เอริง
เอริง หรือ เอริน (ญี่ปุ่น: 映倫; โรมาจิ: Eirin) เป็นชื่อย่อของ องค์การจำแนกและจัดประเภทภาพยนตร์ (ญี่ปุ่น: 映画倫理機構; โรมาจิ: Eiga Rinri Kikō; ทับศัพท์: เองะ รินริ คิโก; อังกฤษ: Film Classification and Rating Organization) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านภาพยนตร์ในประเทศญี่ปุ่น
ก่อตั้ง | เมษายน ค.ศ. 1949 |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | ดักลาส แมกอาเธอร์ |
ก่อตั้งที่ | ญี่ปุ่น |
ประเภท | หน่วยงานกำกับดูแลตนเอง |
วัตถุประสงค์ | การจำแนกประเภทภาพยนตร์เพื่อระบุความเหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน |
สํานักงานใหญ่ | สึกิจิ เขตชูโอ โตเกียว ญี่ปุ่น |
ที่ตั้ง |
|
พื้นที่ให้บริการ | ญี่ปุ่น |
เอริงเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตนเองโดยไม่สังกัดหน่วยราชการใด ถูกก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยจำลองการบริหารรหัสการผลิตของสมาคมผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์แห่งอเมริกา ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1949 ตามคำแนะนำของกองกำลังยึดครองสหรัฐ โดยแบ่งประเภทภาพยนตร์ออกเป็น 4 ระดับ ตามความเหมาะสมในการรับชมของผู้เยาว์ในวัยต่าง ๆ
เมื่อแรกเริ่ม เอริงถูกก่อตั้งในนาม คณะกรรมการจัดการจรรยาบรรณด้านภาพยนตร์ (ญี่ปุ่น: 映画倫理規程管理委員会; โรมาจิ: Eiga Rinri Kitei Kanri Iinkai) อังกฤษ: Motion Picture Code of Ethics Committee) ต่อมาในปี ค.ศ. 1956 ได้จัดตั้งขึ้นมาใหม่แทนที่ในชื่อ คณะกรรมการจัดการจริธรรมภาพยนตร์ (ญี่ปุ่น: 映画倫理管理委員会; โรมาจิ: Eiga Rinri Kanri Iinkai) ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 เปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการจริยธรรมภาพยนตร์ (ญี่ปุ่น: 映画倫理委員会; โรมาจิ: Eiga Rinri Iinkai) ก่อนที่จะถูกยุบและจัดตั้งในฐานะองค์กรอิสระในชื่อปัจจุบัน เมื่อปี ค.ศ. 2017
ภาพรวม
แก้เช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ เอริงได้จัดประเภทภาพยนตร์เพื่อระบุถึงความเหมาะสมของผู้เยาว์ โดยพิจารณาจากเกณฑ์แปดประการ เช่น ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือความรุนแรงหรือไม่ และการจัดระดับผู้ชมสำหรับภาพยนตร์เรื่องหนึ่งในสี่ระดับ[1] แม้ว่าระดับผู้ชมจะขัดแย้งกันในบางครั้ง แต่ผู้ดูแลของเอริงให้เหตุผลว่า ความเป็นอิสระปกป้องผู้สร้างภาพยนตร์จากทางเลือกที่เข้มงวดกว่า นั่นคือการตรวจพิจารณา (เซ็นเซอร์) จากรัฐบาล[2]
ในระหว่างไตเติลเปิดภาพยนตร์ (ในภายหลัง ส่วนใหญ่เป็นการแสดงคำประกาศลิขสิทธิ์เมื่อภาพยนตร์จบ) ของภาพยนตร์ที่ได้รับการอนุมัติจากเอริง ตราสัญลักษณ์ของเอริงจะปรากฏขึ้นตรงมุมจอของภาพยนตร์หรือข้างชื่อเรื่องภาพยนตร์ เอริงไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการห้ามภาพยนตร์ แต่สมาคมเจ้าของโรงภาพยนตร์แห่งญี่ปุ่นห้ามไม่ให้สมาชิกสมาคมฉายภาพยนตร์ที่เอริงไม่ได้จัดระดับผู้ชมไว้[2]
การจัดระดับภาพยนตร์
แก้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ได้แบ่งจัดระดับของภาพยนตร์ไว้สี่ประเภท[1] โดยระดับ R15+ และ R18+ เป็นระดับที่ถูกจำกัด ห้ามผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเข้าชมภาพยนตร์ที่ถูกจำกัดเข้าชม ตลอดจนให้เช่า ขาย หรือจัดแสดงดีวีดี/ภาพยนตร์ที่เผยแพร่แก่ผู้เยาว์ การละเมิดดังกล่าวถือเป็นความผิดทางอาญาและมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวด
- G: ภาพยนตร์ที่สามารถรับชมได้ทุกวัย
- PG12: เนื้อหาบางส่วนอาจไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ขอแนะนำให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานไปด้วยในระหว่างชมภาพยนตร์ อาจมีเนื้อหาที่มีความรุนแรง เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศ การใช้ยาเสพติด ตลอดจนการดื่มสุรา การสูบบุหรี่ หรือการขับรถในวัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ภาพยนตร์สยองขวัญมักจะได้รับระดับนี้
- R15+: จำกัดเฉพาะผู้ชมอายุ 15 ปีขึ้นไปเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีชมภาพยนตร์ อาจมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้ง เนื้อหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศที่รุนแรงขึ้น ภาษาที่ไม่เหมาะสม และกิจกรรมที่ก่อเกิดอาชญากรรมในทางอาญา เช่น ยากูซ่า และการปลอมแปลงต่าง ๆ
- R18+: จำกัดเฉพาะผู้ชมอายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น ห้ามมิให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีชมภาพยนตร์ อาจมีเนื้อหาที่เป็นการดูหมิ่นความรุนแรง กิจกรรมทางเพศที่โจ่งแจ้ง และการเสพยาเสพติด
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "FILM CLASSIFICATION". eirin.jp.
- ↑ 2.0 2.1 Martin, Alex (2010-03-02). "All movies subject to rating, even cuts". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0447-5763. สืบค้นเมื่อ 2017-01-30.
ดูเพิ่ม
แก้- ระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์ – ภาพรวมของระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์ทั่วโลก
- องค์การจัดอันดับด้านความบันเทิงทางคอมพิวเตอร์
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ (ญี่ปุ่น) (ไม่สามารถเข้าชมนอกประเทศญี่ปุ่นได้ จำเป็นต้องใช้ VPN ในการเข้าเว็บไซต์นี้)
- เอริง ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)