ไมน์คราฟต์

วีดีโอเกม วางจำหน่ายเมื่อ ค.ศ. 2011

ไมน์คราฟต์ (อังกฤษ: Minecraft) เป็นวิดีโอเกมแซนด์บ็อกซ์ที่พัฒนาโดยบริษัทพัฒนาเกมสวีเดน โมแจงสตูดิโอส์ (Mojang Studios) เกมไมน์คราฟต์สร้างขึ้นโดยนักออกแบบเกมชาวสวีเดน มาร์กุส แพช็อน (Markus Persson) หรือ น็อตช์ (Notch) ด้วยภาษาโปรแกรมจาวา ในช่วงแรกเริ่มมีการปล่อยเออร์ลีแอ็กเซส (early access) สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552 และปล่อยเกมตัวเต็มในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ด้วยการที่เย็นส์ แบร์เยนสเตน (Jens Bergensten) เข้ามาพัฒนาเกมต่อจากแพร์ช็อนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไมน์คราฟต์สามารถเล่นผ่านได้ในหลากหลายแพลตฟอร์มและเป็นเกมที่ขายดีที่สุดตลอดกาลด้วยยอดขายที่มากกว่า 238 ล้านชุด และมีผู้เล่นที่มีความเคลื่อนไหวต่อเดือนเกือบ 140 ล้านคน ในช่วงปี พ.ศ. 2564

ไมน์คราฟต์
Minecraft
โลโก้ของไมน์คราฟต์
ผู้พัฒนาโมแจงสตูดิโอส์[a]
ผู้จัดจำหน่าย
ออกแบบ
ศิลปิน
  • มาร์คุส ท็อยโวเน็น
  • ยาสเปอร์ บูร์สตรา
แต่งเพลงซีโฟร์เอทีน[g]
ชุดไมน์คราฟต์
เครื่องเล่น
วางจำหน่าย
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[h]
  • วินโดวส์ แมคโอเอส ลินุกซ์
    • ทั่วโลก: 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[3]

    แอนดรอยด์

    • ทั่วโลก: 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554[4]

    ไอโอเอส

    • ทั่วโลก: 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554[5]

    เอกซ์บอกซ์ 360

    • ทั่วโลก: 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[6]

    ราสป์เบอร์รีพาย

    • ทั่วโลก: 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[7]

    เพลย์สเตชัน 3

    • NA: 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556
    • EU: 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

    ไฟร์โอเอส

    • ทั่วโลก: 2 เมษายน พ.ศ. 2557[8]

    เพลย์สเตชัน 4

    • ทั่วโลก: 4 กันยายน พ.ศ. 2557[9]

    เอกซ์บอกซ์ วัน

    • ทั่วโลก: 5 กันยายน พ.ศ. 2557[10]

    เพลย์สเตชัน วิตา

    • NA: 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557[11]
    • EU: 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

    วินโดวส์โฟน

    • ทั่วโลก: 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557[12]

    วินโดวส์ 10

    • ทั่วโลก: 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[13]

    วียู

    • ทั่วโลก: 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558[14]

    ทีวีโอเอส

    • ทั่วโลก: 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559[15]

    นินเท็นโดสวิตช์

    • NA: 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
    • PAL: 12 พฤษภาคม พศ. 2560

    นิว นินเท็นโด 3ดีเอส

    • ทั่วโลก: 13 กันยายน พ.ศ. 2560[16]
    • EU: 20 กันยายน 2560
แนวแซนด์บ็อกซ์, เอาชีวิตรอด
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน

ในไมน์คราฟต์ผู้เล่นมีอิสระในการสำรวจโลก 3 มิติที่สร้างขึ้นอย่างเป็นกระบวนการในลักษณะบล็อกเหลี่ยม ๆ ด้วยภูมิประเทศที่แทบไม่มีที่สิ้นสุด ค้นพบและเก็บเกี่ยววัตถุดิบต่าง ๆ คราฟต์อุปกรณ์และไอเทม และสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโหมดเกมที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถต่อสู้กับม็อบที่ถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ตลอดจนร่วมมือหรือแข่งขันกับผู้เล่นอื่นในโลกเดียวกัน โหมดเกมในที่นี้ประกอบด้วยโหมดเอาชีวิตรอดซึ่งเป็นโหมดที่ผู้เล่นต้องเก็บเกี่ยวทรัพยากรเพื่อสร้างสิ่งต่าง ๆ และดูแลรักษาความเป็นอยู่ด้วย และอีกส่วนคือโหมดสร้างสรรค์ซึ่งมีทรัพยากรอย่างไม่จำกัดให้แก่ผู้เล่นและยังสามารถเข้าถึงการบินได้ นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถดัดแปรเกมเพื่อสร้างระบบเกม ไอเทม และสินทรัพย์ใหม่ ๆ ได้เช่นกัน

ไมน์คราฟต์ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทั้งชนะรางวัลหลายรายการและเป็นหนึ่งในวิดีโอเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล ซึ่งสื่อสังคม การล้อเลียน การดัดแปลง สินค้า งานประชุมประจำปีอย่างไมน์คอน (MineCon) ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกมโด่งดังเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ไมน์คราฟต์ยังถูกนำไปใช้เพื่อการศึกษาในการสอนเคมี การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2557 ไมโครซอฟท์เข้าซื้อบริษัทโมแจงและทรัพย์สินทางปัญญาของไมน์คราฟต์ด้วยเงินจำนวน 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไมน์คราฟต์ยังมีเกมสปินออฟหลายเกม เช่น ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด, ไมน์คราฟต์ดันเจียนส์ และไมน์คราฟต์เอิร์ท

