.2)
16.8
(62.2)
16.5
(61.7)
12.8
(55)
7.9
(46.2)
2.9
(37.2)
0.0
(32)
7.8
(46)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -25.6
(-14.1)
-23.4
(-10.1)
-15.1
(4.8)
-4.6
(23.7)
-1.6
(29.1)
3.0
(37.4)
5.9
(42.6)
5.0
(41)
-3.1
(26.4)
-9.5
(14.9)
-16.4
(2.5)
-20.8
(-5.4)
−25.6
(−14.1)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 37
(1.46)
29
(1.14)
30
(1.18)
42
(1.65)
62
(2.44)
63
(2.48)
45
(1.77)
49
(1.93)
40
(1.57)
39
(1.54)
53
(2.09)
43
(1.69)
532
(20.94)
ความชื้นร้อยละ 79 74 66 59 61 61 59 61 67 72 78 80 68.1
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 7.3 6.1 6.4 6.6 8.6 8.7 7.2 6.9 5.9 5.3 7.8 7.2 84
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 62 93 137 177 234 250 271 255 187 141 69 52 1,988
แหล่งที่มา: Hungarian Meteorological Service[53] and Weather Atlas[54]

สถาปัตยกรรม

แก้
 
 
ภาพทิวทัศน์ในยามค่ำคืน ซึ่งจะเห็นโบสถ์มัทธีอัส ปราสาทบูดา สะพานแขวน Széchenyi และรัฐสภา

เขตปกครอง

แก้
 
23 เขตของกรุงบูดาเปสต์

กรุงบูดาเปสต์ แบ่งออกเป็น 23 เขต (อังกฤษ: District, ฮังการี: Kerület) ซึ่งมีหมายเลขเรียงตามลำดับ เขตต่าง ๆ มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการพัฒนาเมือง การแบ่งเขตนี้ช่วยในการบริหารจัดการเมืองขนาดใหญ่ โดยแต่ละเขตมีเทศบาลของตัวเองที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการท้องถิ่น

ข้อมูล 23 เขตของกรุงบูดาเปสต์
เขตการปกครอง ประชากร พื้นที่และความหนาแน่นประชากร
เขต ชื่อทางการ คำอ่านภาษาไทย สัมมโนประชากร ค.ศ. 2013 กม2 ประชากรkm2
I Várkerület วาร์แกรึแร็ต (เขตปราสาท) 24.528 3,41 7.233
II Rózsadomb โรฌอโดม (เนินเขากุหลาบ) 88.011 36,34 2.426
III Óbuda-Békásmegyer โอบูดอ-เบกาชแมจแยร์ 123.889 39,69 3.117
IV Újpest อูยแปชต์ (เปสต์ใหม่) 99.050 18,82 5.227
V Belváros-Lipótváros เบลวาโรช-ลิโปตวาโรช (ดาว์นทาว์น-เมืองลิโปช) 27.342 2,59 10.534
VI Terézváros แตเรสวาโรช (เมืองแตเรส) 43.377 2,38 18.226
VII Erzsébetváros แอร์เจแบ็ตวาโรช (เมืองอลิธซาเบ็ต) 64.767 2,09 30.989
VIII Józsefváros โยแฌฟวาโรช (เมืองโยแฌฟ) 85.173 6,85 11.890
IX Ferencváros แฟแร็นตซ์วาโรช (เมืองแฟแร็นตซ์) 63.697 12,53 4.859
X Kőbánya เกอบาญอ (เหมืองหิน) 81.475 32,5 2.414
XI Újbuda อูยบูดอ (บูดอใหม่) 145.510 33,47 4.313
XII Hegyvidék แฮ็จย์วิเดก (ชนบทภูเขา) 55.776 26,67 2.109
XIII Angyalföld, Göncz Árpád városközpont, Újlipótváros, Vizafogó อ็องจ์ยอลเฟิลด์ (ดินแดนเทวดา),

เกินตซ์ อาร์ปาด วาโรชเกิสโปนต์ (จุดกลางเมือง เกินตซ์ อาร์ปาด), อูยลิโปตวาโรช (เมืองลิโปตใหม่), วิซอโฟโก (กับดักน้ำ)

118.320 13,44 8.804
XIV Zugló ซูกโล่ 123.786 18,15 6.820
XV Rákospalota, Pestújhely, Újpalota ราโกชปอโลตอ, แปชต์อูยแฮย์, อูยปอโลตอ 79.779 26,95 2.988
XVI Árpádföld, Cinkota, Mátyásföld,

