การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอิตาลี
กรณีแรก ๆ ของการระบาดของโคโรนาไวรัส พ.ศ. 2562–2563 ในอิตาลีได้รับการยืนยันในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563 เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีนสองคนในกรุงโรมถูกตรวจพบว่าเป็นโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 จากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2)[1] หนึ่งสัปดาห์ต่อมา ชายชาวอิตาลีคนหนึ่งซึ่งถูกส่งตัวกลับจากเมืองอู่ฮั่นในจีนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อรายที่สามในอิตาลี[2] ผู้ติดเชื้อรายอื่น ๆ ถูกตรวจพบเพิ่มในเวลาต่อมา เริ่มต้นด้วยผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยัน 16 รายในแคว้นลอมบาร์เดียเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์[3] อีก 60 รายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์[4] และมีรายงานผู้เสียชีวิตรายแรกของอิตาลีในวันเดียวกัน
การระบาดของโคโรนาไวรัสในประเทศอิตาลี พ.ศ. 2563 | |
---|---|
แผนที่ของประเทศอิตาลีที่พบผู้ติดเชื้อหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อโคโรนาไวรัส (ณ 20 เมษายน): ยืนยันติดเชื้อตั้งแต่ 50–99 คน
ยืนยันติดเชื้อตั้งแต่ 100–499 คน ยืนยันติดเชื้อตั้งแต่ 500–999 คน ยืนยันติดเชื้อตั้งแต่ 1,000–4,999 คน ยืนยันติดเชื้อตั้งแต่ 5,000–9,999 คน ยืนยันติดเชื้อมากกว่าหรือเท่ากับ 10,000 คน | |
ผู้ติดเชื้อยืนยันต่อประชากรล้านคนในแต่ละจังหวัด | |
โรค | COVID-19 |
สถานที่ | ประเทศอิตาลี |
การระบาดครั้งแรก | โรม |
วันแรกมาถึง | 31 มกราคม พ.ศ. 2563 |
ผู้ป่วยยืนยันสะสม | 218,268 คน |
ผู้ป่วยปัจจุบัน | 84,842 คน |
อันตรายถึงชีวิต | 1,168 คน |
หาย | 103,031 คน |
เสียชีวิต | 30,395 คน |
เว็บไซต์ของรัฐบาล | |
www |
ณ ต้นเดือนมีนาคม อิตาลีได้รับผลกระทบจากการระบาดหนักกว่าที่อื่นในสหภาพยุโรป[5] และเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน เทศบาลสิบเอ็ดแห่งทางภาคเหนือของอิตาลีถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการระบาดสองพื้นที่หลักของอิตาลีและถูกกักด่าน กรณีการติดเชื้อส่วนใหญ่ในแคว้นอื่น ๆ ก็มีต้นตอมาจากพื้นที่หลักทั้งสอง[6] เมื่อถึงวันที่ 8 มีนาคม อิตาลีได้ดำเนินการตรวจหาไวรัสดังกล่าวแล้ว 49,937 ครั้ง[7]
ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563 นายกรัฐมนตรีจูเซปเป คอนเต สั่งขยายการกักด่านให้ครอบคลุมทั้งแคว้นลอมบาร์เดียและอีก 14 จังหวัดทางภาคเหนือ และในวันถัดมาก็สั่งขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งผลให้ประชากรจำนวนมากกว่า 60 ล้านคนถูกจำกัดการเดินทางเคลื่อนที่[8][9] มาตรการนี้ได้รับการกล่าวว่าเป็นการปิดพื้นที่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์[10]
ณ วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 ในอิตาลีมีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 10,149 ราย ผู้เสียชีวิต 631 ราย และผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 1,004 ราย[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Coronavirus: Primi due casi in Italia". Corriere della sera (ภาษาอิตาลี). 31 January 2020. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
- ↑ "First Italian dies of coronavirus as outbreak flares in north". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-03-06.
- ↑ Anzolin, Elisa; Amante, Angelo (21 February 2020). "Coronavirus outbreak grows in northern Italy, 16 cases reported in one day". Thomson Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 February 2020.
- ↑ "Coronavirus: primi casi a Milano. Cosa sappiamo dei nuovi contagi in Lombardia, Veneto e Piemonte" [Coronavirus: first case in Milan. What we know about new infections in Lombardy, Veneto and Piemont]. Corriere della Sera (ภาษาอิตาลี). 2020-02-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-22.
- ↑ Borrelli, Silvia Sciorilli (2020-02-25). "Politics goes viral as Italy struggles with outbreak". POLITICO. สืบค้นเมื่อ 2020-02-26.
- ↑ "Coronavirus in Italia: aggiornamento ora per ora". la Repubblica (ภาษาอิตาลี). 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 2020-02-27.
- ↑ "National Data as of 8 March 2020" (PDF).
- ↑ "Coronavirus: Northern Italy quarantines 16 million people". BBC. 8 March 2020. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
- ↑ "All of Italy to be placed on coronavirus lockdown". BBC News. 9 March 2020. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.
- ↑ Coronavirus: Italy PM prepares 'massive shock therapy' after biggest rise in deaths
- ↑ "Covid-19 - Situazione in Italia". www.salute.gov.it (ภาษาอิตาลี). Ministero della Salute. สืบค้นเมื่อ 9 March 2020.