ระบบเกม

ไมน์คราฟต์ เป็นเกมแซนด์บ็อกซ์สามมิติที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย คือผู้เล่นมีอิสระในการเลือกว่าจะเล่นเกมอย่างไร[18] อย่างไรก็ตามก็มีระบบอะชีฟเมนต์ (Achievement)[19] เกมการเล่นโดยค่าเริ่มต้นจะเป็นมุมมองบุคคลที่หนึ่ง แต่ผู้เล่นก็สามารถปรับเป็นมุมมองบุคคลที่สามได้[20] เกมการเล่นหลัก ๆ ของเกมนี้จะเกี่ยวกับการทำลายและวางบล็อก โดยโลกของเกมนี้ประกอบไปด้วยวัตถุที่เป็น 3 มิติ (โดยส่วนใหญ่จะเป็นลูกบาศก์) จัดเรียงในรูปแบบของตารางและบล็อกเหล่านั้นจะแทนเป็นวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน หิน แร่ต่าง ๆ น้ำ ลาวา ลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น ในขณะที่ผู้เล่นสามารถเดินทางได้อย่างอิสระรอบ ๆ โลก แต่วัตถุต่าง ๆ จะสามารถถูกวางไว้ในรูปแบบของตารางที่กำหนดไว้เท่านั้น ผู้เล่นสามารถเก็บวัตถุเหล่านี้และวางมันในที่ที่ผู้เล่นต้องการได้[21]

ณ จุดเริ่มต้นของเกมผู้เล่นจะถูกสุ่มเกิดบนพื้นผิวโลก ซึ่งโลกนั้นไม่มีที่สิ้นสุด (ความจริงแล้วมีจุดสิ้นสุด แต่ไกลมาก)[22] โลกจะถูกแบ่งเป็นเขตไบโอมตั้งแต่ทะเลทรายไปจนถึงป่าและทุ่งหิมะ[23][24] ผู้เล่นสามารถเดินทางข้ามภูมิประเทศต่าง ๆ ได้ ซึ่งประกอบไปด้วยที่ราบ ภูเขา ป่า ถ้ำ และแหล่งน้ำต่าง ๆ[22] ระบบเวลาในเกมนี้จะประกอบไปด้วยรอบกลางวันและกลางคืน 1 รอบ (กลางวันและกลางคืน) จะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีในชีวิตจริง ตลอดในเส้นทางของเกมผู้เล่นจะได้พบตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม (Non-player character หรือ NPC) ซึ่งเรียกว่า ม็อบ ประกอบไปด้วยสัตว์ ชาวบ้าน (Villager) และสิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นมิตร[25] สัตว์ที่เป็นมิตร เช่น วัว หมู และไก่ สามารถฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหารหรือส่วนผสมสำหรับการคราฟต์ได้ ซึ่งพวกมันจะเกิด (Spawn) ในเวลากลางวัน ในตรงกันข้ามม็อบที่ไม่เป็นมิตร เช่น แมงมุม โครงกระดูก และซอมบี จะเกิดในตอนกลางคืนหรือที่มืด เช่น ถ้ำ[22] สิ่งมีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ในไมน์คราฟต์บางตัวได้รับการตั้งข้อสังเกตโดยนักวิจารณ์ เช่น ครีปเปอร์ (Creeper) สิ่งมีชีวิตที่ระเบิดได้ ซึ่งมันจะย่องมาหาผู้เล่น เอนเดอร์แมน (Enderman) สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการเทเลพอร์ต (Teleport) และหยิบบล็อก[26]

 
มอนสเตอร์บางตัวในไมน์คราฟต์ เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา : ซอมบี แมงมุม เอนเดอร์แมน ครีปเปอร์ สเกเลตัน

โลกของเกมนี้จะถูกสร้างเพิ่มขึ้นขณะที่ผู้เล่นสำรวจมัน[27][28] ถึงแม้ว่ามันจะมีการจำกัดในแกนตั้ง แต่ถ้าดูตามแกนนอนแล้วพื้นจะมีไม่มีจำกัด แต่มันจะมีปัญหาทางเทคนิคเมื่อเราไปในสถานที่ที่ไกลมาก ๆ[27] เกมนี้จะแบ่งข้อมูลโลกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ชังก์" (Chunk) ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกสร้างหรือโหลดในหน่วยความจำก็ต่อเมื่อผู้เล่นอยู่ใกล้ ๆ บริเวณนั้นเท่านั้น[27]

ระบบฟิสิกส์ของเกมนี้มักถูกวิจารณ์ว่าไม่มีความสมจริง[29] คือ บล็อกส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบจากแรงดึงดูด ของเหลวไหลจากบล็อกที่เป็นจุดกำเนิด ซึ่งสามารถนำมันออกโดยการวางบล็อกตรงบล็อกที่เป็นจุดกำเนิดหรือใช้ถังตักมัน ระบบที่ซับซ้อนสามารถถูกสร้างได้จากอุปกรณ์เครื่องจักรกลพื้นฐาน วงจรไฟฟ้า และลอจิกเกตในเกมที่เรียกกว่า เรดสโตน (Redstone)[30]

ไมน์คราฟต์ มีอีก 2 มิติที่นอกเหนือจากโลกหลักนั้นคือ เนเธอร์ (Nether) หรือนรก และดิเอนด์ (The End)[26] เนเธอร์เป็นมิติที่เหมือนนรก ซึ่งผู้เล่นสามารถไปมิตินี้ได้โดยผ่านทางพอร์ทัล (Portal) ที่ผู้เล่นที่สร้างขึ้น ในนั้นจะมีทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์มากมาย และมิตินี้ยังสามารถใช้ในการเดินทางระยะไกล ๆ ในโลกปกติได้ (ใช้ย่นระยะทางได้)[31] ดิเอนเป็นดินแดนที่แห้งแล้งซึ่งมีบอสมังกรที่เรียกว่า มังกรแห่งเอนเดอร์ (Ender Dragon) อยู่[32] การฆ่ามังกรนั้นจะนำไปสู่เครดิตตอนจบเกม ซึ่งเขียนโดยนักเขียนชาวไอริช จูเลียน กอฟ (Julian Gough)[33] ต่อจากนั้นผู้เล่นก็จะสามารถกลับไปยังจุดเกิด (Spawn Point) ดั้งเดิมที่โลกปกติได้และจะบรรลุ "The End" นอกจากนี้ยังมีบอสตัวที่สองที่เรียกว่า "วิเธอร์" (Wither) ซึ่งเมื่อฆ่ามันได้แล้วมันจะปล่อยทิ้งวัสดุที่จำเป็นสำหรับสร้างดวงประทีป (Beacon) ซึ่งมันสามารถเสริมความสามารถของผู้เล่นได้เมื่ออยู่ใกล้ ๆ มัน