Sashalom, Rákosszentmihály

อาร์ปาดเฟิลด์, ซินโกตอ, มาตยาชเฟิลด์,

ชอชฮอโลม, ราโกชแซนต์มิฮาย

68.235 33,52 2.037
XVII Rákosmente ราโกชแมนแต 78.537 54.83 1.418
XVIII Pestszentlőrinc-Pestszentimre แปชต์แซนต์เลอรินตซ์-แปชต์แซนต์อิมแร 94.663 38,61 2.414
XIX Kispest กิชแปชต์ (เปสต์เล็ก) 62.210 9,38 6.551
XX Pesterzsébet แปชต์แอร์เฌแบ็ต 63.887 12,18 5.198
XXI Csepel แชแป็ล 76.976 25,75 2.963
XXII Budafok-Tétény บูดอโฟก-เตเตญ 51.071 34,25 1.473
XXIII Soroksár โชโรกชาร์ 19.982 40,78 501
  กรุงบูดาเปสต์
1,740,041 525.2 3,313.1
9,937,628 93,030 107.2
แหล่งอ้างอิง: Eurostat,[55] HSCO[56]

เขตแต่ละเขตมีนายกเทศมนตรีและรัฐบาลเทศบาล (ที่มาจากการเลือกตั้งแยกต่างหากจากรัฐบาลเทศบาลทั่วไป เขตต่าง ๆ และรัฐบาลเทศบาลทั่วไปมีขอบเขตอำนาจที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญฮังการีและกฎหมาย โดยไม่มีการทับซ้อน แต่ละเขตมีชื่อที่รับรองอย่างเป็นทางการจากเทศบาล บางเขตมีชื่อที่สอดคล้องกับที่คนท้องถิ่นเรียกบริเวณหรือย่านนั้น ๆ เช่น Belváros (เขต V) และ Terézváros (เขต VI) ในขณะที่บางเขต (เช่น Újbuda เขต XI) เป็นชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ ป้ายถนนจะแสดงชื่อเขตและชื่อย่านนั้น ซึ่งชื่อย่านเหล่านี้มักจะเป็นชื่อหมู่บ้านที่ถูกผนวกเข้ามาในเมือง (เช่น Sashalom, Budafok) หรือหน่วยการปกครองที่เลิกใช้แล้วของอำเภอเดิม[57]


ประชากรศาสตร์

แก้

ชาติพันธุ์

แก้

ศาสนา

แก้

เศรษฐกิจ

แก้

กรุงบูดาเปสต์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยถูกจัดให้เป็นเมืองระดับ Beta+ ตามการศึกษาโดย Globalization and World Cities Research Network และเป็นเมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองเร็วเป็นอันดับสองในยุโรป โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวในเมืองเพิ่มขึ้น 2.4% และการจ้างงานเพิ่มขึ้น 4.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าในปี 2014[58] บูดาเปสต์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางธุรกิจและเศรษฐกิจของฮังการี คิดเป็น 39% ของรายได้ของประเทศ

ในปี ค.ศ. 2018 เมืองนี้มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) อยู่ที่ 154 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นหนึ่งในเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป ตามข้อมูลของ Hungarian Central Statistical Office ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว (GDP per capita) ประมาณ 35,751 ยูโร (14 ล้านโฟรินต์ฮังการี) ต่อคน บูดาเปสต์ยังติดอันดับหนึ่งใน 100 เมืองที่มี GDP สูงสุดของโลก

การเงินและบริษัทมหาชน

แก้

การเมืองการปกครอง

แก้

การบริหารเมือง

แก้

การท่องเที่ยว

แก้

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

แก้

จตุรัส

แก้

สวนสาธารณะ

แก้

เกาะกลางน้ำ

แก้

สปา

แก้

โครงสร้างพื้นฐานและขนส่งสาธารณะ

แก้

สนามบิน

แก้
 
ท่าอากาศยานนานาชาติบูดาเปสต์จากหน้าต่างเครื่องบิน

ท่าอากาศยานนานาชาติบูดาเปสต์ แฟแร็นทส์ ลิสท์ (Budapest Ferenc Liszt International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของกรุงบูดาเปสต์และประเทศฮังการี ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เปิดให้บริการเที่ยวบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนี้ได้รับการตั้งชื่อตามนักประพันธ์เพลงชื่อดังชาวฮังการี ฟรันทซ์ ลิสท์ (Franz Liszt) และเป็นศูนย์กลางของสายการบิน Wizz Air นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินเชื่อมต่อกับเมืองใหญ่ทั่วโลก

ระบบขนส่งสาธารณะ

แก้

บูดาเปสต์มีระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริหารจัดการโดย Budapesti Közlekedési Központ (BKK)[59] องค์กรขนส่งสาธารณะของเมือง ระบบขนส่งสาธารณะของบูดาเปสต์มีหลายรูปแบบ ทั้งรถไฟใต้ดิน, รถราง, รถประจำทาง, เรือข้ามฟาก, และรถไฟชานเมือง (HÉV) ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในเมืองและชานเมืองอย่างสะดวกสบาย

 
ชานชลาของรถไฟใต้ดิน M4 ของบูดาเปสต์ ณ​ จัตุรัสกาลวิน (Kálvin tér)

รถไฟใต้ดิน (Metro)

แก้

ระบบรถไฟใต้ดินของบูดาเปสต์ประกอบด้วย 4 สายหลัก ได้แก่

  1. สาย M1 (Millennium Underground) - เป็นหนึ่งในรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1896 เชื่อมต่อใจกลางเมืองกับเขตท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างจัตุรัสฮีโร่ส์ (Hősök tere) และสวนสาธารณะเมือง (Városliget)
  2. สาย M2 - เชื่อมต่อฝั่งบูดาและเปสต์ ผ่านจุดสำคัญอย่างจัตุรัสเดเล่ (Déli) ในบูดาและสถานีตะวันออก (Keleti) ในเปสต์
  3. สาย M3 - วิ่งแนวเหนือ-ใต้ ผ่านศูนย์กลางธุรกิจและพื้นที่อยู่อาศัยทางตอนเหนือและใต้ของเมือง
  4. สาย M4 - เปิดในปี ค.ศ. 2014 เชื่อมโยงฝั่งบูดาและเปสต์ด้วยเส้นทางใหม่ พร้อมด้วยเทคโนโลยีระบบรถไฟทันสมัย
สาย สี ชื่อและสถานีปลายทาง ปีที่เปิดให้บริการ (ค.ศ.) ปีล่าสุดที่เพิ่มสถานี (ค.ศ.) ความยาว (กม.) จำนวนสถานี
  เหลือง Line M1

(Vörösmarty tér ↔ Mexikói út)[60]

1896 1973 4.4 11
  แดง Line M2

(Déli pályaudvar ↔ Örs vezér tere)[61]

1970 1972 10.3 11
  น้ำเงิน Line M3

(Újpest-Központ ↔ Kőbánya-Kispest)[62]

1976 1990 17.3 20
  เขียว Line M4

(Keleti pályaudvar ↔ Kelenföld vasútállomás)[63]

2014 - 7.3 10
รวม: 39.4 52

รถราง (Tram)

แก้
 
รถรางสาย 2 เลียบผ่านแม่น้ำดานูบ ถ่ายในปี ค.ศ. 1990

รถรางเป็นอีกหนึ่งระบบขนส่งที่สำคัญและได้รับความนิยมในบูดาเปสต์ โดยเฉพาะรถรางสาย 4 และ 6 ซึ่งวิ่งเส้นทางหลักผ่านสะพาน Margaret (Margit híd) และสะพาน Petőfi (Petőfi híd) เชื่อมต่อระหว่างบูดาและเปสต์ รวมถึงเส้นทางรถรางสาย 2 ซึ่งวิ่งเลียบแม่น้ำดานูบผ่านสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เช่น รัฐสภาฮังการี และ โรงละครแห่งชาติฮังการี

รถประจำทาง (Bus)

แก้

รถประจำทางในบูดาเปสต์ให้บริการทั่วทั้งเมืองกว่า 200 สาย รวมถึงพื้นที่ที่รถไฟใต้ดินหรือรถรางเข้าไม่ถึง รถประจำทางมีทั้งสายธรรมดาและสายด่วนที่ให้บริการอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีบริการ รถโดยสารกลางคืน สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางในช่วงเวลาที่รถไฟใต้ดินและรถรางหยุดวิ่ง[64]

รถไฟชานเมือง (HÉV)

แก้

รถไฟ HÉV เชื่อมต่อบูดาเปสต์กับพื้นที่ชานเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง วิ่งเส้นทางไปยังเกาะมาร์กาเร็ต (Margaret Island), เขตเซเปล และบริเวณทางตะวันออกของเมือง เป็นระบบขนส่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ชานเมืองแต่ทำงานหรือมีธุระในตัวเมือง

เรือข้ามฟาก (Ferry)