เกมนี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย 4 โหมด : เอาชีวิตรอด สร้างสรรค์ ผจญภัย และผู้ชม และมันก็ยังสามารถเปลี่ยนระดับความยาก (Difficulty) ได้ 4 ระดับ; ความยากระดับง่ายที่สุด (ปลอดภัย (Peaceful)) จะป้องกันไม่ให้สิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นมิตรเกิดได้[34]

โหมดเอาชีวิตรอด

 
หน้าต่างการคราฟต์ในไมน์คราฟต์ที่แสดงให้เห็นถึงการคราฟต์ขวานหิน พร้อมกับบล็อกและไอเทมอื่น ๆ ในช่องเก็บของของผู้เล่น

โหมดนี้ผู้เล่นจะต้องเก็บรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติ (เช่น ไม้ หิน) ที่พบตามสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะนำมาคราฟต์เป็นบล็อกหรือสิ่งของบางชนิด[22] ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาก คือมอนสเตอร์จะเกิดในที่มืดที่ห่าง ๆ จากผู้เล่น ฉะนั้นแล้วผู้เล่นควรที่จะสร้างที่พักในช่วงเวลากลางคืน[22] ในโหมดนี้จะมีหลอดเลือดด้วย ซึ่งหลอดนี้จะลดลงก็ต่อเมื่อถูกโจมตีจากมอนสเตอร์ ตกจากที่สูง จมน้ำ ตกลงไปในลาวา หายใจไม่ออก ความหิว และกิจกรรมอื่น ๆ ผู้เล่นก็จะมีหลอดความหิวด้วยเช่นกัน ซึ่งจะสามารถเติมหลอดนี้ได้ด้วยการกินอาหารในเกม ยกเว้นในโหมดความยาก "ปลอดภัย" (Peaceful) หลอดอาหารในความยากนี้จะไม่ลดลงเลย ถ้าหลอดอาหารไม่เต็มการเพิ่มเลือดจะถูกหยุดโดยอัตโนมัติและในที่สุดเลือดก็จะลดลงนั้นเอง เลือดจะเพิ่มได้ก็ต่อเมื่อหลอดอาอาหารเต็ม แต่ในโหมดความยาก "ปลอดภัย" เลือดจะเพิ่มขึ้นทันทีไม่ว่าหลอดอาหารจะเต็มหรือไม่

มีของมากมายในผู้เล่นสามารถคราฟต์ได้ใน ไมน์คราฟต์[35] ผู้เล่นสามารถคราฟต์ชุดเกราะเพื่อนำมาบรรเทาความเสียหายจากการถูกโจมตีได้ ในขณะที่อาวุธ เช่น ดาบ สามารถถูกนำมาคราฟต์เพื่อทำให้ฆ่าศัตรูและสัตว์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้เล่นก็สามารถนำทรัพยากรมาคราฟต์เป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน เช่น ขวาน พลั่ว หรือที่ขุด เพื่อที่จะนำมาตัดต้นไม้ ขุดดิน และขุดแร่ตามลำดับ; อุปกรณ์ที่ทำจากเหล็กจะสามารถทำให้ใช้งานได้เร็วกว่าอุปกรณ์ที่ทำจากหินหรือไม้ และมันก็สามารถใช้ได้นานขึ้นด้วย ผู้เล่นก็สามารถแลกของกับชาวบ้าน (Villager) ได้เช่นกันด้วยระบบค้าขายที่เกี่ยวข้องกับมรกต เพื่อที่จะแลกของต่าง ๆ[36] ส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะแลกของโดยใช้มรกต ข้าว หรือวัสดุอื่น ๆ[25][36]

เกมนี้มีระบบช่องเก็บของ (Inventory) และผู้เล่นสามารถใส่ของได้ในจำนวนที่จำกัด เมื่อผู้เล่นตายของในตัวผู้เล่นจะถูกปล่อยทิ้งและผู้เล่นจะไปเกิดใหม่ ณ จุดเกิดปัจจุบัน ซึ่งจุดเกิดค่าเริ่มต้นคือตรงที่ผู้เล่นเกิดครั้งแรก แต่ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนจุดเกิดได้โดยการนอนที่เตียง[37] ของที่ตกอยู่ที่พื้นสามารถได้คืนได้ถ้าผู้เล่นไปเก็บก่อนที่มันจะหายไป (Despawn) ผู้เล่นสามารถได้ค่าประสบการณ์ จากการฆ่าม็อบและผู้เล่นคนอื่น ๆ, การขุดแร่, การหลอมแร่, การผสมพันธุ์สัตว์ และการทำอาหาร ค่าประสบการณ์จะถูกใช้เมื่อทำการร่ายมนตร์ (Enchant) อุปกรณ์ ขุดเกราะ และอาวุธ[34] โดยทั่วไปแล้วของที่เอ็นชานต์แล้วจะทำให้ของนั้นมีพลังมากขึ้น ใช้ได้นานขึ้น หรือมีการใช้งานที่พิเศษ[34]

โหมดฮาร์ดคอร์

ในโหมดนี้การเล่นจะเหมือนกับโหมดเอาชีวิตรอดแต่เป็นโหมดที่ยากที่สุด เพราะตัวเกมจะถูกล็อกไว้ที่ระดับความยาก "ฮาร์ด" และถ้าหากผู้เล่นตายแล้วจะไม่สามารถเกิดใหม่ได้ (ตายอย่างถาวร) ซึ่งผู้เล่นจะสามารถเลือกได้ว่าจะกลับไปหน้าเมนูหลัก (โลกของผู้เล่นจะโดนลบทันที) หรือ เลือกสำรวจโลก โดยตัวเกมจะตั้งให้ผู้เล่นอยู่ในโหมดผู้ชม และทำการสำรวจโลกได้[38][39] ถ้าผู้เล่นตายในเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นโหมดฮาร์ดคอร์ ผู้เล่นจะถูกแบน (Ban) จากเซิร์ฟเวอร์นั้นทันที

โหมดสร้างสรรค์

 
ตัวอย่างสิ่งก่อสร้างใน ไมน์คราฟต์

ในโหมดสร้างสรรค์ผู้เล่นจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรและของทุกอย่างในเกมผ่านช่องเก็บของ และผู้เล่นสามารถหยิบของแล้วนำออกมาวางได้ทันที[40] ผู้เล่นจะสามารถบินได้อย่างอิสระรอบ ๆ โลก และจะไม่ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ความเสียหายจากม็อบ และความหิว[41][42] โหมดนี้จะช่วยให้ผู้เล่นมุ่งเน้นไปที่การสร้างสิ่งก่อสร้างและสร้างโปรเจกต์ที่ใหญ่ ๆ ได้นั้นเอง[40]

โหมดผจญภัย

โหมดผจญภัยได้ถูกเพิ่มเข้ามาใน ไมน์คราฟต์ เวอร์ชัน 1.3; มันได้รับการออกแบบมาเฉพาะที่จะให้ผู้เล่นได้เล่นและผจญภัยไปในแมปของผู้เล่นคนอื่น[43][44][45] เกมการเล่นจะคล้ายกับโหมดเอาชีวิตรอด แต่ผู้เล่นจะมีข้อจำกัด ซึ่งข้อจำกัดนี้ก็แล้วแต่ผู้สร้างแมปจะกำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ผู้เล่นได้รับของที่จำเป็นและประสบการณ์ในการผจญภัยในทางที่ผู้สร้างแมปได้ตั้งใจไว้[45] นอกจากนี้ในการออกแบบแมปจะมีการใช้บล็อกคำสั่ง (Command Block); บล็อกนี้จะทำให้ผู้สร้างแมปได้เพิ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้เล่นผ่านทางคำสั่งต่าง ๆ ของบล็อกนี้[46]

โหมดผู้ชม

โหมดผู้ชมจะทำให้ผู้เล่นสามารถบินไปได้รอบ ๆ ทะลุบล็อก และดูผู้เล่นคนอื่นเล่นโดยที่ไม่มีผลกระทบต่อกัน โหมดนี้ตรงรายการฮอตบาร์ (Hotbar) จะสามารถทำให้ผู้เล่นเทเลพอร์ต (Teleport) ไปหาผู้เล่นคนอื่นได้ และสามารถมองในมุมมองของผู้เล่นคนอื่นหรือสิ่งมีชีวิตอื่นได้ บางทีมุมมองของสิ่งมีชีวิตอื่นอาจจะแตกต่างกับมุมมองของผู้เล่นก็ได้[47]

โหมดเล่นหลายคน (Multiplayer)

โหมดเล่นหลายคนใน ไมน์คราฟต์ จะใช้ได้โดยผ่านผู้เล่นโฮสต์ (Host) และธุรกิจโฮสต์เซิร์ฟเวอร์ และช่วยให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์และสื่อสารซึ่งกันและกันในโลกเดียวกัน[48] ผู้เล่นสามารถเปิดเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเองได้หรือใช้บริการผู้ให้บริการโฮสติง โลกผู้เล่นคนเดี่ยวจะมีข่ายงานบริเวณเฉพาะที่สนับสนุนอยู่ ซึ่งจะอนุญาตให้ผู้เล่นเข้าร่วมโลกบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันได้โดยที่ไม่ต้องตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด[49] ไมน์คราฟต์ เซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นจะถูกควบคุมโดยเจ้าของเซิร์ฟเวอร์ คนที่สามารถเข้าถึงคำสั่งของเซิร์ฟเวอร์ได้ เช่น การตั้งค่าเวลาและการเทเลพอร์ตผู้เล่น เจ้าของเซิร์ฟเวอร์ก็สามารถตั้งไม่ให้ผู้เล่นชื่อนี้หรือเลขที่อยู่ไอพีนี้ไม่ให้สามารถเข้าเซิร์ฟเวอร์ได้ด้วยเช่นกัน[48] เซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นจะนำเสนอกิจกรรมที่หลากหลายด้วยบางเซิร์ฟเวอร์ที่มีกฎที่เป็นเอกลักษณ์และกฎที่กำหนดเอง ผู้เล่นต่อสู้กับผู้เล่น ก็สามารถที่จะเปิดได้เพื่อที่จะให้ผู้เล่นได้ต่อสู้กัน[50] หลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์ในปัจจุบันนี้ได้มีปลั๊กอินที่สามารถทำให้ผู้เล่นและเซิร์ฟเวอร์ทำสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากปกติ ในปี ค.ศ. 2003 โมแยงได้ประกาศตัวไมน์คราฟต์เรียมส์ (Minecraft Realms) บริการเปิดเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถทำให้ผู้เล่นดำเนินงานเซิร์ฟเวอร์หลายผู้เล่นได้ง่ายและปลอยภัยโดยที่จะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์เลย[51] เร็ลมส์นั้นแตกต่างจากเซิร์ฟเวอร์ทั่ว ๆ ไปนั้นคือ การที่เราสามารถเชิญผู้เล่นให้เข้ามาเล่นในเซิร์ฟเวอร์ของเราได้เลย โดยที่เขาไม่ต้องใช้ไอพีของเซิร์ฟเวอร์เลย เจ้าของเซิร์ฟเวอร์เร็ลมส์สามารถเชิญผู้เล่นได้ถึง 20 คนในการเข้าร่วมเล่นในเซิร์ฟเวอร์; อย่างไรก็ตามเซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้เล่นออนไลน์ได้แค่ 10 คนเท่านั้นและไม่รองรับปลั๊กอินที่ผู้เล่นทำ ที่ประกาศในงานอิเล็กทรอนิกส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป 2016 เร็ลมส์จะสามารถทำให้ ไมน์คราฟต์ รองรับการเล่นแบบข้ามแพลตฟอร์มระหว่างรุ่นวินโดวส์ 10, ไอโอเอส และแอนดรอยด์ได้ โดยได้เริ่มตอนเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 ต่อมาได้รองรับกับเอกซ์บอกซ์วันและในที่สุดก็สามารถรองรับกับอุปกรณ์ความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) ได้[52]