แก้

บูดาเปสต์ตั้งอยู่บนแม่น้ำดานูบ ทำให้มีบริการเรือข้ามฟากเชื่อมต่อฝั่งบูดาและเปสต์ รวมถึงเส้นทางล่องเรือที่เป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมทัศนียภาพของเมืองจากแม่น้ำ

ตั๋วและการใช้งาน

แก้

บูดาเปสต์มีระบบตั๋วและบัตรผ่านหลากหลายประเภท ทั้งตั๋วเที่ยวเดียว ตั๋วรายวัน และบัตรผ่านรายเดือน ผู้โดยสารสามารถซื้อตั๋วได้ที่เครื่องจำหน่ายอัตโนมัติในสถานีขนส่งต่าง ๆ หรือตามร้านค้าปลีกทั่วเมือง นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชัน BKK FUTÁR ที่ให้ข้อมูลเส้นทางและเวลาการเดินรถแบบเรียลไทม์

ถนนและรางรถไฟ

แก้

สถานี

แก้

วัฒนธรรม

แก้

พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ

แก้

หอสมุด

แก้

โรงละคร

แก้

เทศกาล

แก้

แฟชั่น

แก้

สื่อ

แก้

อาหาร

แก้

กีฬา

แก้

การศึกษา

แก้

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

แก้

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Population by type of settlement – annually". Hungarian Central Statistical Office. 12 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2016.
  2. "The Municipality of Budapest (official)". 11 September 2014. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  3. "Budapest". Encyclopædia Britannica. 11 September 2014. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  4. "Metropolitan Area Populations". Eurostat. 21 October 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  5. "Functional Urban Areas – Population on 1 January by age groups and sex, 2018". Eurostat. 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2019.
  6. "Best view in Budapest from the city's highest hilltop". stay.com – Budapest. 11 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2010. สืบค้นเมื่อ 11 September 2014.
  7. "Gazetteer of Hungary, Hungarian Central Statistical Office, 2012" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2 October 2013.
  8. "Budapest City Review". Euromonitor International. December 2017. สืบค้นเมื่อ 8 May 2014.
  9. https://globaldatalab.org/shdi/shdi/HUN/?interpolation=0&extrapolation=0&nearest_real=0&years=2018
  10. https://en.wikipedia.org/wiki/Largest_cities_of_the_European_Union_by_population_within_city_limits
  11. Bachmann, Helena (18 March 2002). "Beauty and the Feast". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-09. สืบค้นเมื่อ 22 May 2008.
  12. "KSH: Magyarország népessége 333 ezer emberrel csökkent". telex (ภาษาฮังการี). 2023-02-16.
  13. "Budapest | History, Language, Population, Climate, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-26.
  14. "General informations about Budapest". archiv.budapest.hu (ภาษาฮังการี).
  15. history of Budapest
  16. 16.0 16.1 "Aquincum". Encyclopædia Britannica. 2008.
  17. Sugar, Peter F.; Péter Hanák; Tibor Frank (1990). "Hungary before the Hungarian Conquest". A History of Hungary. Indiana University Press. p. 3. ISBN 0-253-20867-X.
  18. Nagy, Balázs; Rady, Martyn; Szende, Katalin; Vadas, András (2016). Medieval Buda in Context. Leiden, Boston: Brill. ISBN 9789004307674. OCLC 1030542604.
  19. Drake, Miriam A. (2003). "Eastern Europe, England and Spain". Encyclopedia of Library and Information Science. CRC Press. p. 2498. ISBN 0-8247-2080-6. สืบค้นเมื่อ 22 May 2008.
  20. Casmir, Fred L. (1995). "Hungarian culture in communication". Communication in Eastern Europe: The Role of History, Culture, and media in contemporary conflicts. Lawrence Erlbaum Associates. p. 122. ISBN 0-8058-1625-9. สืบค้นเมื่อ 21 May 2008.[ลิงก์เสีย]
  21. Molnar, A Concise History of Hungary, Chronology pp. 15
  22. Alexander Watson, Ring of Steel: Germany and Austria-Hungary at War, 1914–1918 (2014). pp 536–40.: In the capital cities of Vienna and Budapest, the leftist and liberal movements and opposition parties strengthened and supported the separatism of ethnic minorities.
  23. UN General Assembly Special Committee on the Problem of Hungary (1957) "Chapter II.C, para 58 (p. 20)" (PDF). (1.47 MB)
  24. John Lukacs (1994). Budapest 1900: A Historical Portrait of a City and Its Culture. Grove Press. p. 222. ISBN 978-0-8021-3250-5.
  25. https://en.wikipedia.org/wiki/Globalization_and_World_Cities_Research_Network#Alpha_%E2%88%92
  26. "Hungary: Emerging Economic Power In Central And Eastern Europe". Thomas White International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2017. สืบค้นเมื่อ 18 June 2017.
  27. "Globalization and World Cities (GaWC) Research Network, Loughborough University". lboro.ac.uk. 24 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
  28. "Budapest Europe's Second Fastest-Developing Urban Economy, Study Reveals – The study examines the development of the world's 300 largest urban economies, ranking them according to the pace of development". Brookings Institution. 23 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 8 March 2016.