พัฒนาการ

ลำดับเวลาการปล่อยอัปเดตหลักของรุ่นจาวา
สีแดงคือเวอร์ชันก่อนตัวเต็ม
2009Pre-Classic
Classic
Survival Test
2010Indev
Infdev
Alpha
Beta
2011Beta
1.0: "Adventure Update"
20121.1
1.2
1.3
1.4: "Pretty Scary Update"
20131.5: "Redstone Update"
1.6: "Horse Update"
1.7: "The Update that Changed the World"
20141.8: "Bountiful Update"
2015
20161.9: "Combat Update"
1.10: "Frostburn Update"
1.11: "Exploration Update"
20171.12: "World of Color Update"
20181.13: "Update Aquatic"
20191.14: "Village & Pillage"
1.15: "Buzzy Bees"
20201.16: "Nether Update"
20211.17: "Caves & Cliffs: Part I"
1.18: "Caves & Cliffs: Part II"
20221.19: "The Wild Update"
20231.20: "The Trails & Tales Update"
20241.21: "Tricky Trials Update"

มาร์คุส แพร์สชอน เริ่มพัฒนาเกมนี้เหมือนโครงงานโครงงานหนึ่ง[53] เขาได้แรงบันดาลใจที่จะสร้าง ไมน์คราฟต์ จากหลาย ๆ เกม เช่น วาร์ฟฟอร์เทรส, ดันเจียนคีปเปอร์ และ อินฟินิไมเนอร์ ในเวลานั้นเขามองเห็นว่าสิ่งก่อสร้าง 3 มิตินั้นเป็นแรงบันดาลใจของเขาและผสมผสานกันระหว่างความคิดต้นแบบของเขา[53] อินฟินิไมเนอร์ มีอิทธิพลอย่างมากกับรูปแบบเกมการเล่น รวมไปถึงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง รูปแบบของภาพ และบล็อกพื้นฐานของเกมนี้ อย่างไรก็ตามก็ไม่เหมือนกับ อินฟินิไมเนอร์ แพร์สชอนอยากให้ ไมน์คราฟต์ มีองค์ประกอบของเกมเล่นตามบทบาท (Role-playing game หรือ RPG)[54]

ไมน์คราฟต์ เปิดตัวแก่สาธารณชนครั้งแรกเมื่อ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 โดยได้เปิดตัวที่ทีไอจีซอร์สฟอรัมส์ (TIGSource forums)[55] ต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในนามรุ่น คลาสสิก (Classic) และต่อมารุ่นเซอร์ไวเวิลเทสต์ (Survival Test), อินเดฟ (Indev) และอินฟ์เดฟ (Infdev) ก็จะได้ถูกปล่อยออกมาในช่วงระหว่างเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 กับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ถึงแม้ว่าตอนแรกแพร์สชอนจะทำงานกับแจลบัมดอตเน็ต (Jalbum.net) ต่อมาเขาก็ได้ลาออกเพื่อที่จะมาทำงานเกี่ยวกับ ไมน์คราฟต์ อย่างเต็มเวลาในช่วงเวลาที่ยอดขายของรุ่นแอลฟา (Alpha) ได้เพิ่มขึ้น[56] แพร์สชอนได้ดำเนินอัปเดตเกมแล้วปล่อยให้กับผู้เล่นโดยอัตโนมัติ ซึ่งอัปเดตประกอบไปด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น ของใหม่ บล็อกใหม่ ม็อบใหม่ โหมดเอาชีวิตรอด การเปลี่ยนรูปแบบบางอย่างของเกม (เช่น การไหลของน้ำ)[56]

กลับมาที่พัฒนาการของ ไมน์คราฟต์ แพร์สชอนได้ก่อตั้งบริษัทวิดีโอเกมนั่นคือบริษัทโมแยง ด้วยเงินที่เขาได้รับจากเกม[57][58][59] ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2010 แพร์สชอนได้ประกาศว่า ไมน์คราฟต์ จะเข้าสู่ช่วงการทดสอบบีตา (Beta) ของมันในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2010[60] เขายังได้ระบุว่าผู้เล่นที่ซื้อเกมหลังวันดังกล่าวจะไม่ได้รับประกันว่าจะได้รับเนื้อหาทั้งหมดในอนาคตโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในขณะที่มัน "กลัวทั้งทนายความและคณะกรรมการ" อย่างไรก็ตามการแก้ไขข้อบกพร่องหรือบั๊ก และอัปเดตทั้งหมด รวมไปถึงการวางจำหน่ายก็ยังฟรีอยู่ ในช่วงของการพัฒนาโมแยงได้จ้างพนักงานใหม่จำนวนมากเพื่อที่จะทำงานในโครงงานนี้[61]

โมแยงได้ย้ายเกมจากรุ่นบีตาและวางจำหน่ายรุ่นเต็มในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011[62] เกมก็จะได้อัปเดตต่อไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ได้มีการวางจำหน่าย การเปลี่ยนแปลงมีไปตั้งแต่รูปแบบเกมจนไปถึงระบบเซิร์ฟเวอร์[63] ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2011 เย็นส์ แบร์เยนสเตน (เจ๊บ) (Jens "Jeb" Bergensten)[64] ได้ควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ของ ไมน์คราฟต์ อย่างเต็มรูปแบบ โดยให้แพร์สชอนไปเป็นผู้นำในการพัฒนาแทน[65] ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 โมแยงได้ประกาศว่าพวกเขาได้จ้างนักพัฒนาของ "คราฟต์บักกิต" (CraftBukkit)[50] แพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ชื่อดัง มาเพื่อที่จะมาปรับปรุงให้ ไมน์คราฟต์ รองรับกับเซิร์ฟเวอร์ม็อด[66] การเข้าซื้อครั้งในนี้ยังช่วยให้โมแยงเป็นเจ้าของม็อดคราฟต์บักกิตอย่างเต็มรูปแบบ[67] ถึงแม้ว่าความถูกต้องของการเรียกร้องนี้ได้ถูกถามเนื่องจากสถานะของการเป็นโครงการโอเพนซอร์ซกับผู้สนับสนุนอีกมากมาย ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู และสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปแบบผ่อนปรนของกนู[68] ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2014 ไมโครซอฟท์ ได้ประกาศข้อตกลงเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะซื้อบริษัทโมแยงและเจ้าของลิขสิทธิ์ ไมน์คราฟต์ ข้อตกลงนี้ได้ถูกเสนอแนะโดยแพร์สชอนเมื่อเขาได้ทวีตถามบริษัทที่จะซื้อหุ้นเกมของเขา หลังได้รับคำวิจารณ์ว่า "พยายามที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง" ทั้งหมดได้เสร็จสิ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 และทำให้แพร์สชอนนั้นไปสู่การเป็นหนึ่งใน "มหาเศรษฐีของโลก" ในนิตยสารฟอบส์[69][70][71][72][73]

เกี่ยวกับเสียง

เพลงของ ไมน์คราฟต์ และเสียงประกอบถูกสร้างโดยนักออกแบบเสียงชาวเยอรมัน แดเนียล "ซีโฟว์เอททีน" โรเซนเฟลด์ (Daniel "C418" Rosenfeld)[74] ดนตรีประกอบฉากใน ไมน์คราฟต์ เป็นดนตรีแอมเบียนต์ที่ไม่ได้เป็นเพลง

เกมภาคเสริม

ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด

ไมน์คราฟต์: สตอรีโหมด (อังกฤษ: Minecraft: Story Mode) คือ เกมภาคเสริมที่เป็นฉาก ๆ ที่พัฒนาโดยเทลล์เทลเกมส์ (Telltale Games) ร่วมมือกับโมแยง ซึ่งถูกประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ประกอบไปด้วย 5 ตอนและ 3 ตอนที่สามารถดาวน์โหลดได้เพิ่มเติม โดยเนื้อหาของเกมนี้จะเกี่ยวกับการเล่าเรื่องและให้ผู้เล่นเลือกตัวเลือก และมันได้ถูกปล่อยให้ดาวน์โหลดผ่านทางไมโครซอฟท์วินโดวส์, โอเอสเทน, ไอโอเอส, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน 4, เอกซ์บอกซ์ 360 และเอกซ์บอกซ์วันในวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2015[75][76][77] แผ่นที่บรรจุตอนทั้งหมดได้ถูกปล่อยให้คอนโซล 4 รุ่นดังกล่าวในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2015[77] รุ่นวียู[78] และนินเท็นโดสวิตช์ก็ได้ถูกก็ได้ถูกปล่อยออกมาต่อจากนั้นไม่นาน[79][80] ตัวอย่างแรกของเกมนี้ได้เปิดตัวที่งานไมน์คอน (MineCon) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ซึ่งเผยให้เห็นฟีเจอร์บางอย่างของเกม ในไมน์คราฟต์: สตอรีโหมดผู้เล่นจะควบคุมตัวละครที่ชื่อ เจสซี (Jesse) (ให้เสียงโดย แพตตัน ออสวอลต์ และแคทเธอรีน เทเบอร์)[77] ผู้ซึ่งออกเดินทางกับเพื่อนของเขาเพื่อไปตามหาดิออร์เดอร์ออฟเดอะสโตน (The Order of the Stone) (เขาคือนักผจญภัยทั้ง 4 ที่สามารถฆ่ามังกรแห่งเอนเดอร์ (Ender Dragon) ได้) ให้กลับมารวมตัวกันเพื่อที่จะมาช่วยโลก[81]

ไมน์คราฟต์: รุ่นสำหรับการศึกษา

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเครื่องมือใหม่ที่ใช้สำหรับการศึกษาที่เรียกว่า ไมน์คราฟต์: รุ่นสำหรับการศึกษา (อังกฤษ: Minecraft: Education Edition) หรือไมน์คราฟต์อีดียู (อังกฤษ: MinecraftEDU) ซึ่งมีแผนที่จะวางจำหน่ายในปี ค.ศ. 2016 ไมน์คราฟต์ ได้ถูกใช้ในห้องเรียนทั่วโลกสำหรับสอนวิชาตั้งแต่แกนหลักของสะเต็มไปจนถึงศิลปะ ไมน์คราฟต์: รุ่นสำหรับการศึกษาจะถูกออกแบบเพื่อให้ใช้ในห้องเรียนโดยเฉพาะ รุ่นสำหรับการศึกษานี้จะให้อุปกรณ์แก่ครูผู้สอนที่พวกเขาต้องใช้ใน ไมน์คราฟต์ แบบพื้นฐานในชีวิตประจำ

มีข้อแตกต่างเล็กน้อยระหว่าง ไมน์คราฟต์ และไมน์คราฟต์อีดียู แต่มีแนวคิดหลักและโลกที่เปิดกว้างเหมือนกัน ตัวละครนักเรียนในไมน์คราฟต์อีดียูจะสามารถรักษาคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ นักเรียนก็จะสามารถดาวน์โหลดเกมได้ที่บ้านได้ด้วยเช่นกันโดยไม่ต้องซื้อรุ่นของเกมมาเป็นของตัวเอง สุดท้ายสิ่งที่แตกต่างกันมากที่สุดคือ นักเรียนสามารถถ่ายภาพในเกมได้ ซึ่งภาพเหล่านั้นจะถูกเก็บในโน้ตบุ๊กออนไลน์ที่มีบันทึกออนไลน์ โดยที่โน้ตบุ๊กออนไลน์เหล่านั้นจะสามารถแชร์ไปให้นักเรียนคนอื่นได้[82]