  29. "World Heritage Committee Inscribes 9 New Sites on the World Heritage List". Unesco World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 31 January 2008.
  30. "Hungary's, Budapest's and Balaton's Guide: Budapest's spas: Gellért, Király, Rác, Ru..'l'; l;lldas, Széchenyi, Lukács". Guideviaggi.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2008. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  31. "Big underground thermal lake unveiled in Budapest, Hungary". Tvnz.co.nz. 19 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2009. สืบค้นเมื่อ 7 July 2009.
  32. "The Parliament of Hungary is the world's third largest Parliament building". visitbudapest.travel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2017. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  33. "Euromonitor International's top city destinations ranking". Euromonitor. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.
  34. Subscribe. "Best places to travel in 2019". Europe's Best Destinations. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
  35. "Best City Breaks in Europe". Which?. สืบค้นเมื่อ 24 October 2019.
  36. Bácskai Vera. "Széchenyi tervei Pest-Buda felemelésére és szépítésére". bfl.archivportal.hu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-27.
  37. Györffy György (1997). Pest-Buda kialakulása: Budapest története a honfoglalástól az Árpád-kor végi székvárossá alakulásig. Budapest: Akadémiai Könyvkiadó. p. 242.
  38. William Smith (ed.), A Dictionary of Greek and Roman Geography (London : I.B. Tauris, 2006)
  39. Moór Elemér (1938). "Pest" (PDF). Népünk és nyelvünk. 10: 90–93.
  40. "Budapest". Google Maps. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  41. Péter, Laszlo (21 November 2013). "Budapest". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  42. Török, András. "Budapest". Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2009. สืบค้นเมื่อ 6 April 2008.
  43. "General information – Geography". Budapest.com. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  44. "Geography of Budapest". Budapest Tourist Info. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  45. "Protected Landscape Area of Buda". Duna-Ipoly National Park Directorate. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  46. 46.0 46.1 "General information – Geography". Budapest.com. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017.
  47. "Geography of Budapest". Budapest Pocket Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  48. Peel, M. C.; Finlayson, B. L.; McMahon, T. A. "World Map of Köppen-Geiger climate classification". The University of Melbourne. สืบค้นเมื่อ 26 April 2013 – โดยทาง WikiMedia commons.
  49. "Climate Budapest – Hungary". Climatedata.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2015. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  50. "Sunshine & Daylight Hours in Budapest, Hungary". climatemps.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2015. สืบค้นเมื่อ 4 December 2014.
  51. "Hardiness zone – Gardenology.org – Plant Encyclopedia and Gardening wiki". Gardenology.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  52. "Europa Hardiness zone map". Backyardgardener.com. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
  53. "Monthly Averages for Budapest, Hungary (based on data from 1970 to 2010)". Hungarian Meteorological Service.
  54. d.o.o, Yu Media Group. "Budapest, Hungary – Detailed climate information and monthly weather forecast". Weather Atlas. สืบค้นเมื่อ 3 July 2019.
  55. "Eurostat regional yearbook 2011" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2012. สืบค้นเมื่อ 5 May 2014.
  56. "Gazetteer of Hungary, Hungarian Central Statistical Office, 2012" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 October 2013.
  57. "Neighborhoods in Brief". Frommer's Budapest. 2011. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.
  58. "Globalization and World Cities Research Network". {{cite web}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  59. "BKK.hu". bkk.hu (ภาษาฮังการี).
  60. Robert Schwandl. "Line M1 Vörösmarty tér - Mexikói út". UrbanRail. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  61. Robert Schwandl. "Line M2 Déli pályaudvar - Örs vezér tere". UrbanRail. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  62. Robert Schwandl. "Line 3 Újpest-Központ - Kõbánya-Kispest". UrbanRail. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
  63. Robert Schwandl. "Line M4 Keleti pályaudvar- Kelenföld vasútállomás". UrbanRail. สืบค้นเมื่อ 27 March 2019.
  64. "Public transport - provided by Budapest mobility manager BKK". bud.hu (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้