เชิงอรรถ

  1. แพลตฟอร์มคอนโซลพัฒนาโดย 4เจ สตูดิโอ[1] แพลตฟอร์มนิว นินเท็นโด 3ดีเอส พัฒนาโดย อะเตอร์โอเชียนอินเตอร์แอ็กทีฟ (Other Ocean Interactive)[2]
  2. (พีซี/จาวา, แอนดรอยด์, ไอโอเอส, วียู, นินเท็นโด 3ดีเอส, นินเท็นโดสวิตช์)
  3. (เอกซ์บอกซ์ 360, เอกซ์บอกซ์วัน, วินโดวส์โฟน, วินโดวส์ 10)
  4. (เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน 4, เพลย์สเตชัน วิตา)
  5. (2552–2554)
  6. (2554–ปัจจุบัน)
  7. ซามูล ออแบร์ก, เกเรท โคกเกอร์, รีนา เรน และคุมิ ทานิโอกะ มีส่วนร่วมด้วยตั้งแต่เกมตัวเต็ม
  8. ไมน์คราฟต์เปิดให้เล่นครั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[17] และปล่อยตัวเต็มออกมาวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อ้างอิง

  1. Sarkar, Samit (6 November 2014). "Microsoft officially owns Minecraft and developer Mojang now". Polygon (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  2. "Minecraft: New Nintendo 3DS Edition". www.nintendo.com. สืบค้นเมื่อ 3 February 2019.
  3. "Minecraft". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 21 October 2012.
  4. "Minecraft – Pocket Edition – Android". IGN. สืบค้นเมื่อ 21 October 2012.
  5. "Minecraft: Pocket Edition". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 21 October 2012.
  6. Brown, Mark (22 March 2012). "Minecraft for Xbox 360 release date announced, amongst others". Wired UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-18. สืบค้นเมื่อ 22 October 2012.
  7. "Minecraft Raspberry Pi". Mojang. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  8. "Amazon's first Fire TV games include in-house titles and Minecraft (update: video)". Engadget. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  9. Pitcher, Jenna. "Minecraft PS4 Edition Release Date Confirmed". IGN. IGN Entertainment, Inc. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  10. "Minecraft for Xbox One to launch on Friday". CNET. สืบค้นเมื่อ 13 October 2014.
  11. "Minecraft: PS Vita Edition Release Date Revealed for North America". IGN. สืบค้นเมื่อ 13 October 2014.
  12. "Minecraft Comes to Windows Phones". Mojang.
  13. "Announcing Minecraft Windows 10 Edition Beta".
  14. Makuch, Eddie (7 December 2015). "Minecraft Wii U Confirmed, Coming Very Soon". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 8 December 2015.
  15. Jones, Owen (19 December 2016). "minecraft.net – Apple TV Edition released!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2016.
  16. Pereira, Chris (13 September 2017). "New 3DS Version Of Minecraft Announced, Release Date Set For Today". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
  17. Persson, Markus (17 May 2009). "Minecraft 0.0.11a for public consumption : The Word of Notch". Tumblr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-16. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.
  18. Gallegos, Anthony. "Minecraft Review — PC Review at IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
  19. Meer, Alec (30 March 2011). "Minecraft:Wolves, Achievements, Mods, Merch". Rock, Paper, Shotgun. Rock, Paper, Shotgun, Ltd. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  20. Purchese, Robert (23 November 2011). "Minecraft 1.0 launch patch notes". Eurogamer. Eurogamer Network. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  21. Ashdown, Jeremy (11 November 2010). "This is Minecraft". IGN. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Miller-Watt, Josh. "Minecraft beginner's guide". GamesRadar. Future plc. สืบค้นเมื่อ 24 October 2012.
  23. Meer, Alec (27 October 2010). "BiomeShock: The New Minecraft Worlds". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  24. Phillips, Tom (20 January 2012). "Minecraft jungle biome, creatures coming soon". Eurogamer. Eurogamer Network. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  25. 25.0 25.1 Senior, Tom (24 May 2012). "Minecraft update snapshot includes trading, currency, new item and sandstone stairs". PC Gamer. Future plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-03. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  26. 26.0 26.1 Meer, Alec (18 November 2011). "Minecraft Review • Reviews •". Eurogamer. Eurogamer Network. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
  27. 27.0 27.1 27.2 Persson, Markus (10 March 2011). "Terrain generation, Part 1". Mojang. สืบค้นเมื่อ 24 October 2010.
  28. Bergensten, Jens (23 February 2011). "A Short Demystification of the 'Map Seed'". Mojang. สืบค้นเมื่อ 6 October 2012.
  29. Walton, Mark (25 November 2012). "Minecraft In Education: How Video Games Are Teaching Kids". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 15 December 2012.
  30. Tito, Greg (4 October 2010). "Player Creates Working Computer in Minecraft". The Escapist. Alloy Digital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-08. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  31. Francis, Tom (10 October 2010). "A clearer look at Minecraft's new hell dimension". PC Gamer. Future plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 30 October 2012.
  32. Liebl, Matt. "Minecraft: The End, Ender Dragons, and Goop Portal All Explained". GameZone. GameZone Online. สืบค้นเมื่อ 31 October 2012.
  33. Chatfield, Tom (9 January 2012). "Ending an endless game: an interview with Julian Gough, author of Minecraft's epic finale". Boing Boing. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.
  34. 34.0 34.1 34.2 Boots-Faubert, Chris. ""Controls and Settings – Minecraft". Super Cheats. Videogamer Network. สืบค้นเมื่อ 3 January 2013.
  35. Marriott, Scott. "Minecraft Review". About.com. InterActiveCorp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 10 November 2012.
  36. 36.0 36.1 Brown, Mark (6 July 2012). "Gaming Minecraft update combines single and multiplayer, adds trading and tripwires". Wired UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-21. สืบค้นเมื่อ 21 November 2012.
  37. Walker, John (18 February 2011). "Minecraft Is Getting Ready For Bed". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  38. "Minecraft hardcore mode teased. When you die, the world dies with you". PC Gamer. Future plc. 23 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-04. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
  39. https://minecraft.wiki/w/Hardcore
  40. 40.0 40.1 Steinlage, Tate (26 September 2012). "Creative Mode coming to Minecraft: Xbox 360 Edition". GameZone. GameZone Online. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  41. Haley, Sebastian (5 September 2012). "Creative Mode 'weeks away' for Minecraft: Xbox 360 Edition". VentureBeat. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  42. Evans-Thirlwell, Edwin (5 September 2012). "Minecraft Xbox 360 update: Creative Mode still "weeks away", 4J dresses Cliffy B up as Creeper". Official Xbox Magazine. Future plc. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012.
  43. Savage, Phil. "The 25 best Minecraft custom maps". PC Gamer. Future plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012.
  44. Grayson, Nathan (6 July 2012). "Minecraft 1.3 Adding LAN, Adventure Mode In August". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  45. 45.0 45.1 Walker, John (1 August 2012). "Minecraft Updates To 1.3 With Adventure Mode, Trading". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  46. Gallegos, Anthony. "Minecraft Adding New Block". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012.
  47. "Spectator". Minecraft Wiki. Weird Gloop.
  48. 48.0 48.1 Hutchinson, Lee (10 September 2012). "Blocks with friends: How to run your own Minecraft server". Ars Technica. pp. 1–4. สืบค้นเมื่อ 24 November 2012.
  49. Meer, Alec (18 June 2012). "Modern! Minecraft Adds 'Local Area Network' Support". Rock, Paper, Shotgun. สืบค้นเมื่อ 25 September 2012.
  50. 50.0 50.1 Davies, Marsh (24 November 2012). "The Future of Minecraft: what lies ahead for the all-conquering sandbox game?". PC Gamer. Future plc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-24. สืบค้นเมื่อ 24 November 2012.
  51. "Minecraft Realms hopes to make an increasingly complex game more family-friendly". Polygon. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
  52. Frank, Allegra (13 June 2016). "Minecraft gets cross-platform play later this year". Polygon. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  53. 53.0 53.1 Handy, Alex (23 March 2010). "Interview: Markus 'Notch' Persson Talks Making Minecraft". Gamasutra. สืบค้นเมื่อ 26 June 2010.
  54. Davies, Marsh (10 November 2012). "Blockbuster – The Making of Minecraft". PC Gamer. Future plc. สืบค้นเมื่อ 20 December 2012.
  55. Smith, Graham (6 February 2012). "The First Moments of Minecraft". PC Gamer. Future plc. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  56. 56.0 56.1 McDougal, Jaz (29 July 2010). "Community heroes: Notch, for Minecraft". PC Gamer. Future plc. สืบค้นเมื่อ 3 August 2010.
  57. Cheshire, Tom (6 June 2012). "Changing the game: how Notch made Minecraft a cult hit". Wired UK. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012.
  58. Persson, Markus (28 September 2010). "I'm sorry about the lack of updates". Mojang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-04. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
  59. Persson, Markus (6 September 2010). "Hiring some people, getting an office, and all that!". Mojang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-08. สืบค้นเมื่อ 6 September 2010.
  60. Persson, Markus (11 December 2010). "Minecraft Beta: December 20, 2010". Mojang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-14. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010.
  61. Persson, Markus (3 January 2011). "2011, here we go!". Mojang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-06. สืบค้นเมื่อ 3 January 2011.
  62. Fernandez, Carlo (17 November 2012). "Minecraft Full Version Available; MineCon Live Streaming". International Business Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 17 October 2012.
  63. Persson, Markus (18 January 2011). "The web server is struggling, we're migrating". Mojang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-21. สืบค้นเมื่อ 2016-12-04.
  64. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jeb
  65. Persson, Markus (2 December 2011). "Och med dom orden så passar jag micken". The Word of Notch. Mojang. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-06. สืบค้นเมื่อ 2 December 2011.
  66. Bergensten, Jens (28 February 2012). "Minecraft Team Strengthened!". Mojang. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
  67. "Minecraft Bukkit team lead tries to end development, but Mojang steps in". PC Gamer. 21 August 2014.
  68. "Minecraft's CraftBukkit mod taken down by DMCA claim". games.on.net. สืบค้นเมื่อ 17 September 2014.
  69. Peckham, Matt (15 September 2014). "Minecraft Is Now Part of Microsoft, and It Only Cost $2.5 Billion". Time. สืบค้นเมื่อ 15 September 2014.
  70. Bass, Dina (15 September 2014). "Microsoft to Buy Minecraft Maker Mojang for $2.5 Billion". Bloomberg Business. สืบค้นเมื่อ 16 September 2014.
  71. Sarkar, Samit (6 November 2014). "Microsoft officially owns Minecraft and developer Mojang now". Polygon. Vox Media.
  72. Bogart, Nicole. "Updated: September 15, 2014 8:35 pm Microsoft acquires 'Minecraft' maker for $2.5 billion". Global News. Shaw Media. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
  73. Mac, Ryan (3 March 2015). "Inside The Post-Minecraft Life Of Billionaire Gamer God Markus Persson". Forbes. สืบค้นเมื่อ 25 March 2015.
  74. "Minecraft.net Credits". Mojang. สืบค้นเมื่อ 1 January 2013.
  75. "Telltale and Mojang Announce Minecraft: Story Mode". IGN. Ziff Davis. 18 December 2014.
  76. "Minecraft: Story Mode is an episodic series from Telltale". Eurogamer. Gamer Network. 18 December 2014.
  77. 77.0 77.1 77.2 Good, Owen S. (16 September 2015). "Telltale's Minecraft game launches Oct. 13, will have a physical release". Polygon. Vox Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2015. สืบค้นเมื่อ 16 September 2015.
  78. Webster, Andrew (26 August 2015). "Giving Minecraft a story". The Verge. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  79. "Minecraft: Story Mode - The Complete Adventure". www.nintendo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
  80. Martin, Liam (15 January 2017). "Nintendo Switch games list in FULL: All launch games and 2017 releases REVEALED". Express.co.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
  81. Albert, Brian (4 July 2015). "First Minecraft: Story Mode Details Revealed at Minecon". IGN. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ 4 July 2015.
  82. Kelion, Leo (19 January 2016). "Minecraft to launch education edition". BBC. สืบค้นเมื่อ 19 January 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น